ออกอากาศ : วันที่ 13 พฤษภาคม 2550 เวลา 13.50 น. (โดยประมาณ) ณ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 |
เรื่อง:
|
เท้าแบน...รักษาอย่างไร |
บทคัดย่อ:
|
เท้าแบนเป็นปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การรักษา เท้าแบนนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง อ.พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู อธิบายว่า ลักษณะของ ภาวะเท้าแบนจะพบในผู้ที่มีอุ้งเท้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย โดยอาจ เป็นอยู่เดิมหรือเกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากที่กระดูกมีการเจริญเติบโตเต็มที่ แล้ว ปัญหาเท้าแบนที่พบบ่อยในเด็กส่วนใหญ่เป็นภาวะเท้าแบนชนิดไม่ ติดแข็งที่คงอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็กเล็ก อุ้งเท้าไม่สูงขึ้นแม้กระดูกจะมี การเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็ตาม มักจะพบทั้งสองข้าง สาเหตุเกิดจาก พันธุกรรม ผู้ป่วยมักรู้สึกว่าเท้าหรือขาอ่อนล้าง่าย ร่วมกับปวดบริเวณอุ้ง เท้า ส้นเท้าและเท้าด้านนอก โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก ขณะยืนจะพบส้นเท้าบิดออกมามากกว่าปกติ มักมีกล้ามเนื้อน่องและเอ็น ร้อยหวายตึงร่วมด้วย หากมีส้นเท้าบิดมาก ๆ เป็นเวลานาน อาจทำให้ข้อ เสื่อมและเคลื่อนไหวได้น้อยลง สำหรับในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เกิดจากการ อักเสบของเอ็นประคองอุ้งเท้า มักเป็นเพียงข้างเดียว พบบ่อยในผู้หญิง อายุ 45 - 65 ปี อาการจะเป็นมากหากใช้งานหนัก เช่น ยืนนาน ๆ เดิน มาก ๆ จะปวดบริเวณอุ้งเท้า ส้นเท้าและข้อเท้าด้านใน ภาวะไม่มีอุ้งเท้า อาจไม่เกิดอาการใด ๆ เลยที่เท้า แต่จะปวดเมื่อยหรืออ่อนแรงของน่องง่าย กว่าปกติ การรักษานั้น จะเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดการผิดรูป ควบคุม น้ำหนัก ปรับกิจกรรม ใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้าและปรับรองเท้า อาจ รับประทานยา หรือทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย แต่หากรักษาด้วยวิธีดังกล่าว แล้วไม่ได้ผล ก็จำเป็นต้องรับการผ่าตัด อุปกรณ์เสริมภายในรองเท้า จะ ช่วยปรับรูปเท้า ให้อยู่ในลักษณะปกติที่สุดเท่าที่จะทำได้และป้องกันไม่ให้ อุ้งเท้าแบนจนเอียงล้มมากขึ้น ซึ่งจะลดปัญหาการปวดเมื่อยน่องลงได้ ผู้ที่ มีปัญหาเท้าแบน ควรเลือกสวมรองเท้าชนิดหุ้มส้น หน้าเท้ามีความกว้าง พอสมควร หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าที่มีสายรัดส้นเท้า |
|
กลับสู่หน้ารายการโทรทัศน์พบหมอศิริราช
|