ออกอากาศ : วันที่ 7 กันยายน 2551  เวลา 13.50 น. (โดยประมาณ) ณ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
เรื่อง: รู้จักโรคอ้วนและอ้วนลงพุง
บทคัดย่อ:

ปกติไขมันในร่างกายคนเรามีไว้เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วนได้รายละเอียดของโรคอ้วนและอ้วนลงพุงนั้น  ศ.พญ.วรรณี  นิธิยานันท์  ภาควิชาอายุรศาสตร์  อธิบายว่าโรคอ้วน หมายถึงการมีน้ำหนักตัวที่มากเกิน และส่วนที่มากขึ้นเป็นไขมัน ดังนั้น อ้วน หมายถึงปริมาณของไขมันที่มากกว่าปกติ   โดยทั่วไปใช้ค่าดัชนีมวลกาย เป็นตัวชี้วัดว่าน้ำหนักตัวเหมาะสมหรือไม่ โดยคำนวณจากค่าของน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลัง 2 ส่วนการวัดรอบเอวหรือรอบพุงใช้ประเมินปริมาณไขมันที่มีอยู่บริเวณท้องทั้งในช่องท้องและผิวหนังหน้าท้อง โรคอ้วนที่ส่งผลต่อสุขภาพจะมีอยู่ 3 ลักษณะคือ  อ้วนทั้งตัว หมายถึงกลุ่มที่มีไขมันมากกว่าปกติ โดยไม่จำกัดว่าอยู่ส่วนใดของร่างกายอ้วนลงพุงกลุ่มนี้ดูเผินๆ จะไม่อ้วนหรือรูปร่างท้วมเท่านั้น แต่จะมีไขมันมากภายในช่องท้องและใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย  ผู้ที่อ้วนมาก ๆ จะมีอ้วนลงพุงร่วมด้วยเสมอ สำหรับเกณฑ์การพิจารณาโรคอ้วนลงพุงประกอบด้วย รอบพุงเกินเกณฑ์ที่กำหนด  โดยมีวิธีคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย ดังนี้

     ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กก.)/ส่วนสูง(ม2)

ถ้าผลลัพธ์ได้เท่ากับ 25 หรือมากกว่าถือว่าอ้วน ในผู้หญิงถ้ารอบพุง  80 เซนติเมตรหรือมากกว่า  และผู้ชาย  90 เซนติเมตรหรือมากกว่า ถือว่าอ้วนลงพุงมีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป  ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูงตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร  ระดับไขมันไตรกรีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับไขมันเอช ดี แอล  คอเลสเตอรอลในผู้หญิง น้อยกว่า 50 มก./ดล. ส่วนผู้ชายน้อยกว่า 40 มก./ดล.หากพบปัจจัยเสี่ยง 3 ใน 5 อย่างเหล่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคอ้วนลงพุงแล้วอ้วนและอ้วนลงพุงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ  เช่น ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบเนื่องจากไขมันเข้าไปพอกอยู่ในผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดเป็นโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต  นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง  รวมไปถึงโรคเบาหวานและโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกด้วย เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ การหายใจติดขัด โรคถุงน้ำดี  สาเหตุของอ้วนและอ้วนลงพุงส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความสมดุลระหว่างอาหารที่รับประทานมากเกินพอ แต่พลังงานที่ถูกใช้ไปน้อยกว่า และปัจจัยทางพันธุกรรมก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดโรคอ้วนและอ้วนลงพุงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วนและอ้วนลงพุง  เราจึงต้องเผาผลาญพลังงานส่วนเกินด้วยการบริโภคอาหารในปริมาณที่ เหมาะสมตามหลักโภชนาการ  ออกกำลังกายทุกวันควบคุมอารมณ์และความรู้สึกไม่ให้เครียดกังวล

กลับสู่หน้ารายการโทรทัศน์พบหมอศิริราช