ศิริราชสร้างชื่อเป็นแห่งแรกของประเทศ ศูนย์ชีวสมมูลศิริราชได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005
ศิริราชสร้างชื่อเป็นแห่งแรกของประเทศ
ศูนย์ชีวสมมูลศิริราชได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005
เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2550 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตึกอำนวยการ ชั้น 2 ผศ.นพ.เอื้อพงศ์ จตุรธำรง รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รับมอบใบประกาศรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 ศูนย์ชีวสมมูลศิริราช ภาควิชาเภสัชวิทยา ในการตรวจวิเคราะห์ระดับยาในเลือด จาก นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมอบให้แก่ห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานด้วยระบบคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ ผลการทดสอบหรือสอบเทียบที่ออกโดยห้องปฎิบัติการฯ เป็นที่เชื่อถือ อีกทั้งเกณฑ์การประเมินต้องเป็นที่ยอมรับแก่องค์กรที่ประเมินให้สามารถนำไปใช้ได้ ที่สุดศิริราชปลื้มเป็นแห่งแรกของประเทศที่ได้รับการรับรองดังกล่าว
ผศ.นพ.เอื้อพงศ์ จตุรธำรง รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราช กล่าวถึงการได้รับใบรับรองครั้งนี้ว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นสถาบันนำร่อง เป็นการพัฒนาที่เน้นคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกทางนอกเหนือจากการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนแล้ว สำหรับศูนย์ชีวสมมูลศิริราช ที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์ระดับยาในเลือด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางคลินิก ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนายาและอุตสาหกรรมผลิตยาของประเทศ ดังนั้นคณะฯ จึงได้สนับสนุนทั้งด้านนโยบายและงบประมาณให้เพิ่มศักยภาพของห้องปฏิบัติการและพัฒนาคุณภาพการให้บริการสู่มาตรฐานระดับสากลมาตั้งแต่ พ.ศ.2548 โดยการเพิ่มและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะความชำนาญที่เพียงพอและเหมาะสม ปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้มีลักษณะเหมาะสมกับการปฏิบัติงานและถูกต้องตามระบบคุณภาพมาตรฐานสากล Good Laboratory Practice รวมทั้งเพิ่มเครื่องมือวิเคราะห์หลัก และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการให้บริการ
ด้าน รศ.นพ.สุพรชัย กองพัฒนากูล หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ครั้งนี้ภาควิชาเภสัชวิทยาได้ส่งผลการวิจัยเปรียบเทียบปริมาณระดับยาในเลือดระหว่างยาต้นแบบ ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศและยาสามัญ ซึ่งผลิตภายในประเทศ ด้วยเทคนิค LC - MS/ MS ที่มีความถูกต้อง แม่นยำสูง โดยเลือกยา 2 รายการ ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของบ้านเรามาทำการศึกษาวิจัย และเสนอต่อสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ 1. ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ที่นำมาใช้ป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดนกระหว่างยา TAMIFLU® (ยาต้นแบบ) กับ ยา GPO-A-FLU TM (ยาที่ผลิตในประเทศ) หรือมีชื่อสามัญทางยาว่า Oseltamivir 2. ยาป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจและสมอง ระหว่างยา PLAVIX ® (ยาต้นแบบ) กับยา Clopigrel (ยาที่ผลิตในประเทศ) หรือมีชื่อสามัญทางยาว่า Clopidogrel ซึ่งถ้าหากศึกษาแล้วพบว่าทั้ง 2 รายการ ตัวยาต้นแบบและตัวยาที่ผลิตในประเทศมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน จะสามารถช่วยรัฐลดค่าใช้จ่ายลงอย่างมากและยังส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยาภายในประเทศ ขณะเดียวกันก็เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ป่วยและแพทย์ในการใช้ยา ตลอดจนสนับสนุนนโยบายโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงยาอย่างกว้างขวาง นอกเหนือจากนี้ยาที่ถูกตรวจวิเคราะห์ในสถาบันที่ผ่านการรับรอง ISO/IEC 17025: 2005 จะไม่ต้องถูกตรวจในประเทศคู่ค้าซ้ำอีก
รศ.นพ.สุพรชัย กล่าวต่อว่า กระบวนการศึกษาวิจัยที่จะช่วยยืนยันความเท่าเทียมกันทั้งในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยระหว่างผลิตภัณฑ์ยา 2 ชนิด คือ ยาต้นแบบกับยาสามัญ เรียกว่า การศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence Study) ซึ่งเป็นวิธีการที่ศิริราชใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ 1. ส่วนของอาสาสมัคร มีการดำเนินการตามหลักของการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลทั้งในด้านจริยธรรมและวิชาการ โดยโครงการวิจัยทุกโครงการจะต้องได้รับการเห็นชอบจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการศึกษา ซึ่งในส่วนนี้ได้ร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช (