นิ่วทางเดินปัสสาวะ ตอนที่ 2

นิ่วทางเดินปัสสาวะ (ตอนที่ 2)

ศ.นพ.ธงชัย พรรณลาภ
ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ถาม: โรคนิ่วสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ตอบ: การรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินน้ำปัสสาวะปัจจุบันมีการรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
1. รักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในหลอดเลือดไต ที่ขนาด เล็กมากๆ จะหลุดได้เองมาอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะ แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 10-15 แก้วต่อวัน ถ้ามีอาการปวดก็จะให้ยาแก้ปวด
2. รักษาโดยการผ่าตัด จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อ นิ่วนั้นทำให้เกิดมีการเสียการทำงาน ของไต หรือทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะ

ถาม: การดื่มน้ำที่มีตะกอนมากจะมีส่วนทำให้เป็นนิ่วหรือไม่
ตอบ: การดื่มน้ำที่มีตะกอนหรือไม่ได้แกว่งสารส้มนั้น ไม่คิดว่าจะเป็นเหตุให้เกิดนิ่ว เพราะพวกตะกอนจะเข้าไปอยู่ในลำไส้ซึ่งไม่คิดว่าจะทำให้เกิดเป็นนิ่ว

ถาม: เคยมีผู้สงสัยว่าการกระโดดเชือกจะรักษาโรคนิ่วได้จริงหรือไม่
ตอบ: การกระโดดเชือกนั้นเป็นการให้คำแนะนำโดยแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นนิ่วใน หลอดไตในขณะที่รอให้หลุดเอง เพื่อให้เป็นการออกกำลังและอาจจะมีส่วนทำให้นิ่ว หลุดเร็วขึ้นจึงให้กระโดดเชือก แต่จริงๆ แล้วการให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพียงอย่างเดียว ก็เพียงพอแล้ว

ถาม: มีวิธีป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วหรือไม่
ตอบ: สำหรับการป้องกันผู้ป่วยที่เป็นนิ่วไม่ให้เป็นได้ใหม่นี้ ไม่มีวิธีป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มีวิธีป้องกันที่จะให้เกิดเป็นนิ่วใหม่ได้ยาก

โดยแนะนำผู้ป่วยดังนี้
1. แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 10-15 แก้ว
2. ให้ผู้ป่วยรักษาอาการติดเชื้อของระบบทางเดินน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะเป็นสาเหตุ ให้เกิดนิ่วได้ง่าย
3. ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วควรจะได้ทราบจากแพทย์ว่าเป็นนิ่วชนิดใด โดยการเอานิ่วไป ตรวจและรับคำแนะนำจากแพทย์ว่าควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทใด ซึ่ง จะเป็นเหตุทำให้เกิดนิ่วชนิดนั้น ๆ
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินน้ำปัสสาวะ จะต้องระวังการเกิดเป็นนิ่วใหม่ โดยรักษา ต้นเหตุที่ทำให้เกิดมีการคั่งของน้ำปัสสาวะ อย่างเช่นผู้ป่วยที่เป็นต่อมลูกหมากโต ควร จะต้องรักษาเรื่องต่อมลูกหมากโตเสีย เป็นต้น

ถาม :ถ้าผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะมานานจะทำให้เกิดนิ่วได้หรือไม่
ตอบ: การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ จะทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ โดย เฉพาะในผู้หญิง การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ ประมาณ 6-8 ช.ม. ไม่ทำให้เกิดเป็นนิ่วใน กระเพาะปัสสาวะ แต่การคั่งของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ถ่ายไม่ หมดนั้น ต้องใช้ เวลานานเป็นเดือนถึงจะมีนิ่วเกิดขึ้นได้

 

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด