อวัยวะเพศกำกวมในเด็กทารกแรกเกิด

อวัยวะเพศกำกวมในเด็กทารกแรกเกิด

ศ.นพ.วศิน มีวัตถา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 ถาม : คำว่า "อวัยวะเพศกำกวม" หมายถึงอะไร
ตอบ : "
อวัยวะเพศกำกวม" หมายถึง เพศที่ปรากฏออกมาหรืออวัยวะเพศที่ปรากฏออกมานั้นไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง อาจจะมีทั้ง 2 เพศอยู่ในที่เดียวกันจึงจะเรียกว่าอวัยวะเพศกำกวม

ถาม : สาเหตุของการเกิดอวัยวะเพศกำกวมเกิดจากสาเหตุใด
ตอบ :
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ มีรายงานและตรวจพบโดยเชื่อกันว่าฮอร์โมนเพศบางชนิด โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด ยาที่ป้องกันการแท้งที่มีส่วนของฮอร์โมนเพศชายอยู่ในยานั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอวัยวะเพศกำกวมได้

ถาม : ลักษณะของอวัยวะเพศกำกวมแบ่งได้เป็นกี่ลักษณะ
ตอบ :
โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท
      1. ประเภทแท้ หมายถึง เด็กหรือบุคคลคนนั้นมีฮอร์โมนทั้ง 2 ประเภท หรือมีต่อมฮอร์โมนทั้ง 2 เพศ โดยมีทั้งรังไข่ และลูกอัณฑะในคน ๆ เดียวกัน
      2. ประเภทเทียมมีฮอร์โมนหรือต่อมฮอร์โมนประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ประเภทหญิงก็ประเภทหญิง ประเภทชายก็ประเภทชายอย่างเดียว แต่ลักษณะของอวัยวะเพศที่ปรากฏนั้นไม่ สามารถบอกได้ว่าเป็นเภทใด

ถาม :จากการที่มีอวัยวะเพศกำกวมจะมีผลอย่างไรต่อสุขภาพของเด็ก
ตอบ :
สุขภาพโดยทั่วไปการเจริญเติบโตจะไม่ต่างจากเด็กคนอื่น นอกจากเด็กคนนั้นจะมีอวัยวะเพศ 2 อย่างและไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร มีผลทางด้านสุขภาพจิตทั้งตัวเด็กและพ่อแม่ ทางพ่อแม่ก็เป็นกังวล นับตั้งแต่การดูแลการแต่งตัวหรือปฏิบัติตัวตามขนบธรรมเนียมประเพณีว่าจะเลี้ยงให้เป็นประเภทไหน ส่วนตัวเด็กเองก็เป็นปัญหาเข้ากลุ่มสังคมได้ยาก

ถาม : ปัจจุบันพบได้มากน้อยเพียงใด
ตอบ :
มีไม่มากประมาณ 1 ใน 1,000 ของเด็กแรกเกิด

ถาม :ไม่ทราบว่าเป็นกรรมพันธุ์หรือไม่เรื่องของการที่เด็กมีอวัยวะเพศกำกวม
ตอบ :
ทางกรรมพันธุ์มีส่วนด้วย แต่พอตรวจก็หาสาเหตุได้ไม่แน่นอน

ถาม : การรักษาโรคอวัยวะเพศกำกวมมีวิธีใดได้บ้าง
ตอบ :
ต้องแบ่งเด็กเป็นประเภทแท้หรือประเภทเทียม ถ้าเป็นประเภทแท้แบ่งการรักษาเป็น 2 ประเภท
      ประเภทแรก รักษาด้วยการให้ฮอร์โมน
      ประเภทสอง คือผ่าตัดดูว่าเด็กเข้าข่ายลักษณะไหน ถ้าเป็นผู้หญิงก็ผ่าตัดให้เป็นอวัยวะหญิงเช่น ไม่มีช่องคลอดก็ทำช่องคลอด ส่วนอวัยวะเพศกำกวมเทียมต้องดูตามลักษณะของเด็กและฮอร์โมนของเด็ก ถ้าเด็กมีรังไข่ก็จะพยายามผ่าตัดเด็กคนนั้นให้เป็นผู้หญิง ถ้ามีลูกอัณฑะก็ผ่าตัดเป็นเพศชาย

ถาม : เคยมีพ่อแม่มาระบุเพศของเด็กบางหรือไม่
ตอบ :
มี บางครั้งลักษณะของเด็กเป็นผู้ชายมีฮอร์โมนเพศชาย แต่ต้องการผ่าตัดเป็นเพศหญิง ซึ่งเพศต้องคุยกับผู้ปกครองอย่างละเอียด

ถาม : ถ้าไม่ได้ทำการรักษาเรื่องอวัยวะเพศกำกวมปล่อยทิ้งไว้จะมีปัญหาหรือไม่
ตอบ :
มี ตอนโตจึงจะทำการรักษา

ถาม : การรักษาระหว่างเด็กเล็กหรือเด็กโตประเภทไนรักษายากกว่ากัน
ตอบ :
ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติมากกว่า หากเป็นเด็กก็จะทำการผ่าตัดก่อนอายุ 5 ขวบ ระยะนี้เด็กจะได้เตรียมตัวทำเป็นเพศใดเพศหนึ่ง

ถาม : การทำใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายประมาณเท่าใด
ตอบ :
การผ่าตัดใช้เวลาขึ้นอยู่กับความผิดปกติของร่างกาย ถ้าความผิดปกติไม่มากก็ไม่ใช้เวลานาน โดยเฉลี่ยใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3 ครั้ง โดยระยะความห่างประมาณ 3 เดือนต่อครั้ง

 


 

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด