เอดส์

เอดส์

รศ.นพ.อนุวัตร รุ่งพิสุทธิพงษ์
ภาควิชาสูติศาสตร์-นีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

1. การติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทย มีแน้วโน้มลดลง แต่ตัวเลขยังไม่ทราบชัด ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์แล้วนั้น มีอัตราลดลงอย่างชัดเจนประมาณ 20%

2. สาเหตุการเกิดโรคเอดส์
               2.1 เพศสัมพันธ์ ชาย - หญิง หรือ ชาย - ชาย
               2.2 การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
               2.3 การได้รับเชื้อจากการให้เลือด
               2.4 การผ่านเชื้อจากมารดาสู่ทารก ระหว่างหรือหลังคลอด
               2.5 ไม่ทราบสาเหตุ

3. ทำอย่างไรจะทราบว่าติดเชื้อไวรัสเอดส์
               3.1 กรณีที่ไม่มีอาการ ต้องตรวจเลือดเพื่อหาภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสเอดส์
                    3.3.1 ELISA, PA
                    3.1.2 Western Blot
                3.2 กรณีที่มีอาการ หรืออาการแสดงก็ช่วยในการวินิจฉัยเช่น ต่อมน้ำเหลือง โต น้ำหนักลด แต่อย่างไรก็ตามต้องตรวจเลือดยืนยันดังที่กล่าวมาแล้วด้วย
    
4. เมื่อได้รับเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีอาการผิดปกติหรือไม่ ไม่มีอาการ อะไรเลย หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัดเล็กน้อยแล้วก็หายไป แล้วเข้าสู่ระยะฟักตัวของ โรคประมาณ 3 เดือน จึงตรวจพบว่าเลือดบวก
   
 5. สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสในระยะแรกจะยังไม่มีอาการผิดปกติอะไร แต่ถ้ามี อาการ แล้วแสดงว่าเป็นระยะหลัง ๆ ของโรค จะมีอาการน้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง เป็น ไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ในกรณีที่เป็นเอดส์เต็มขั้นผู้ป่วยจะมีโรคติดเชื้อที่ปอด เป็น มะเร็งของผิวหนัง หรือติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย

6.วิธีการช่วยเหลือเพื่อชลออาการของโรคให้เกิดช้า ๆ คือ พยายามรักษาสภาพ ร่างกายให้ดีเป็นปกติอยู่เสมอ ไม่ติดเชื้อทางเดินหายใจหรืออื่น ๆ สุขอนามัยทั่วไปดี จิต ใจเบิกบาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่สำส่อนทางเพศ การใช้ยาต้านไวรัส ตามทฤษฎีแล้ว จะลดปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือดผู้ป่วย ซึ่งมีผล ทำให้มีอาการของโรคช้าลง

7. ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการรักษาโรคเอดส์เพิ่มขึ้นมาก
               7.1 ยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์
                    7.1.1 เดิมมีกลุ่มเดียว คือ AZT ที่ใช้กันแพร่หลาย
                    7.1.2 ยาใหม่ในกลุ่ม Protease inhibitor
               7.2 วิธีการต่าง ๆ
                    7.2.1 การใช้ Immunoglobulin
                    7.2.2 การใช้ยาสวนล้างช่องคลอดของสตรีตั้งครรภ์เพื่อลดการติดเชื้อ ในทารก
                    7.2.3 วัคซีน
8. กรณีมารดาตั้งครรภ์ ทารกจะติดเชื้อได้ประมาณ 25% วิธีการป้องกันไม่ให้ ทารกติดเชื้อ
               8.1 ก่อนคลอดให้ยา AZT ในสตรีตั้งครรภ์
               8.2 ระหว่างการคลอด หลีกเลี่ยงการคลอดที่ใช้เครื่องมือช่วยคลอดหรือ การกระทำที่อาจจะเกิดแผลในช่องคลอด หรือศีรษะทารก มีผู้ศึกษาพบว่าการผ่าคลอด ช่วยลดอัตราการติดเชื้อในทารกด้วย
               8.3 หลังคลอดมารดาต้องไม่เลี้ยงทารกด้วยนมตัวเอง
    
9. การสัมผัสหรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วยนั้นไม่ทำให้ติดเชื้อแต่อย่างใด ยกเว้น การสัมผัสทางเลือดหรือตกขาวจากช่องคลอดของผู้ป่วย แพทย์ตรวจครรภ์เป็นประจำก็ ไม่ติดเชื้อ, จูบกันก็ไม่ติดเชื้อ

10. วิธีการป้องกันการระบาดของเชื้อเอดส์
               10.1 หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่สมรส การใช้ถุงยาง อนามัย
               10.2 ไม่มั่วเข็ม หลีกเลี่ยงยาเสพติด
               10.3 ต้องมีการเช็คเลือดทุกถุงก่อนให้ผู้ป่วยว่าปลอดเอดส์ (สภากาชาด ไทยทำอยู่แล้ว)
               10.4 การใช้ AZT ในสตรีตั้งครรภ์เพื่อลดการผ่านเชื้อจากมารดาสู่ทารก

11. คำแนะนำอย่าเพิ่งสิ้นหวังกับโรคเอดส์ โรคเอดส์เป็นโรคติดเชื้อไว้รัสชนิดหนึ่ง ป้องกันได้ และปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์กำลังพัฒนายารักษา อย่างเต็มที่

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด