หูชั้นกลางอักเสบ

หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก : คำถามที่พ่อแม่ควรรู้


ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา  
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  

หูชั้นกลางอักเสบคืออะไร
           หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media with effusion) เป็นภาวะที่มีน้ำอยู่หลังแก้วหู โดยที่แก้วหูไม่ทะลุเป็นการติดเชื้อที่เกิดตามหลังจมูกอักเสบจากการเป็นหวัด หรือไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี

จะทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็นหูชั้นกลางอักเสบ
           เด็ก ๆ ที่มีน้ำในหูชั้นกลาง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้อาการไม่รุนแรง เช่น มีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง ส่วนน้อยจะมีอาการแบบเฉียบพลัน คือ มีไข้ ปวดหูหรือบางรายก็ไม่มีอาการ ใด ๆ เลย เมื่อพ่อแม่พามาพบแพทย์เพราะเป็นหวัด แล้วแพทย์ตรวจพบเอง

การรักษาจะต้องทำอย่างไรบ้าง
            การรักษาหูชั้นกลางอักเสบ คือ การให้กินยาปฏิชีวนะ และรักษาโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของหูอักเสบร่วมไปด้วย เช่น จมูกหรือไซนัสอักเสบ หากรักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดเจาะแก้วหู เพื่อดูดน้ำออกและใส่ท่อปรับความดันไว้ในแก้วหู

การดูแลเด็กหลังผ่าตัดเจาะแก้วหู (Myringotomy)
1. การผ่าตัดเจาะแก้วหูคืออะไร
            การผ่าเจาะแก้วหู เป็นการผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะน้ำในหูชั้นกลางที่มีปัญหาต่าง ๆ เช่น ให้กินยาแล้วไม่ดีขึ้น เป็นหูอักเสบบ่อย ๆ หลังหยุดยา มีการเสียการได้ยิน หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของหูชั้นกลางอักเสบที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าสมควรผ่าตัด
2.  หลังผ่าตัดเจาะแก้วหูแล้ว จะต้องทำแผลหรือไม่อย่างไร
            เด็กจะไม่มีบาดแผลใด ๆ ในบริเวณใบหู ใบหน้าและศีรษะ เนื่องจาการผ่าตัดเป็นการเจาะแก้วหู โดยผ่านทางรูหู และดูดน้ำในหูชั้นกลางออก ใส่ท่อปรับความดันไว้ในแก้วหู ผู้ปกครองไม่ต้องทำแผลใด ๆ
3. หลังการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
           ไม่ให้น้ำเข้าหู ไม่ว่ายน้ำ ไม่เล่นน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในหูชั้นกลาง อาบน้ำสระผมได้เป็นปกติด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากท่อปรับความดันในแก้วหู เป็นตัวป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหูชั้นกลางอักเสบอีก จึงควรระวังการเพิ่มความดันในหู ซึ่งจะทำให้ท่อหลุดได้ง่าย เช่น ไม่ควรเป่าลูกโป่ง ไม่เล่นเครื่องดนตรีชนิดเป่า ไม่ไอ เบ่ง หรือสั่งน้ำมูกแรง ๆ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด มาพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสภาพแก้วหู ตรวจดูท่อปรับความดัน และตรวจการได้ยิน
4.  เมื่อไรจะเอาท่อออกได้
           ท่อปรับความดันจะหลุดออกมาได้เองตามเวลา ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของท่อที่ใช้ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ท่อก็จะเลื่อยหลุดออกจากแก้วหูลงมาในช่องหูได้เอง แพทย์สามารถหยิบท่อจากช่องหูออกได้เลย ในห้องตรวจผู้ป่วยนอกโดยไม่เจ็บปวด เมื่อรักษาหายแล้ว ควรป้องกันอย่างไรจึงจะไม่เป็นหูอักเสบบ่อย ๆ  ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นหวัดหรือจมูกอักเสบ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากการไอจามรดกัน ไม่กินอาหารหรือน้ำโดยใช้ภาชนะร่วมกับผู้ที่เป็นหวัด เด็กที่เป็นหูอักเสบแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำดำน้ำจนกว่าจะรักษาให้หายเสียก่อน ผลของการผ่าตัดจะดีมากดีน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดส่วนใหญ่ก็จะหายขาด ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน บางครั้งผลของการผ่าตัดก็ไม่ดีเสมอไป เพราะอาจมีอาการอยู่บ้างแต่จะน้อยลงไปพอสมควร แต่ถึงอย่างไรก็ต้องรับประทานยาต่อไป นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเบา ๆ ควบคู่ไปด้วย ส่วนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในภาวะที่โรคลุกลามไปมากและลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น ตับ ไต และปอด แล้ว ผลการผ่าตัดก็จะมีอัตราเสี่ยงสูง ฉะนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลประกอบการตัดสินใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด