การดูแลสุขภาพจิตสำหรับญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
อนัญญา ตรีวิสูตร
นักจิตวิทยาคลินิก
คลินิกสูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมมีความซับซ้อนของโรคและพฤติกรรมที่แตกต่างกันของแต่ละผู้ป่วยผู้ดูแลต้องคอยดู แลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยไม่เกิดอาการเจ็บป่วยเพิ่มเติมและระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันความเครียดในผู้ดูแลผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่มักจะลืมใส่ใจสุขภาพของตัวเองรวมถึงปัญหาความเครียดจากพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยน แปลงไปในการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในระยะยาวฉะนั้นนอกจากจะให้ความสำคัญในด้านการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะสมองเสื่อมแล้วการส่งเสริมดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ดูแลก็สำคัญเช่นกัน
วันนี้ทางคลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำความรู้ การดูแลสุขภาพจิตสำหรับญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมาฝากกันค่ะ
การรับบทบาทหน้าที่เป็นญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากต้องดูแลมากกว่า ผู้สูงอายุทั่วไปหากจำนวนคนดูแลภายในครอบครัวไม่เพียงพอในการหมุนเวียนดูแลและเป็นหน้าที่คนใดคนนึงในครอบ ครัวอาจส่งผลต่อความเครียดต่อผู้ดูแลได้ซึ่งผู้ดูแลต้องให้การดูแลทางด้านร่างกายจิตใจและความต้องการในชีวิตประจำ วันระวังอุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อมทั่วไปหากมีเหตุกการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้จะเกิดความยากลำบากและความเครียด กับผู้ดูแลได้เช่นกัน
รู้เท่าทันสาเหตุ /ผลกระทบ ความเครียดของญาติผู้ดูแล
- ความพร้อมในการดูแล เช่น ไม่มีความเข้าใจบทบาทในการดูแลและข้อมูลสุขภาพเกิดความเครียดระหว่างการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อม
- ความเครียดจากกิจกรรมการดูแล เช่น ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์อาจ ก่อให้เกิดความเครียดต่อผู้ดูแล
- ผู้ดูแลไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ในการดูแล เช่น ไม่ทราบความต้องการของผู้สูงอายุกิจกรรมที่ต้องยกเว้นจากการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุที่ไม่สามารถคาดเดาได้
แนวทางดูแลสุขภาพจิตญาติผู้ดูแล
- ศึกษาความรู้และเข้าใจ ถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้สูงอายุอาการหลงลืมมากขึ้นเพื่อลดความกังวลในการดูแลรวมถึงจัดสภาพ แวดล้อมภายในบ้านให้เอื้อต่อการดูแลและไม่เกิดอันตรายลดการหาสาเหตุและโทษตัวเองเมื่อพฤติกรรม ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือรุนแรงมากขึ้นควรนำข้อมูลไปปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- สำรวจสภาพจิตใจ ความรู้สึกของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ความเครียดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความไม่สบายกาย ความคับข้องใจ รู้สึกเบื่อๆ ไม่อยากทำอะไร กินอาหารน้อยลงหรือกินมากขึ้นกว่าเดิม นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากกว่าปกติ อาจจะส่งผลต่อร่างกาย หรือจิตใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรจัดสรรเวลาหยุดพักสลับเปลี่ยนผู้ดูแลแทนหากมีโอกาส และทำกิจกกรมผ่อนคลายที่ชอบ
- จัดการผ่อนคลายความเครียด ผ่านกิจกรรมที่ชอบ การจัดสรรเวลาเพื่อผ่อนคลายความเครียด หรือ หยุดพักเป็นสิ่งที่สำคัญกับผู้ดูแล หากไม่สามารถจัดการความเครียดได้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาว และส่งผลกระทบด้านอื่นๆตามมา เช่น ฟังเพลง หากลิ่นหอมผ่อนคลายที่ชอบ เต้นรำ ร้องเพลง ออกกำลังกาย หรือใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ Progressive Muscle Relaxation (PMR) เป็นเทคนิคที่ใช้การเกร็งกล้ามเนื้อ ในแต่ละส่วนของร่างกายจะให้เกร็งจุดละ 10 วินาที และผ่อนคลายจุดละ 20 วินาที เพื่อผ่อนคลายอารมณ์
- ดูแลสุขภาพร่างกาย หมั่นออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากหากเกิดอาการเจ็บป่วย จะยิ่งส่งผลต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุ
- บันทึกปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ ขอคำปรึกษาแนะนำ ผู้ดูแลบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้น ขอคำปรึกษาในกลุ่มสนับสนุนผู้ดูแล เพื่อพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือ พบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา
แนะนำเพิ่มเติม
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความเฉพาะเจาะจง การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและการดูแล สามารถเป็นแนวทางให้ญาติผู้ดูแลมีความพร้อม ลดความเครียดความกังวลที่จะเกิดขึ้น ผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมที่เหมาะสมในการผ่อนคลายความเครียดของตัวเองได้ จะยิ่งช่วยให้ดูแลผู้สูงอายุได้เต็มที่และมีสุขภาพกายและใจดีขึ้น
ข้อมูลส่วนนึงจาก
- สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เทคนิคการผ่อนคลายตัวเองของผู้ดูแล (2553)
- สุมณฑา มั่งมี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูล ความพร้อมในการดูแล และความสามารถในการคาดการณ์ในการดูแล กับความเครียดจากกิจกรรมการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม.
(วิทยานิพนธ์ปริญญษพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลสูงอายุ). มหาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