ภาวะ Dissociative จากเคตามีน

พิษวิทยา: ภาวะ Dissociative จากเคตามีน
.
เคตามีน (ketamine) เป็นยาสลบที่ใช้ในทางวิสัญญีแพทย์อย่างแพร่หลาย แต่ถูกนำมาใช้เป็นสารเสพติดเพื่อการผ่อนคลายจนเกิดเป็นปัญหาในหลายพื้นที่
.
โดยผลกระทบต่อสุขภาพเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1. กรณีที่บริหารยาทางหลอดเลือดดำเกินขนาด จะทำให้กดการหายใจและหมดสติเป็นเวลานาน
2. กรณีที่ตั้งใจเสพเพื่อการผ่อนคลาย จะเกิดอาการซึม เวียนศีรษะ ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตสูง อาการปวดมวนท้อง ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
.
Dissociative คือ ความรู้สึกแยกตัวออกจากสิ่งแวดล้อมและออกจากร่างกายของตนเอง ซึ่งเป็นการบิดเบือนความรู้สึกทางการมองเห็น การได้ยินเสียงและสัมผัส เช่น มีภาวะหูแว่ว มีความรู้สึกว่าตนเองล่องลอยในอากาศ การมองเห็นภาพเป็นหลายสี โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ไม่เคลื่อนไหว แต่ลืมตาทั้งสองข้างแบบจ้องค้าง ทำให้ผู้เสพสารกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “นักเดินทางทางจิต (psychonaut)”
.
การเสพเคตามีนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการจิตเภทเฉียบพลัน เช่น เกิดอาการสับสน กระวนกระวาย หวาดระแวง และอาจเกิดผลแทรกซ้อนระยะเรื้อรังที่ส่งกระทบต่อระบบไต ทางเดินปัสสาวะ ระบบตับ และทางเดินน้ำดีที่อาจกลายเป็นความผิดปกติแบบถาวรได้
.
ศูนย์พิษวิทยาศิริราชให้บริการด้านพิษวิทยาทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โทร 0 2419 7007 กด 2 (หน่วยงานภายในรพ.ศิริราช โทร 97007 กด 2)
.
#ศูนย์พิษวิทยา #ศูนย์พิษวิทยาศิริราช
#SirirajPoisonControlCenter
#SIPCC #Siriraj

เอกสารอ้างอิง:

สัมมน โฉมฉาย. สารเสพเพื่อผ่อนคลายกลุ่มเคตามีน (Ketamine and related compounds). ใน: สัมมน โฉมฉาย, จุฬธิดา โฉมฉาย, บรรณาธิการ. ภาวะพิษจากสารเสพเพื่อผ่อนคลายในวัยรุ่นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช; 2560. หน้า 253-63.