การให้อาหารด้วยวิธีพิเศษ

การให้อาหารด้วยวิธีพิเศษ

ศ.นพ.จอมจักร จันทรสกุล 
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

            การให้อาหารวิธีพิเศษนั้น หมายถึง วิธีการแพทย์พยายามหาวิธีให้อาหารกับผู้เจ็บป่วย ให้ได้รับอาหารในจำนวนที่เพียงพอความต้องการของร่างกายตนเองนะครับ ทีนี้ ที่เราพบเห็นกัน ในขณะที่มีความเจ็บป่วยนั้น ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ที่พบว่ารับประทานอาหารเองได้ค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือบางรายอาจจะรับไม่ได้เลย ในบางราย แพทย์ก็อาจห้ามรับอาหารหรือให้อาหารผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหาร

วิธีการให้อาหารมี 2 ทางที่ถือปฏิบัติกันอยู่
            1. การให้เข้าสู่ทางเดินอาหารตามธรรมชาติวิธีพิเศษ คือ การใส่ท่อผ่านทางรูจมูกลงสู่กระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารส่วนต้นของลำไส้เล็กโดยวิธีการทำผ่าตัดอาหารที่ให้ควรเป็นอาหารเหลว
            2. ให้อาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังโดยใช้เข็มหรือใช้สายสวนสอดเขาใต้ผิวหนัง พยายามให้ปลายสายสอดไปอยู่ในหลอดเลือดดำใหญ่ให้บริเวณใกล้ๆกับขั้วหัวใจเป็น 2 วิธีที่แพทย์ในปัจจุบันใช้อยู่

สำหรับผู้ป่วยได้รับอาหารวิธีพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นคนไข้จะแบ่งได้
            1. ผู้ป่วยรับอาหารเองได้น้อย หรือไม่ได้เลย หรือน้อยไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะพบได้เสมอกับผู้ป่วยที่สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ป่วยด้วยปัญหาทางสมองที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุรุนแรง เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหรือผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง ซึ่งมีความจำเป็นต่ออาหารค่อนข้างสูง
            2. ผู้ป่วยที่มีภาวะทุโภชนาการอยู่เดิม อาจจะเนื่องจากการขาดอาหารโดยตรง หรืออาจจะเป็นเพราะภาวะของโรคที่ผู้ป่วยนั้นเป็นอยู่ทำให้เขารับอาหารได้น้อย ไม่พอกับความต้องการของร่างกาย ตัวอย่างของผู้ป่วยประเภทนี้ ก็ส่วนมากก็พบผู้ป่วยมีปัญหาโรคกระเพาะหรือลำไส้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็อาจรักษาโดยการทำการผ่าตัดให้ ทีนี้การรักษาพวกนี้ ส่วนมากก่อนการผ่าตัด ถ้าเราพบว่าผู้ป่วยมีภาวะทุโภชนาการอยู่ ส่วนมากเราจะเตรียมผู้ป่วยให้ดีเสียก่อน คือหมายความว่า เตรียมในเรื่องอาหารให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เพียงพอ ซึ่งใช้ระยะเวลาหนึ่งคงจะไม่นานนัก ที่จะทำให้เขาดีขึ้นทั้งนี้นั้นเพื่อผลประโยชน์ที่จะให้เขาเสี่ยงต่อการผ่าตัดน้อยลงมี ภาวะแทรกซ้อนต่อการผ่าตัดน้อยลง แผลหายเร็วขึ้นและก็ใช้เวลาอยู่โรงพยาบาลน้อยวันลง
            3. ผู้ป่วยประเภทที่ 3ได้แก่ ผู้ป่วยที่ไม่ควร ให้อาหารทางปาก หรือทางกระเพาะลำไส้เลย ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า มีการอุดตันเกิดขึ้นในทางเดินอาหาร หรือเป็นเพราะว่าการผ่าตัด เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต้องงดอาหารทางปาก เป็นการชั่วคราวระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องงดอาหารหรือไม่ได้อาหาร เหล่านี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องให้อาหาทางหลอดเลือดตอบแทน ที่นี้มีอีกพวกหนึ่ง คือพวกที่เจ็บป่วยหนักซึ่งก็ได้ข่าวมาแล้วว่า พวกนี้จำเป็นต้องให้เสริมเข้าไปจากที่รับ ประทานได้ปกติธรรมดา ครับ

