“Next Normal Hospital ในภาวะวิกฤติ COVID-19” NF ครั้งที่ 21

การประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum 21th   “Enhancing trust in Healthcare”

เรื่อง :   Next Normal Hospital ในภาวะวิกฤติ COVID-19

วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 08.30- 10.00 น.

วิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ :     

  1. นพ.ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ        ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์

  2. ผศ. พญ.สว่างจิต สุรอมรกูล     หัวหน้าสาขาวิชาต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

  3. นพ.สิชน ลือฤทธิพงษ์             หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนคุณค่าการบริการ โรงพยาบาลศิริราช

ผู้ดำเนินการอภิปราย :

          รศ. นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ       รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช

วัตถุประสงค์ :      แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับระบบการให้บริการอย่างเร่งด่วน ในภาวะวิกฤติ COVID-19 และทิศทางในอนาคต

          เมื่อมีภาวะวิกฤต COVID-19 เข้ามา หลายๆ หน่วยงานมีการปรับตัวในระยะสั้น/ยาวเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้

นพ.ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ กล่าวถึงการพัฒนาระบบ IT เป็นสำคัญ โดยการพัฒนา Department of Medical Services (DMS) Telemedicine แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 (ปี 2561) - ระยะที่ 2 (ปี 2562) จองคิวนัดหมายล่วงหน้า ตรวจสอบสิทธิ์การรักษาผ่าน Kiosk การนำทางภายใน รพ. ผ่านมือถือ และการพัฒนา Telehealth (ระบบให้คำปรึกษาทางไกล) พัฒนา Artificial Intelligence (AI) เพื่อใช้ในการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

ระยะที่ 3 (ปี 2563) เป็นช่วงที่ COVID-19 เริ่มระบาด กรมการแพทย์โดยสถาบันประสาทวิทยา รพ.ราชวิถี และสถาบันโรคผิวหนัง ร่วมกันพัฒนา Telemedicine VDO call (ระบบบริการการแพทย์ทางไกล) โดยผู้ป่วยเรื้อรังสามารถรับการรักษาที่บ้านได้ ลดความแออัด ต่อมาได้พัฒนาระบบ DMS Telemedicine Mobile application มีระบบ Telepharmacy (การให้คำแนะนำการใช้ยาจากเภสัชกร) ส่งยาทางไปรษณีย์ ระบบคัดกรองผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อผ่านระบบ telemedicine ซึ่งระบบนี้สามารถส่งทะเบียนสุขภาพส่วนบุคคลของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลผู้ป่วยกับ รพ. สังกัดใน กทม. ได้

ระยะที่ 4 (ปี 2564) มีการบูรณาการใบยินยอม และสร้างระบบตรวจสอบความยินยอมจากฐานข้อมูลกลาง ภายในเครือข่าย (สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาได้ใน รพ. ที่เป็นสมาชิก) และพัฒนา DMS Telemedicine ให้สามารถทำ teleconsultation สนับสนุนโครงการ Cancer Anywhere (มะเร็งรักษาทุกที่ที่พร้อม) เช่น การส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งตามโครงการ Cancer Anywhere ร่วมกับ สปสช. และพัฒนาระบบนัด The one program ที่ใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Cancer Anywhere

ติดตามเนื้อหาได้จากเอกสารแนบ

  

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด