ศิริราชใช้เทคนิคผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ช่วยผู้ป่วยโรคทางกระดูกสันหลัง

ศิริราชใช้เทคนิคผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง

ช่วยผู้ป่วยโรคทางกระดูกสันหลัง

ปัญหาของผู้ป่วยด้วยโรคทางกระดูกสันหลัง ที่นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น นั่นเพราะการแพทย์ที่เจริญ ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น...ภาวะ ที่เกิดจากความเสื่อมที่กระดูกสันหลัง (พบมากในผู้ที่ อายุ 45 ปีขึ้นไป) ส่งผลให้เกิดการพอกของหินปูน และการ หนาตัวของพังผืดไปกดทับเส้นประสาทที่บริเวณคอหรือเอว  ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวด  ชา อ่อนแรงที่แขน / ขา ตามตำแหน่ง ของพยาธิสภาพ  (spinal stenosis ) หรือในกรณีของ การยื่นโป่งของหมอนรองกระดูก (herniated disc) ในวัยหนุ่มสาว ก็ทำให้แขนและขามีอาการปวดร้าว ชา อ่อนแรงลงได้เช่นกัน

แม้ส่วนใหญ่ ผู้อยู่ในภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมจะไม่มีการดำเนินโรค รุนแรง และสามารถรักษาให้ดีขึ้นด้วยการไม่ผ่าตัด โดยแพทย์จะใช้วิธีอนุรักษ์นิยม แต่ก็ยังพบว่าคนไข้จำนวนหนึ่งยังมีอาการแสดงอยู่บ้าง ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการ ใช้ชีวิตประจำวัน ...ดังนั้นในรายที่รักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะ แนะนำให้รับการผ่าตัดด้วยวิธีผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยการขยายช่องไขสันหลังหรือ การเอาหมอนรองกระดูกออก ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาและก้าวหน้า ไปมาก โดยเฉพาะในแง่ของเทคนิคการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Micro-endoscopic decompression /discectomy : MED) และ ภ.ศัลย์ออร์โธฯ ได้นำวิธีผ่าตัดดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ พ..2548

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้

                ผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดที่ผิวหนังเล็กเพียง 2 ซม. ต่อระดับ (จากเดิม 6 - 8 ซม.) มีการเลาะและตัดกล้ามเนื้อน้อยกว่าวิธีการเดิม เพราะใช้เครื่องมือที่เป็นท่อเพื่อดึง ถ่างกล้ามเนื้อให้ถึงบริเวณทำการผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแผลหรือการชอกช้ำ ของเนื้อเยื่อบริเวณผ่าตัดน้อยกว่า ส่งผลให้ใช้ระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง        1 - 3 วัน (จากเดิม 5 - 10 วัน)  และเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ ก็จะสามารถกลับไปทำกิจวัตรหรือทำงานได้ (จากเดิม 3 - 6 สัปดาห์)

ข้อจำกัดของการรักษา

                ผู้ป่วยที่เหมาะกับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะเป็นในกรณีที่มีการตีบของ ช่องไขสันหลังส่วนเอว (Lumbar spinal stenosis)  หรือในผู้ป่วยที่มีหมอนรอง กระดูกยื่นทับเส้นประสาททับในส่วนคอหรือเอว (Disc herniation) ในกรณีที่ ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพรุนแรงเป็นมากหลายระดับและต้องทำการผ่าตัดเชื่อม ปล้องกระดูกสันหลัง (spinal fusion) จะไม่สามารถใช้วิธีการนี้เพราะต้อง เปิดแผลกว้างอยู่แล้ว

                สำหรับ ร..ศิริราช เรามีหน่วยงานที่ให้บริการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ทั้งของ ภ.ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด และ สาขาประสาทศัลยศาสตร์ ภ.ศัลยศาสตร์

                และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการรักษา แต่อย่างไรก็ตาม วิธีผ่าตัดดังกล่าวใช่ว่าจะเหมาะกับผู้ป่วยทุกราย การที่จะเลือกวิธีนี้ หรือไม่ในการผ่าตัด แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ทั้งนี้การผ่าตัดโดยวิธีมาตรฐานยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยสูง และเชื่อถือได้อยู่ นะครับ

**แสดงการจัดวางเครื่องมือตำแหน่งที่ผ่าตัดและภาพที่เห็นจากจอแสดงผล**

จากภาพ 1 - 2 จะเห็นได้ว่าท่อดังกล่าวยัง สามารถต่อเข้ากล้อง (endoscope) ซึ่งเป็นกล้อง ชนิดเดียวกับกล้องที่ใช้ทำผ่าตัดข้อเข่า ข้อไหล่ เพียงแต่ เลนซ์เล็กกว่า และประกอบเข้ากับท่อดึงถ่าง นำภาพของ การผ่าตัดขึ้นปรากฏบนจอแสดงผล (monitor) เครื่องมือ ที่ใช้ในการผ่าตัดก็เป็นลักษณะพิเศษ คือ มีขนาดเล็ก และหักงอ เพื่อให้ใส่เข้าในท่อดึงถ่างได้  ในบางแห่งอาจใช้กล้อง Microscope ในห้อง ผ่าตัดมองผ่านช่องของท่อถ่างขยายนี้แทนกล้อง endoscope และเรียกว่า “ผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง”  ซึ่งจริง ๆ  แล้วควรเรียกว่า การผ่าตัดผ่านท่อถ่างขยาย โดยใช้กล้อง Microscope ( Micro-decompression with tubular retractor)