ผิวหนังอักเสบบริเวณริมฝีปาก และ มุมปาก (Chelitis, Perleche)

ผิวหนังอักเสบบริเวณริมฝีปาก และ มุมปาก

(Chelitis, Perleche)

                                                             ศ.พญ.วรัญญา  บุญชัย

                                    สาขาวิชาตจอาชีวเวชศาสตร์และผื่นแพ้สัมผัส

ภาควิชาตจวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

                                                           

            ผิวหนังอักเสบบริเวณริมฝีปาก และ มุมปาก  มีลักษณะเป็นผื่นผิวหนังอักเสบในบริเวณริมฝีปาก หรือมุมปากเปื่อย มีอาการริมฝีปาก แตก แห้ง เป็นร่องแสบ บางครั้งถ้าเป็นมาก  มีอาการบวม  ตกสะเก็ดร่วมด้วยได้ 

สาเหตุการเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณริมฝีปาก และ มุมปาก
          -
ขาดวิตามิน บี
          -
ติดเชื้อยีสต์
          -
ภูมิแพ้ผิวหนัง (
atopic dermatitis)
          -
รับประทานยาแก้สิวบางประเภท ทำให้ปากแห้ง
          -
ผู้ที่ติดนิสัยชอบแกะ เลียริมฝีปาก
          -
เสียดสีโดย
dental floss
          -
เกิดจากการแพ้สารที่มาสัมผัสกับบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นจากสารก่อการระคายเคือง หรือเป็นจากภูมิแพ้สัมผัสจากสารต้นเหตุต่างๆ

สารต้นเหตุที่ทำให้เกิดการแพ้ที่ริมฝีปาก ได้แก่
          -
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปาก ฟัน เช่น น้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สารกันเสียในยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น
          -
ลิปสติก เช่น ผสมสารให้รสชาด  (flavoring agents)  สารกันเสีย  สี
          -
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเล็บ ในผู้ป่วยบางรายที่มีนิสัยชอบกัดเล็บอาจแพ้ สาร formaldehyde resin ในน้ำยาทาเล็บ, น้ำยาทำให้เล็บแข็ง สาร Acrylate ในเล็บปลอม
          -
อาหาร เช่น แครอท มะม่วง เปลือกส้ม กาแฟ เมนทอล
          -
โลหะ
Nickel ในผู้ป่วยบางรายที่แพ้โลหะนี้ และมีนิสัยชอบอม กิ๊บโลหะ ปลายปากกา ปลอกลิปสติก
          -
ยาง  ในผู้ป่วยบางรายที่แพ้ยางและมีนิสัยชอบอม หรือเคี้ยว ยางลบ หนังยาง เป็นต้น
          -
น้ำลาย ประกอบไปด้วยน้ำย่อยหลายประเภท  ก่อให้เกิดผื่นระคายเคืองได้ เช่น ในผู้ที่ชอบเคี้ยวหมากฝรั่ง  สูบบุหรี่  ผู้ที่ติดนิสัยเลียริมฝาก  ผู้ที่ใช้ฟันปลอมที่ไม่พอดี

วิธีปฏิบัติตัว
 
           - หลีกเลี่ยงการแกะ เลียริมฝีปาก
            - หมั่นทาขึ้ผึ้งวาสลินบ่อยๆ
            - หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นต้นเหตุของผื่น
            - สังเกตุว่าสารต้นเหตุของผื่นคืออะไร เช่นสารสัมผัสจากของใช้ อาหาร เป็นต้น
            - หากเป็นซ้ำๆ หรือเรื้อรัง ควรมารับทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยวิธีปิดสารทดสอบบนผิวหนัง (Patch test) โดยชุดทดสอบจำเพาะต่อโรคริมฝีปากอักเสบ และกรุณานำสารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุมาทำทดสอบด้วย


เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด