การเขียนบทความสุขภาพ


               คณะแพทยศาสตร์ศิริราชเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย ในแต่ละเดือนเรามีข้อมูลเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย ทั้งในส่วนของข่าวสารความก้าวหน้าด้านวิทยาการการแพทย์ นอกจากนี้ในส่วนของบทความสุขภาพ เราก็มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่กว่าจะออกมาเป็นบทความสุขภาพ เรามีกระบวนการหลายขั้นตอน เริ่มด้วย

ขั้นตอนที่ 1   ตั้งชื่อเรื่อง
ขั้นตอนที่ 2  คิดประเด็นคำถาม ข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด เช่น

บทความเรื่อง “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ทางเลือกที่ต้องเลือกจริงหรือ”
1. เกริ่นนำถึงความสำคัญของข้อเข่า
2. ปัญหาข้อเข่าเสื่อมเกิดจากอะไร และพบในกลุ่มบุคคลใดมากที่สุด มีการรักษาโดยวิธีใดบ้าง
3. เมื่อใดที่แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
4. ผลข้างเคียงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากการได้รับการผ่าตัด และมีสาเหตุ จาก    อะไร
5. ในกรณีที่พิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัดมีข้อจำกัดหรือไม่ อย่างไร
6. ในอนาคตคาดว่าวิทยาการแพทย์จะพัฒนาเป็นอย่างไร
7.คำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับคนไข้และบุคคลผู้ดูแลรอบข้างหลังได้รับการผ่าตัดข้อเข่า
8. ฝากถึงผู้อ่านหากทบทวนต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวเข่า

ขั้นตอนที่ 3 
              เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว จะต้องนำมาเรียบเรียงให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และส่งกลับไปยังแพทย์เจ้าของเรื่อง เพื่อให้พิจารณาตรวจทานอีกครั้ง