ความรู้เรื่องยา (ตอนที่ 2)
ความรู้เรื่องยา (ตอนที่ 2)
พญ.วีรวดี จันทรนิภาพงศ์
ภาควิชาเภสัชวิทยา
Faculty of
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ยาลดไข้ในเด็ก
ถ้าเด็กมีไข้ (วัดทางทวารมากกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือวัดทางปากมากกว่า 37.6 องศาเซลเซียส) แต่ยังสามารถเล่นได้ กินได้ และสภาพโดยรวมดูปกติ อาจไม่จำเป็นต้องกังวลกับไข้นั้น แต่ถ้าเด็กมีไข้ร่วมกับมี อาการอื่นๆ เช่น ร้องกวน ไม่ยอมเล่น ไม่กินอาหาร ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (paracetamol or acetaminophen) แอสไพริน (aspirin) และ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อาจช่วยบรรเทาอาการ
ยาพาราเซตามอล เมื่อให้ในขนาดที่ถูกต้องค่อนข้างปลอดภัย และผลข้างเคียงน้อย ยามีหลายรูปแบบและหลายความเข้มข้น ดังนั้นควรอ่านฉลากยาให้ละเอียด ระวังการให้ยาเกินขนาด ยาชนิดหยดมีความเข้มข้นกว่ายาน้ำ ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ยาอาจมีผลต่อตับได้
ยาแอสไพริน และยาไอบูโพรเฟน ไม่เหมาะที่จะใช้กับเด็กเล็ก เพราะสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้บ่อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ ถ้าใช้ในขณะที่ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส อาจทำให้เป็นกลุ่มอาการเรย์ (Reye syndrome) ซึ่งมีอาการสมองอักเสบร่วมกับตับอักเสบ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และถ้าใช้ขณะเป็นไข้เลือดออก จะทำให้เลือดออกง่าย
ดังนั้นควรเลือกใช้พาราเซตามอลก่อนจะปลอดภัยกว่า ถ้าสังเกตว่าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรยาลดไข้ชนิดผง เพราะส่วนใหญ่จะเป็นแอสไพรินและไม่สามารถใช้ขนาดที่แน่นอนได้