            สำหรับอาหารที่เราใช้ให้ผู้ป่วยนั้น ก็คงเป็นอาหารเช่นเดียวกับที่คนปกติรับประทานอยู่นะครับ คือส่วนประกอบของอาหารก็มีอยู่ 6 อย่างด้วยกัน ที่เป็นอาหารหลักคือ อาหารจำพวกแป้ง หรือที่เรียกคาร์โบไฮเดรต 2. คือโปรตีน 3. คือไขมันและก็ 4. คือเกลือแร่ 5. คือวิตามิน อันที่ 6 คือน้ำ อาหารที่เราจะให้ผู้ป่วยรับประทานก็ควรประกอบด้วยอาหารหลักทั้ง 6 อย่าง ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดในสัดส่วนที่พอเหมาะ เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละชนิด ยกเว้นว่า ในผู้ป่วยที่มีโรคเฉพาะทางอย่าง เช่น ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ต้องจำกัดอาหารประเภทโปรตีน บางชนิดลง และก็ลดเกลือแร่บางอย่างลง หรือผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานก็เช่นเดียวกัน อาจจะต้องจำกัดอาหารที่เป็นพวกแป้งลง ไขมันลงที่นี้ อาจจะเตรียมมาในรูปของอาหารเช่นอาหารทั่วๆ ไปที่คนปกติทั่วไปรับประทานก็ได้ หรืออาจจะทำพิเศษ ถ้าสมมุติว่าเขารับประทานได้จำนวนค่อนข้างน้อย ก็อาจจะต้องเตรียมมาเพื่อที่จะให้ทางสายท่อยางสวนลงสู่กระเพาะอาหารก็ได้ซึ่งอาหารพวกนี้ ก็ต้องเอามาบดให้ละเอียด จนกลายเป็นอาหารเหลวส่วนอาหารสำเร็จรูป ที่เขาเตรียมมาจำหน่ายในท้องตลาด หรือในโรงพยาบาลทั่วไปนั้น ส่วนมากเป็นอาหารผงคล้ายนมผง หรือเป็นน้ำซึ่งในขณะนี้ประเทศเราก็ยังคงรับมาจากต่างประเทศมาจำหน่ายอาหารเหล่านี้ก็มีอยู่ทั่วๆ ไปตามร้ายขายยาใหญ่ๆ นอกจากโรงพยาบาลแล้ว นอกจากอาหารที่ให้ทางกระเพาะลำไส้ ก็ยังมีอาหารที่ให้ตามหลอดเลือดดำ ซึ่งตัวอาหารก็ยังประกอบด้วย เช่นเดียวกับอาหารที่เรารับประทานนั้นเองนะครับ แต่ว่าอณูของอาหาร หรือขนาดของอาหาร เหล่านั้นที่จะให้ไปทางหลอดเลือดนั้นต้องเละมากแทบจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เลยคือมีลักษณะเป็นน้ำนั้นเอง ซึ่งเมื่อให้ผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดดำแล้ว ที่นี้ร่างกายก็สามารถจะนำไปใช้ได้เลย อย่างยกตัวอย่างเช่นอาหารจำพวกแป้ง ก็มาในรูปของกรดไขมัน ละลายอยู่ในน้ำส่วนเกลือแร่หรือวิตามินต่างๆ นั้นก็มาในรูปของน้ำ ถ้าถามถึงวิธีการเก็บ การเก็บอันนี้ถ้าเป็นอาหารธรรมดา ก็ควรเก็บในอุณหภูมิที่พอเหมาะพอสมคือเก็บไว้ในอุณหภูมิ ที่ไม่ทำให้อาหารนั้น บูด เสีย และก็ควรจะปกปิด ป้องกันการปนเปื้อน ที่จะเกิดขึ้นส่วนอาหารที่จะให้ทางหลอดเลือดดำนั้น ส่วนมากจะมาเป็นขวด หรือมาเป็นถุงซึ่งบรรจุอยู่ในถุงที่ปอดเชื้ออยู่แล้ว การเก็บอาหารพวกนี้ ส่วนมากเก็บในช่องอุณหภูมิธรรมดาก็อยู่ได้ยกเว้นอาหาร ไขมันที่จะต้องเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ธรรมดา เช่น เก็บไว้ในตู้เย็นแบบนี้เป็นต้น

            ผู้ป่วยที่สามารถรับอาหารโดยวิธีพิเศษที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็มีใช้ได้ในผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยผู้ใหญ่ แต่จำนวนของอาหารชนิดของอาหารนั้น จะแตกต่างกันบ้างในเด็กและผู้ใหญ่ซึ่งอันนี้ก็คงจะขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรง ความเจ็บป่วยและก็ชนิดของโรคและความต้องการของผู้ป่วยนั้นเอง ที่จริงการให้ด้วยวิธีพิเศษนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะยากอะไรมากมายนัก ญาติของผู้ป่วยสามารถจะเตรียมให้ที่บ้านได้เช่นกัน โดยวิธีการใส่ท่อยางผ่านจมูก เข้าไปที่กระเพาะอาหาร ซึ่งอันนี้ถ้าได้รับการฝึกฝนนิดหน่อยจากโรงพยาบาลถึงวิธีการให้การดูแล หรือว่าการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ก็สามารถที่จะกระทำที่บ้านได้ไม่ยากนัก และวิธีการเตรียมอาหาร ก็เช่นเดียวกันอันนี้ก็อาจจะเรียนได้จากแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่จากโภชนาการของโรงพยาบาลแนะนำให้ได้ ส่วนการให้อาหารทางหลอดเลือดดำนั้น ในประเทศไทยเราขณะนี้ก็ยังไม่ได้มีการปฏิบัติกันยกเว้นในบางกรณีหรือผู้ป่วยบางรายที่พิเศษมากๆ เท่านั้นเองนะครับ แต่ในต่างประเทศแล้วละก็ มีหลายประเทศ ที่ได้มีการให้ผู้ป่วยให้อาหารทางหลอดเลือดดำเอง


 

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด