|
|
MLD, Metachromatic Leukodystrophy |
|
ห้องปฏิบัติการอณูพันธุศาสตร์ ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช |
|
1. การทดสอบ: |
|
|
Metachromatic Leukodystrophy (MLD) or Arylsulfatase A Deficiency, Autosomal Recessive _ Mutation Analysis of Arylsulfatase A (ARSA) Gene |
2. ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ (indication): |
|
|
- ใช้ตัดสินหรือประกอบการวินิจฉัยทางคลินิก (confirmatory diagnostic testing) ในผู้ป่วยโรค MLD - ใช้วินิจฉัยพาหะ (carrier testing) ในสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วย MLD - ใช้วินิจฉัยก่อนคลอด (prenatal diagnosis) สำหรับตัวอ่อนในครรภ์ที่มีบิดาและมารดาเป็นพาหะของโรค MLD และทราบชนิดของการกลายพันธุ์ที่ร่วมเป็นสาเหตุของโรค (disease-causing alleles) ในบิดาและมารดาแล้ว |
3. การเตรียมผู้ป่วย (patient preparation): |
|
|
ไม่มี |
4. สิ่งส่งตรวจ (specimen) ปริมาณและภาชนะที่ใช้เก็บ (collection medium): |
|
|
เลือด 6-10 ml ใส่ใน standard EDTA tube (ฝาสีม่วง) หรือ ACD tube ก็ได้ |
5. การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง (handling): |
|
|
ผสมเลือดให้เข้ากันกับ EDTA จนแน่ใจว่าเลือดไม่แข็งตัวเป็นลิ่ม ควรนำส่งเลือดถึงห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชม. หลังเจาะเลือด โดยไม่ต้องแช่เย็น ถ้าส่งไม่ทันภายในวันเดียวกันให้แช่ตู้เย็นที่ 4°C (ห้ามแช่แข็ง) แล้วส่งวันรุ่งขึ้น |
6. วันและเวลาทำการตรวจ (testing schedule): |
|
|
ทุกวันทำการ ในเวลาราชการ (8.30-16.30) |
7. การประกันเวลาการทดสอบ (TAT): |
|
|
2 เดือน |
8. การรายงานผล: |
|
|
- รายงานเป็นชนิดของการกลายพันธุ์ (mutation) ที่ตรวจพบในยีน ARSA - การแปลผลการตรวจขึ้นกับการตรวจพบการกลายพันธุ์ คือ เป็นโรค เป็นพาหะ หรือ ตรวจไม่พบการกลายพันธุ์ |
9. ค่าตรวจ (charge): |
|
|
5,000 บาท หรืออาจเปลี่ยนแปลงตามประกาศของคณะฯ |
10. วิธีการวิเคราะห์ (methodology): |
|
|
Polymerase chain reaction (PCR) ตามด้วย direct DNA sequencing |
11. สิ่งรบกวนต่อการวิเคราะห์ (interference): |
|
|
Heparin และ heme จากเลือดที่เกิด hemolysis จะรบกวน PCR amplification |
12. ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้ (time limit for requesting additional test): |
|
|
ปกติจะไม่มีการตรวจเพิ่ม เพราะผลตรวจของผู้ป่วยคนหนึ่งๆ จะคงเดิมตลอดชีวิต แต่ถ้าต้องการตรวจเพิ่มต้องขอคำปรึกษาจากอาจารย์แพทย์ประจำห้องปฏิบัติการอณูพันธุศาสตร์เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไป |
13. อื่น ๆ (comment): ข้อจำกัดของการทดสอบ (sensitivity/ specificity) |
|
|
- วิธีการวิเคราะห์สามารถตรวจพบ base substitution, small deletion และ insertion ในส่วนของ coding sequence และ splice site ของยีน ARSA โดยมีโอกาสพบการกลายพันธุ์ในผู้ป่วย MLD เท่ากับ 90-95% - การวิเคราะห์นี้ไม่ครอบคลุมส่วนของ intron หรือ regulatory sequence และไม่สามารถตรวจ large deletion/large duplication ได้
Reference: - Gomez-Ospina N. Arylsulfatase A Deficiency. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, Wallace SE, Bean LJ, Stephens K, et al., editors. GeneReviews [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993 [cited 2018 Dec 27]. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1130/ - Gort L, Coll MJ, Chabas A. Identification of 12 novel mutations and two new polymorphisms in the arylsulfatase A gene: haplotype and genotype-phenotype correlation studies in Spanish metachromatic leukodystrophy patients. Hum Mutat 1999;14:240-8.
|