การประชุมวิชาการคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 6/2565 เรื่อง KM Tools... KM Cool จัดการความรู้ให้สนุก และสุขกับงาน
การประชุมวิชาการคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 6/2565
เรื่อง “KM Tools... KM Cool จัดการความรู้ให้สนุก และสุขกับงาน”
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 - 15.00 น.
ถ่ายทอดสด ด้วยสัญญาณภาพและเสียง ผ่านระบบเน็ตเวิร์ค SIBN ณ ห้องประชุม 202 อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 2
วิทยากร
ทีม KM ภาควิชาศัลยศาสตร์
1. รศ. น.ต. นพ.คามิน ชินศักดิ์ชัย รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ ฝ่ายบริหารและธุรการ
2. คุณชัชฎา บุญญศาสตร์พันธุ์ เลขานุการภาควิชาศัลยศาสตร์
ทีม Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) by MEWS in elective surgery adult hospitalized patient with DVT of lower extremity Guideline
1. รศ. ดร. นพ.ณัฐวุฒิ เสริมสาธนสวัสดิ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
2. พว.ทัศนีย์ อินทรสมใจ ผู้ตรวจการพยาบาล งานการพยาบาลศัลยศาสตร์ และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
3. พว.ปภัสสรา มุกดาประวัติ หัวหน้าหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ 3 สามัญ งานการพยาบาลศัลยศาสตร์ และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
ผู้ดาเนินการอภิปราย พว.นันทพร พ่วงแก้ว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ และหัวหน้างานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
สรุปประเด็นในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
พว.นันทพร พ่วงแก้ว อธิบายความหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ว่าคือการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายภายในองค์กรมาจัดเก็บให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้นั้นๆ และนาไปพัฒนาตนเอง รวมถึงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย KM ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) คน แหล่งความรู้ที่สาคัญที่สุด เนื่องจากแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญ ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่สั่งสมมาแตกต่างกัน 2) กระบวนการ คือการดึงความรู้จากแหล่งต่างๆ ออกมาจัดเก็บเป็นความรู้ขององค์กร เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนา และ 3) เทคโนโลยี องค์ประกอบที่ทาให้สามารถนาความรู้มาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทันเวลา กระบวนการทา KM แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ซึ่งสามารถสรุปให้เห็นเป็น 3 กระบวนการใหญ่ๆ ได้แก่ สร้าง ถ่ายทอด และนาไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ หัวใจสาคัญในการทา KM คือ ต้องเปิดใจ มีความไว้วางใจกันในทีม ทางานร่วมกันอย่างกัลยาณมิตร ที่จะนามาซึ่งการแบ่งปันวิสัยทัศน์และความรู้ รวมถึงเกิดการแบ่งงานเป็นทีมอย่างเกื้อกูลและไม่ก้าวก่าย ผู้นาต้องเห็นความสาคัญ และผลักดันให้เกิดการต่อยอด/ยกย่อง/ เชิดชู เพื่อให้บุคลากรมีกาลังใจ รวมถึงยังต้องมองเชิงระบบ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน นาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ดังที่คณะฯ กาหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์คณะฯ พ.ศ. 2563-2567 ในยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมฐานความยั่งยืน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เอกสารแนบ