ไข้เลือดออก ป้องกันได้

ไข้เลือดออก  ป้องกันได้

 

รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ

ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

            เห็นน้ำขังทีไร นึกถึงเจ้ายุงลาย ที่หลายคนป่วยเป็นไข้เลือดออก

              ไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน   เชื้อไวรัสนี้จะอาศัยอยู่บริเวณผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง  เมื่อยุงไปกัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายคน  โดยเชื้อไวรัสเดงกี่มีอยู่  4  สายพันธุ์ หากผู้ป่วยได้รับเชื้อายพันธุ์ใ ก็จะมีภูมิคุ้กันเพาะสายพันธุ์นั้น ซึ่าจมีโอกาสเป็นไข้เลือออกจากเชื้อไวรัสเดงกี่สายพันธุ์อื่นด้อี

              โดยทั่วไปผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่   จะมีอาการไม่มาก การดูแลตนเองในระยะแรก   จะเป็นการติดตามอาการ  ผู้ป่วยควรดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ให้พอ  โดยสังเกตสีของปัสสาวะจะต้องเป็นสีเหลืองอ่อน หากเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าร่างกายยังขาดน้ำ  และรับประทานยาลดไข้  โดยใช้ยาพาราเซตามอลตามขนาดที่แพทย์สั่ง ห้ามรับประทานเกินขนาด เพราะอาจเป็นสาเหตุของตับอักเสบจากยาได้  รวมทั้งห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้นและมากขึ้นด้วย

              ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไข้เฉียบพลัน  ซึ่งอาจสูงถึง 39 - 40 องศาเซลเซียส ภายใน  2 – 7 วัน หลังจากได้รับเชื้อเข้าไป  แม้จะรับประทานยาลดไข้แล้ว  ไข้ก็อาจไม่ลดได้  และมักมีอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง ในรายที่มีเกล็ดเลือดต่ำ อาจเห็นจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง เนื่องจากมีเลือดออกที่ผิวหนัง บางคนมีเลือดกำเดาไหล ซึ่งมักเกิดขึ้นภายหลัง 2 - 3 วันหลังจากอาการไข้ขึ้นสูง  และอาจมีอาการปวดท้อง เนื่องจากตับในช่องท้องโตขึ้น   นอกจากนี้บางรายอาจมีเลือดออกจากกระเพาะอาหาร อาเจียนมีเลือดปน หรือถ่ายดำ มือเท้าเย็น  ชีพจรเต้นเบาและเร็ว เนื่องจากความดันเลือดต่ำ อาการนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง ซึ่งต้องได้รับการรักษาทันท่วงที  หากตรวจพบว่า เลือดข้นขึ้น เกล็ดเลือดลดต่ำลง จะต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดและเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด 

              ปัจจุบันสามารถนำการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ในบางกรณี เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด และจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการรักษา 

แต่การดูแลสุขภาพก่อนป่วยย่อมดีกว่า  โดยไม่ให้ยุงลายมากัด  ด้วยการนอนในมุ้ง  และถ้าต้องทำงานอยู่ในที่ที่มียุง ให้ใช้ยาทากันยุง รวมถึงการดูแลบริเวณบ้าน เช่น ปิดฝาตุ่มน้ำ ใส่ทรายอเบทที่น้ำหล่อขาตู้กับข้าว เลี้ยงปลาสำหรับกินลูกน้ำยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูง และคว่ำภาชนะที่อาจมีน้ำขัง  เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่ให้วางไข่  

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด