การรักษากระดูกหักด้วยการผ่าตัดดามโลหะ

การรักษากระดูกหักด้วยการผ่าตัดดามโลหะ

รศ.นพ.วิทเชษฎ์  พิชัยศักดิ์
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
Faculty of Medicine Siriraj Hospital 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

1. กรณีใดบ้างที่จะติดรักษาด้วยการผ่าตัดโลหะ
ตอบ ก่อนจะพูดถึงเรื่องของการผ่าตัดด้วยกระดูกตามโลหะ ผมขอกล่าวถ้าการรักษาด้วยการใส่เฝือกก่อนว่ามีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง การรักษาด้วยการใส่เฝือกนั้นจะทำให้เนื้อลีบ และข้อติดยึดได้ และการผ่าตัดก็จะมีเรื่องของแผลเป็น ต้องดมยาสลบ หรือต้องฉีดยา อาจจะต้องผ่าตัดซ้ำที่ต้องเอาโลหะในกระดูกออกหรือเกิดการติดเชื้อ หรือต้องให้เลือดจะมีปัญหาจากการให้เลือดได้ เมื่อไหร่เราจะทำการผ่าตัด ถ้าจะต้องเรียนว่าเป็นกรณีที่จำเป็นจริง ๆ หรือรักษาด้วยการเข้าเฝือกไม่ได้ ยกตัวอย่างเรื่องของกระดูกต้นขาหัก ผู้ใหญ่ที่ตัวใหญ่ ๆ จะไม่สามารถรักษาด้วยการใส่เฝือกไม่ได้ หรือในกรณีที่แตกเข้าข้อ ถ้ารักษาโดยการใส่เฝือกไม่ได้ หรือในกรณีที่แตกเข้าข้อ ถ้ารักษาโดยการใส่เฝือกอาจจะทำให้ข้อติดยึดได้ง่าย หรือเราอาจจะต้องผ่าตัดดามกระดูกหัก เพื่อต้องการให้ข้อเคลื่อนไหวโดยเร็ว หรือในกรณีที่กระดูกหักแล้วมีการทะลุถึงผิวหนังและมีแผล ก็อาจจะต้องผ่าตัดรักษา หรือในกรณีที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดหรือเส้นประสาท ก็จะต้องจำเป็นต้องรักษา การผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมเส้นเลือดและเส้นประสาทไปด้วย

2. การผ่าตัดดามโลหะสามารถรักษาได้กับอวัยวะส่วนใดได้บ้าง
ตอบ  จะใช้ได้ทุกส่วนถ้ามีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดที่พูดไปแล้ว ยกเว้นกระโหลกศีรษะ และกระดูกซี่โครงเราจะไม่รักษาโดยการผ่าตัดด้วยโลหะ

3. โลหะที่ใช้ในการรักษาเป็นโลหะชนิดใด
ตอบ เป็นสแตนเลสที่ไม่ขึ้นสนิม และชนิดไททาเนียม ซึ่งมีลักษณะเบาเข้ารูปได้ง่าย

4. ขั้นตอนในการรักษาเป็นอย่างไร
ตอบ ก่อนที่จะผ่าตัดรักษา จะต้องดูว่าคนไข้อยู่ในภาวะที่ฉุกเฉินหรือมีอันตรายกับชีวิตหรือไม่ ถ้ามีภาวะที่ฉุกเฉินอาจจะมีอันตรายถึงชีวิตได้ ในกรณีเช่น มีตับแตก ม้ามแตก มีเลือดออกในช่องท้อง หรือมีเลือดคั่งในสมอง เราจะต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นก่อน ถ้าไม่มีปัญหาใด ๆ เราก็จะพิจารณาการผ่าตัดรักษาได้เลย ขั้นตอนแรก คือการเตรียมผู้ป่วยสำหรับดมยาสลบ หรือฉีดยาชา ผู้ป่วยจะต้องไม่มีปัญหาโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคปอด ถ้าผู้ป่วยมีร่างกายพร้อม แพทย์ก็จะกำหนดวันผ่าตัด

5. การรักษาด้วยการใส่เหล็กจะต้องใส่นานแค่ไหน
ตอบ  แต่ละคนมีระยะเวลาเท่ากันหรือไม่ เราจะพิจารณาตามอายุ แต่ละคนมระยะเท่ากันหรือไม่ ถ้าเป็นผู้ป่วยเด็กกระดูกติดเร็ว ก็อาจจะเอาออกได้เร็วกว่า ถ้าในผู้ใหญ่กระดูกติดช้า เราก็จะต้องรอให้กระดูกติดและแข็งแรงดี ส่วนใหญ่จะประมาณ 1- 1 ½  ปี


6. การดูแลสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดดามโลหะ
ตอบ หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดใหม่จะต้องระวังเรื่องแผลไม่ให้มีการติดเชื้อ ดูแลแผลไม่ให้ถูกน้ำ หรือของสกปรก บางทีเราอาจจะต้องใส่เฝือกช่วย เพื่อให้กระดูกติดได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าเราใส่โลหะแล้ บางทีเราจะขยับข้อแขนได้ไม่เต็มที่ เพราะกระดูกไม่ติดเราจึงต้องใส่เฝือกช่วย ปัญหาของกระดูกต้นขา บางทีเราจะต้องลงน้ำหนักในระหว่างที่เราดามกระดูกด้วยโลหะแล้ว เราจะต้องรอจนกระทั่งกระดูกเริ่มติด เราจะลงน้ำหนักได้ หรือถ้าเป็นใหม่ ๆ เราจะไม่ลงน้ำหนักเลย จนกว่าแพทย์จะสั่งว่า กระดูกติดดีแล้ว แข็งแรง จนสามารถลงน้ำหนักได้บางส่วนเป็นต้น ที่สำคัญจะต้องฟังคำฟังของแพทย์อย่างเคร่งคัด ข้อห้ามที่สำคัญมาก ก็คือ กิจกรรมใด ๆ ที่จะทำให้โลหะที่เราดามไว้หัก เช่น การไปลงน้ำหนักก่อนเวลาอันควร ไปขับรถมอเตอร์ไซค์ อาจจะทำให้รถมอเตอร์ไซค์ล้ม กระดูกหักซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งจะทำการรักษาได้ยากและมีปัญหายุ่งยากตามมา

7. กลุ่มผู้ป่วยที่พบบ่อยว่าจะมีปัญหากระดูกหัก
ตอบ   ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีกิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะที่พบบ่อย คืออุบัติเหตุของมอเตอร์ไซค์ เป็นอันดับ 1 นอกจากนั้นจะเป็นกลุ่มของนักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ค่อนข้างจะอันตราย เช่น เทคอนโด มวย ยูโด หรือบาสเก็ตบอล ซ้ำนักกีฬากลุ่มนี้เมื่อล้มจะทำให้กระดูกหักโดยง่าย

8. จะต้องรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ร่วมอีกหรือไม่
ตอบ หลังจากที่ทำการผ่าตัดแล้ว ปัญหาของการผ่าตัดก็ยังคงมีอยู่ เช่น ปัญหากล้ามเนื้อลีบหรือติดยึด เพราะฉะนั้นการรักษาที่สำคัญในระหว่างที่กระดูกยังไม่ติดก็จะต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยจะต้องมีนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูมาเกี่ยวข้องด้วยในการที่จะทำให้คนไข้ได้ออกกำลังกายในส่วนที่อาจจะลีบหรือมีข้อติดยึด เพื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงและติดเร็วขึ้น
9. หลังจากที่ได้รับการรักษาแล้ว สามารถจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติหรือไม่
ตอบ ผู้ป่วยก็สามารถยกแขนขาได้พอสมควร ในระยะเมื่อเราดามโลหะได้และแข็งแรงดี ผู้ป่วยก็สามารถขยับแขนขาได้ตามปกติ แต่มีข้อยกเว้นว่าอย่าลงน้ำหนัก หรือไปทำงานที่ต้องใช้แรงของกล้ามเนื้อมาก ส่วนใหญ่ หลังจากที่ทำการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 2 เดือน ก็จะใช้งานได้เกือบปกติ ยกเว้นกระดูกต้นขาหรือหน้าแข้ง ต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ในการที่กระดูกแข็งแรงพอที่จะยืนเดินได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า แต่จะแข็งแรง 100% ก็ประมาณ 1 ปี – 1 1/12   ซึ่งในระยะแรก ๆ หลังจากผ่าตัดใหม่ ๆ จะต้องมาพบแพทย์ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่พอผ่านไปประมาณ 1-2-3 เดือน แพทย์จะนัดห่างขึ้นไปเรื่อย ๆ 

10. ถ้าผู้ป่วยไม่ต้องการเอาโลหะออกจะมีอันตรายหรือไม่
ตอบ   ส่วนใหญ่โลหะที่ดามไม่มีอันตรายใด ๆ แต่โลหะบางตำแหน่งที่เราใส่ไว้ เช่น หัวไหล่ที่เป็นเหล็กแหลม ซึ่งอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปที่อื่นได้เช่น เหล็กเคลื่อนเข้าไปในปอดหรือช่องท้องไปทำอันตราย ส่วนโลหะที่ดามไว้ลึก ๆ เช่น เบ้าข้อสะโพกหรือกระดูกสันหลังเรามักจะไม่ไปเอาออก

11. ปัญหาที่พบในการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกดามโลหะ
ตอบ ปัญหาที่สำคัญ คือ การติดเชื้อซึ่งมีโอกาสประมาณ 1% ถ้าติดเชื้ออาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงกระดูก เป็นหนอง จะรักษาได้ยากและใช้เวลานาน นอกจากนั้น อาจจะพบปัญหาการนูนออกมาของโลหะ ในกรณีนี้ก็จะต้องนำโลหะออก ปัญหาบางประการเช่น ผู้ป่วยบางคนอยู่ในห้องเย็น ๆ ห้องแอร์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการปวดได้

12. ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารกลุ่มใดเป็นพิเศษ
ตอบ อาหารบำรุงกระดูกส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงแคลเซียม แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่าไม่ต้องบำรุงอะไรมาก ถ้าเรารับประทานอาหารที่ดี ครบทั้ง 5 หมู่ ก็จะทำให้เกิดการหายของกระดูกโดยง่าย ถ้าไม่มีปัญหาการติดเชื้อ ไม่มีกระดูกหักละเอียด กระดูกก็ติดได้โดยง่าย ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าโรคอื่น ๆ

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด