Powered by Flash Web Templates Designed by Website Template
ที่ตั้ง
 งานโภชนศาสตร์คลินิก
 อาคารโภชนาการ ชั้น 4
 โรงพยาบาลศิริราช
 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย
 กรุงเทพฯ 10700

 โทรศัพท์:

 02-419-7740-1 [สายตรง]
 97740-1 [ภายใน]
 โทรสาร:
 02-412-9841
 อีเมล์:  sisrrc@mahidol.ac.th



ทีมงานแพทย์ พยาบาล รุ่นใหม่:
อิฐ ปูน ทราย ที่ก่อร่างสร้างทีมโภชนบำบัดในโรงพยาบาลศิริราช

          งานโภชบำบัดเป็นงานที่เพิ่มจากงานปกติ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องลำบากแต่อย่างใด เพราะสำหรับแพทย์และพยาบาลแล้วประโยชน์ที่เกิดกับผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยที่ไม่เคยคิดว่าจะรอดออกไปได้ บัดนี้มีหนทางทำให้เป็นไปได้แล้ว ศัลยแพทย์และพยาบาลหนุ่มสาวไฟแรงหลายต่อหลายท่านอาสาเข้ามาช่วยอาจารย์โดยไม่ต้องขอร้องกัน คุณเรวดี ธีรธราธร, คุณศิริยา โชควิวัฒนวนิช, คุณสัตตพร ไพบูลย์, คุณอรุณรัศมี บุนนาค, คุณกีรดาไกรนุวัฒน์ และคุณส่งศรี แก้วถนอม เป็นพยาบาลที่ทำงานให้กับอาจารย์ทั้งในด้านการแพทย์การพยาบาล รวมถึงงานธุรการมาตลอด คุณตรีทิพย์ เวชชสัสถ์ นักกำหนดอาหาร ช่วยงานในด้านการประเมินโภชนาการและการดูแลการให้อาหารทางสายยาง

          สำหรับทีมแพทย์ที่เป็นแขนขาของอาจารย์ พ.ศ. 2528 นพ. ณรงค์  เลิศอรรฆยมณี ซึ่งเพิ่งกลับมาจาก สหราชอาณาจักรก็มาร่วมทีม โดยดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปเป็นหลัก และเป็นผู้ริเริ่มการใส่สายให้อาหารทางหลอดเลือดดำสำหรับใช้ระยะยาว (Hickman Catheter) นพ. พิภพ จิรภิญโญ  ผู้เชี่ยวชาญ Pediatric Clinical Nutrition จากภาควิชากุมารฯ ได้มาร่วมสร้างทีมโภชนบำบัดด้วย พญ. ปรียานุช แย้มวงษ์ ซึ่งเป็น Fellow Clinical Nutrition ของศ.นพ. วิชัย ตันไพจิตร คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และไปศึกษาต่อที่ประเทศ Australia กลับมาร่วมทีมและเป็นกำลังสำคัญที่ดูแลผู้ป่วยทางอายุรกรรม ต่อมาพ.ศ. 2529 นพ.ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์ ซึ่งดูงาน Nutritional Support Team จาก University of Cincinnati กับ Dr. Josef E Fisher ได้ใส่สาย Hickman Catheter และให้สารอาหารผู้ป่วย short bowel syndrome เพื่อให้อาหารทางหลอดเลือดดำเองที่บ้าน  (Home Parenteral Nutrition, HPN) เป็นรายแรกในประเทศไทย เริ่มการผ่าตัดฝัง Venous Access Port เพื่อให้เคมีบำบัดและสารอาหารระยะยาว เริ่มศักราชการทำ Enteral Access เช่น Percutaneous gastrostomy, Laparoscopic   Jejunostomy  และริเริ่มการใช้เครื่องวัดการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย   (Metabolic  Cart) ในผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤต พ.ศ. 2538 นพ. สรนิต ศิลธรรม   ซึ่งไปศึกษาเรื่อง Burns และ Nutritional Support ที่ Syracuse ก็กลับมาร่วมทีมให้การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ พ.ศ. 2542 นพ.วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล Ph.D หน่วยศัลยกรรมทั่วไป กลับมาจากสหราชอาณาจักรมาร่วมงานอีกท่านหนึ่ง และพ.ศ. 2544 นพ. สืบวงษ์   จุฑาภิสิทธิ์ อาจารย์ใหม่ในหน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ มาร่วมทีมเพิ่มขึ้นอีกท่านหนึ่ง ทำให้ทีมแพทย์ครบวงจร ในการดูแลทั้งผู้ป่วย เด็ก อายุรกรรม ศัลยกรรมทั่วไป ผู้ป่วยอุบัติเหตุ และการใส่สายอาหารทั้งทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารทุกชนิดที่เป็นที่รู้จักกันในโลก

          สิ่งที่เป็นตัวเชื่อมประสานกัน ในการก้าวไปข้างหน้า คือ การประชุมวิชาการร่วมกันเป็นประจำ อาจารย์จอมจักร ได้จัดให้มี Grand Round ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร ในทีมเท่านั้นหากแต่ยังรวมไปถึง อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานทางคลินิกและปรีคลินิกอื่นๆ มาร่วมกันเป็นประจำอีกด้วย ทำให้ทุกคนในทีมมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

 << ย้อนกลับ   |  1  |  2  |  3  |  4  |  5  |  6  |  7  |  8  | หน้าถัดไป >>