|
|
Chromosome Breakage |
|
ห้องปฏิบัติการโครโมโซมวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช |
|
1. การทดสอบ
: |
|
|
Mitomycin C-induced chromosome breakage analysis in
blood |
2. ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ
(indication) : |
|
|
ห้องปฏิบัติการให้บริการตรวจการแตกหักของโครโมโซม
(chromosome breakage) จากเลือด
โดยมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ คือผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็น Fanconi anemia เท่านั้น |
3. การเตรียมผู้ป่วย
( patient preparation ) : |
|
|
ไม่มี |
4. สิ่งส่งตรวจ
( specimen ) ปริมาณและภาชนะที่ใช้เก็บ ( collection
medium ) : |
|
|
เก็บเลือดของผู้ป่วยและ
control subject ที่เป็นเพศเดียวกันและอายุใกล้เคียงกับผู้ป่วย
โดยใช้ lithium heparin vacutainer tube จุกสีเขียว ปริมาณ 6 cc. สำหรับทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่
แนบใบส่งตรวจที่ระบุข้อมูลการตรวจครบถ้วน ส่งมาพร้อมกับ Mitomycin C (MMC) ขนาด 2 มิลลิกรัม 1 ขวด |
5. การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง
( handling ) : |
|
|
ควรนำสิ่งส่งตรวจส่งห้องปฏิบัติการโดยทันที
หรืออย่างช้าภายในวันที่เก็บสิ่งส่งตรวจ |
6. วันและเวลาทำการตรวจ
(testing schedule) : |
|
|
ให้บริการตรวจในเวลาราชการ
8.00-15.00 น. วันจันทร์
อังคารและศุกร์ นอกจากเวลาดังกล่าวกรุณาติดต่อห้องปฏิบัติการก่อน |
7. การประกันเวลาการทดสอบ
( TAT ) : |
|
|
การรายงานผลภายใน
2 สัปดาห์ กรณีต้องการผลด่วน
โปรดติดต่อแพทย์ผู้ดูแลประจำวันก่อนส่งตรวจ |
8. การรายงานผล
: |
|
|
ตามระบบมาตรฐานสากล
An International System for
Human Cytogenetic Nomenclature (2020) [ISCN 2020] การรายงานผลการตรวจจะระบุวันเวลาที่รับสิ่งส่งตรวจในระบบสารสนเทศกลาง
(ECLAIR) รวมทั้งแสดงสถานะผลการตรวจที่ยังไม่เสร็จสิ้น
(result to follow) เมื่อผลการตรวจสมบูรณ์
แพทย์ผู้รับผิดชอบจะรับรองผลและรายงานผล
โดยแพทย์เจ้าของไข้หรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถตรวจสอบผลการตรวจได้จากระบบสารสนเทศกลาง |
9. ค่าตรวจ
(charge) : |
|
|
7,000 บาท
หรืออาจเปลี่ยนแปลงตามประกาศของคณะฯ |
10. วิธีการวิเคราะห์
(methodology) : |
|
|
MMC-induced chromosome breakage
in blood เป็นการตรวจโครโมโซมจากผู้ป่วยที่สงสัยโรค Fanconi anemia โดยการเพาะเลี้ยงเซลล์แบบปกติกับการเลี้ยงเซลล์ที่มีการชักนำให้เกิดการแตกหักของโครโมโซม
ด้วย Mitomycin-C เปรียบเทียบจำนวนการแตกหักของโครโมโซมแบบที่ไม่ได้ย้อมแถบขวาง
ระหว่างผู้ป่วยและ control
subject โดยวิเคราะห์อย่างละ
50 เมทาเฟส |
11. สิ่งรบกวนต่อการวิเคราะห์
( interference ) : |
|
|
การได้รับการถ่ายเลือดให้เลือดยากดภูมิบางชนิดหรือเคมีบำบัดจะมีผลต่อการเพาะเลี้ยงและการเจริญของเซลล์
และมีผลต่อการแปลผลด้วย |
12. ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้
(time limit for requesting additional test) : |
|
|
ปกติจะไม่มีการตรวจเพิ่ม
แต่ถ้าต้องการตรวจเพิ่ม หรือนับเพิ่มต้องขอคำปรึกษาจากอาจารย์แพทย์
ประจำห้องปฏิบัติการเพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไป |
13. อื่น
ๆ ( comment ) : |
|
|
ข้อพึงระวังในการตรวจโครโมโซมจากเลือด
: การแปลผลการตรวจควรทำร่วมกับการประเมินลักษณะทางคลินิก
ของผู้ป่วยด้วยโดยแพทย์ผู้ชำนาญทางเวชพันธุศาสตร์ |