กินปลาเพื่อสุขภาพ

กินปลาเพื่อสุขภาพ

โดย รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงษ์
ภาควิชาอายุรศาสตร์

Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
 

1. ปลาสามารถแยกประเภทและชนิดได้อย่างไร
          
จริง ๆ วิธีแยกประเภทของปลาคงจะมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะแยกเพื่อประโยชน์ประเภทใด แต่ในทางวิชาการแพทย์ หรือที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ก็คงจะแยกเป็นปลาน้ำจืด กับปลาน้ำเค็ม

2. ในเนื้อปลามีสารอาหารชนิดใดบ้างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
           ด้านหลัก : จะเป็นโปรตีน ซึ่งในเนื้อปลาจะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไขมันจะมีอยู่บ้าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของปลา อย่างในปลาน้ำจืดจะมีไขมันไม่มากนัก ยกเว้นพวกปลาสวาย หรือปลาสลิดตากแห้ง ส่วนปลาทะเล ก็จะมีไขมันอีกประเภทซึ่งจะแตกต่างจากปลาน้ำจืด พวกที่เป็นกรดไขมันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เราพบว่า มันมีคุณค่าในแง่ของการลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และอาจจะช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจหรือไขมันในเลือดสูง นอกจากนั้น เครื่องใน ตับปลา ก็จะมีน้ำมันและวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน เป็น วิตามิน A D E K และ แร่ธาตุ โดยเฉพาะในตัวปลาบางชนิดที่เรารับประทานได้ ก็จะได้แคลเซียมด้วย

3. ปกติเราควรรับประทานอาหารประเภทปลามากน้อยเพียงใดต่อวัน
           ปกติร่างกายของคนเราจะต้องการโปรตีนแตกต่างกันไปแล้วแต่ช่วงวัย เช่น วัยเด็กจะต้องการโปรตีนสูง 1.2 - 1.5 ต่อ น้ำหนักต่อ 1 กิโลกรัม ในผู้ใหญ่ 0.8-1 กรัม ต่อ กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งในแต่ละวันก็ควรบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ด้วย

4. ในด้านประโยชน์ต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง
           ด้านหลัก : ก็จะได้โปรตีน เพราะโปรตีน เพราะโปรตีนในเนื้อปลาจะย่อยง่าย มีคุณค่าในแง่ของการบำรุงสมอง การพัฒนาสมองในเด็ก โดยเฉพาะปลาทะเล นอกจากจะได้โปรตีนแล้ว ยังจะได้แร่ธาตุไอโอดีน จะมีบทบาทในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะป้องกันที่ไกลจากทะเลก็จะมีความเสี่ยงก็จะเกิดโรคคอพอก ในกลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นแหล่งโปรตีน ที่รับประทานง่าย ย่อยง่าย ก็จะเป็นประโยชน์ของปลา

5. ในกรณีที่แพ้อาหารทะเล ไม่สามารถรับประทานได้ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
           ถ้าขาดอาหารทะเลก็สามารถรับประทานปลาน้ำจืดแทนได้ แต่ถ้าไม่สามารถรับประทานปลาได้เลย เช่น เหม็นคาวปลา ก็ยังสามารถได้ในแหล่งโปรตีนอื่น ๆ เช่น เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ไข่ดาว ถั่ว งา ร่างกายก็ยังจะได้โปรตีนเพียงพอ


6. การรับประทานปลาให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกาย
           1. รับประทานปลาที่ปรุงสุก
           2. เปลี่ยนประเภทของปลาไปเรื่อย ๆ ลดปัญหาการปนเปื้อน
           3. บริโภคร่วมกับอาหารอื่น ๆ ให้ครบทุกชนิด คือ อาหารหลัก 5 หมู่

7. ที่เรียกกันว่า น้ำมันตับปลา หรือ น้ำมันปลา ควรรับประทานหรือไม่
           ปัจจุบันที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด จะมี 2 ประเภท คือ น้ำมันตับปลา หรือ น้ำมันปลา
น้ำมันตับปลา มีจำหน่ายมานานแล้ว ซึ่งผู้ใหญ่จะนำมาให้เด็ก ๆ ทาน เพื่อเป็นยาบำรุง ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ ก็จะต้องการเสริมวิตามิน ซึ่งจะละลายในไขมัน A D E K ก็จะสกัดจากปลา มีทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ แต่ในปัจจุบันนี้ที่นิยมกันมากขึ้น คือ น้ำมันปลา (Fish oil) เป็นสารสกัดไขมันจากปลาทะเล มีการศึกษาจากการเปรียบเทียบเกี่ยวกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในคนชาวเอสกิโม เมื่อเปรียบเทียบ กับชาวเอสกิโม จึงทำให้ชาวเอสกิโมมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า นับว่าชาวเอสกิโม จะรับประทานปลามากกว่า จึงทำให้ได้รับสารอาหารจากปลามากว่า ซึ่งจะมี
ฤทธิลดกรดตัวของเกร็ดเลือด และลดไตรกีรเซอร์ไรด์ได้ดี ทำให้คนมีความสนใจมากขึ้น แต่จากการศึกษาทดลองจากแพทย์สหรัฐอเมริกา พบว่า การบริโภคแต่น้ำมันปลาในรูปเม็ด ไม่สามารถป้องกันโรคหัวใจ และไม่ช่วยผู้ป่วยหายจากโรคหัวใจ

8. ข้อแนะนำช่วงท้ายรายการ
           ข้อแนะนำเพื่อสุขภาพ
           1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
           2. รับประทานอาหารให้พอเหมาะ
           3. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก นอกจากจะช่วยควบคุมลำดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เส้นใยอาหารจะช่วย
           4. หลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีไขมันในปริมาณมาก
           5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
           6. งดการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด