จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปี 2564 “CEE.EO”

จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพ

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปี 2564

CEE.EO (C-E-E-EO)”

Communication : การสื่อสาร

  • ใช้ ISBAR (Identify-Situation-Background-Assessment-Recommendation) ในการสื่อสารและส่งต่อ/ถ่ายทอดข้อมูล เพื่อสร้างความปลอดภัย ลดรอยต่อระหว่างบุคคล ทีม และหน่วยงาน

Engagement : การสร้างความผูกพัน

  • สร้างและเรียนรู้จาก Patient & customer experience : วิเคราะห์และใช้ข้อมูลของผู้ใช้บริการเพื่อการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในการส่งมอบผลงานที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง
  • เสริมสร้าง Healthy workplace : สร้างเสริมสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานและการบริการที่ดี เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตการทำงาน และทำให้เกิดสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากร

Environment :

  • สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการ 3R (Reduce ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานที่ไม่จำเป็น Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่)

Excellence Organization : องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ประกอบด้วย

  • High Reliability Organization (HRO) : องค์กรที่น่าไว้วางใจ
  • สร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมในการทำงาน No harm, No blame, No shame
  • สร้างความตระหนักรู้ของบุคลากร (Situation awareness) และมีการประเมินความเสี่ยง เพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุก (Proactive Risk Management)
  • วิเคราะห์รากปัญหา (Root cause analysis : RCA, Failure Mode and Effect analysis : FMEA) เพื่อออกแบบ/พัฒนากระบวนการทำงาน/ระบบงาน ให้ป้องกันความผิดพลาดโดยคำนึงถึงมนุษยปัจจัย (Human factors)
  • ใช้เครื่องมือ Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) : สร้างแนวปฏิบัติเพื่อการดูแลผู้ป่วยให้เกิดความปลอดภัยเชิงรุกด้วยการกำหนดสัญญาณเตือนแต่เนิ่นๆ (Modified Early Warning Signs : MEWS)
  • บริหารความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยด้าน Siriraj 2P Safety Goals (ประกาศโรงพยาบาล)
  • High Performance Organization (HPO) : องค์กรที่มีสมรรถนะสูง
  • ใช้เกณฑ์ Thailand Quality Award (TQA) และสู่การปฏิบัติด้วย Siriraj Implement Model for TQA (SiIM-TQA) เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการของคณะฯ และภาควิชา/สถาน/ศูนย์/โรงเรียน
  • ใช้เครื่องมือ Siriraj Clinical Tracer Plus (SiCT Plus) : ตามรอยผู้ป่วยสู่การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรค/หัตถการอย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ องค์รวม ปลอดภัย และคุณภาพเป็นเลิศ
  • ปรับปรุงและสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องมือคุณภาพ PDCA, Lean, R2R & Innovation
  • Organization Intelligence (OI) : องค์กรอัจฉริยะ
  • ใช้ Siriraj Link-Share-Learn (Siriraj Knowledge management strategy) เพื่อดึงอัจฉริยภาพของบุคลากรให้เกิดการสร้าง Knowledge asset โดยมีการถ่ายโอน แบ่งปัน สร้าง จัดเก็บ ความรู้ให้พร้อมใช้ในคณะฯ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงาน สร้างนวัตกรรมในการทำงานประจำ และพัฒนาคน มีการขยายผลการใช้ความรู้นั้นในการทำงานประจำ (Organization Learning : OL) เกิดการยกระดับคุณภาพทั้งระดับบุคคล หน่วยงาน และทั้งคณะฯ ส่งเสริมให้คณะฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization : LO)

 

เอกสารแนบ :

1. จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพและนิยามที่เกี่ยวข้อง ประจำปี 2564 

2. ตัวชี้วัด จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพ ประจำปี 2564 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด ดาวน์โหลด