ทำอย่างไร เมื่อปรอทแตก?

ทำอย่างไร เมื่อปรอทแตก?
.
โลหะปรอท (elemental mercury) มีสถานะเป็นของเหลวที่สามารถกลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิห้อง หากมีการสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดพิษจากไอปรอทได้ ปัจจุบัน เรายังพบเห็นปรอทชนิดนี้ได้บ้าง เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต
.
ข้อแนะนำในการปฏิบัติเมื่อเกิดปรอทแตกหรือรั่วไหล
1. เปิดประตู, หน้าต่าง, หรือพัดลมระบายอากาศที่เปิดออกสู่นอกอาคาร แต่ให้ปิดประตู, หน้าต่าง, หรือพัดลมระบายอากาศ และเครื่องปรับอากาศที่ถ่ายเทอากาศจากบริเวณที่ปนเปื้อนไปสู่พื้นที่อื่นภายในอาคาร และกันแยกพื้นที่เพื่อไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
2. ปิดไฟบริเวณที่มีการทำปรอทแตก แล้วใช้ไฟฉายส่องดู จะเห็นแสงสะท้อนของปรอทที่กระทบกับหลอดไฟ
3. ใช้คีมเก็บเศษแก้วด้วยความระมัดระวัง ใส่ภาชนะที่กันการทิ่มแทง ปิดฝาให้มิดชิด แล้วใช้กระดาษแข็งเขี่ยหยดปรอทให้รวมกัน
4. โรยผงกำมะถัน ผงสังกะสี แคลเซียมซัลไฟด์ หรือโซเดียมไทโอซัลเฟต (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ลงในหยดปรอทหรือบริเวณอื่นๆ ที่ปนเปื้อน สำหรับพื้นที่ที่เป็นรอยต่อให้โรยมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไอระเหยและทิ้งไว้ 30 นาที
5. ใช้กระดาษแข็ง ค่อยๆโกยปรอทที่ผสมกับผงสารเคมีทั้งหมดลงในขวดพลาสติกปากกว้างที่มีฝาปิดสนิท เขียนป้ายกำกับชัดเจนว่า “ของเสียที่มีปรอทปนเปื้อน” แล้วนำส่งทิ้งเป็นขยะประเภทขยะอันตราย
6. ห้ามใช้ไม้กวาด, เครื่องดูดฝุ่น ในการเก็บปรอทโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ไอของปรอทกระจายได้มากขึ้น
.
หากไม่มีผงกัมมะถัน สามารถใช้สก็อตเทปแปะเก็บปรอทที่ตกตามพื้นผิวได้ เก็บใส่ถุงหรือภาชนะปิด หากเป็นถุงให้ปิดปากด้วยสก็อตเทปให้แน่น ปรอทระเหยเป็นไอที่อุณหภูมิ 22-24 องศาเซบเซียสขึ้นไป
.
แนะนำให้ใส่ถุงมือยาง และหน้ากาก n95 ระหว่างที่เก็บ
.
ศูนย์พิษวิทยาศิริราชให้บริการด้านพิษวิทยาทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โทร 0 2419 7007 กด 2 (หน่วยงานภายในรพ.ศิริราช โทร 97007 กด 2)
.
#ศูนย์พิษวิทยา #ศูนย์พิษวิทยาศิริราช
#SirirajPoisonControlCenter
#SIPCC #Siriraj

เอกสารอ้างอิง : งานอาชีวอนามัย โรงพยาบาลศิริราช. แนวปฏิบัติกรณีปรอทหกปนเปื้อนในหน่งยงาน โรงพยาบาลศิริราช (Rev.01-2557) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 เม.ย. 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/km/cop/

clinical/medicationsafety/21750/