ออกอากาศ : วันที่ 19 กรกฎาคม 2552  เวลา 13.50 น. (โดยประมาณ) ณ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
เรื่อง: ภาวะกระดูกพรุน กระดูกเสื่อม
บทคัดย่อ:

     เมื่อมีอายุมากขึ้น ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะลดลงทั้งหญิงและชาย ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมตามมา  การป้องกันทำได้หรือไม่  อ.นพ.วีรศักดิ์  สุทธิพรพลางกูร  ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด อธิบายว่า กระดูกพรุน กระดูกเสื่อม เป็นการเปลี่ยนแปลงของมวลกระดูกที่เกิดจากร่างกายมีกระบวนการสร้างเนื้อกระดูกช้ากว่ากระบวนการสลายของเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกเปราะบาง มีโอกาสหักหรือยุบตัวได้ง่าย และทำให้เกิดปวดกระดูกได้สภาวะความเสื่อมของกระดูกนี้ จะค่อย ๆ เกิดขึ้นตามอายุ แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ความแข็งแกร่งของกระดูกลดลง จากสาเหตุร่างกายขาดธาตุแคลเซียม สตรีที่หมดประจำเดือนหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง  ทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จะช่วยยับยั้งการสลายของเนื้อกระดูก ผู้ไม่ออกกำลังกาย ผู้มีโรคประจำตัว  เช่น  เบาหวาน ธัยรอยด์ และวัยรุ่นที่ชอบลดความ อ้วนด้วยการจำกัดการรับประทานอาหาร อาจทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อย กระดูกก็จะเสื่อมเร็วขึ้น  สิ่งที่จะบ่งบอกให้รู้ว่า กระดูกเริ่มพรุน  เริ่มเสื่อมแล้วก็คือ ร่างกายมีอาการปวดหลัง ปวดตื้อๆ ตำแหน่งที่ปวดไม่ชัดเจน การเคลื่อนไหวของข้อไม่คล่อง  หลังโก่ง  ค่อม  ความสูงลดลง  กระดูกเปราะ บาง หักง่าย บริเวณที่เสี่ยงมากที่สุด  ได้แก่  กระดูกสะโพก  กระดูกสันหลัง และข้อมือการป้องกันต้องเร่งเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  ในแต่ละวันให้มีปริมาณแคลเซียมเพียงพอกับความต้องการ ประมาณวันละ 800 – 1,000  มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง  ได้แก่  นม  กุ้งแห้ง กะปิ  ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานทั้งกระดูก  ถั่วแดง  งาดำ เต้าหู้   ผักใบเขียว เลือกรับประทาน อาหารที่มีไขมันน้อย  เพราะอาหารที่มีไขมันจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที งดสูบ บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ และคาเฟอีนไม่ซื้อยาใช้เอง เนื่องจากยาบางชนิดมีผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง เช่น ยารักษาโรคธัยรอยด์ ยาขับ ปัสสาวะและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี  การป้องกันเสริมสร้างกระดูก ให้แข็งแรง เริ่มต้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก  การออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะบำรุงกระดูกได้  แต่ต้องทำให้ถูกช่วงเวลาด้วย สำหรับการออกกำลังกายตอนเช้า และการรับแสงแดดในช่วงเช้าก่อน 9 นาฬิกา จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีที่ช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมได้ดี นอกจากสุขภาพแข็งแรง แล้วยังช่วยบำรุงกระดูกอีกด้วย   

กลับสู่หน้ารายการโทรทัศน์พบหมอศิริราช