แผนที่โรงพยายบาลศิริราช การเดินทาง ค้นหาเบอร์ภายใน ภาษาอังกฤษ sitemap มหาวิทยาลัยมหิดล

การเลื่อนขั้นเงินเดือน
หัวข้อคำถาม
ถาม บุคลากรจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนช่วงไหน
ถาม บุคลากรเลื่อนเงินเดือนได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์
ถาม บุคลากรต้องปฏิบัติงานกี่เดือนถึงจะมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ถาม บุคลากรสามารถลาป่วยลากิจรวมกันไม่เกินกี่วัน
ถาม บุคลากรมาทำงานสายกี่ครั้งจะไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ถาม กรณีใดบ้างที่ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ถาม อยากทราบวิธีการเลื่อนเงินเดือนแต่ละประเภท
ถาม บุคลากรจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนช่วงไหน
ตอบ
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พม. พศ. พร.
การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนแบ่งเป็น 2 รอบ
รอบครึ่งปีแรก 1 ต.ค.-31 มี.ค. เลื่อนเงินเดือน 1 เม.ย.
รอบครึ่งปีหลัง 1 เม.ย.-30 ก.ย. เลื่อนเงินเดือน 1 ต.ค.
ให้มีการเลื่อนเงินเดือนปีละ 1 ครั้ง ในวันที่ 1 ต.ค. ของทุกปี
ถาม บุคลากรเลื่อนเงินเดือนได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์
ตอบ
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พม. พศ. พร.
สูงสุดไม่เกิน 12 % แบ่งเป็นรอบละ 6% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินที่ได้รับจัดสรรจากมหาวิทยาลัยมหิดลและผลการประเมินปฏิบัติงานของหน่วยงาน 1. ลูกจ้างประจำฯ ที่เลื่อนเงินเดือนเป็นขั้น จะเลื่อนเงินเดือนได้สูงสุดไม่เกิน 2 ขั้นทั้งปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโควตาคน 15% ของหน่วยงานและผลการประเมินของหน่วยงาน
2. ลูกจ้างประจำฯที่เลื่อนเงินเดือนเป็น % จะเลื่อนเงินเดือนได้สูงสุดไม่เกิน12% แบ่งเป็นรอบละ 6%   ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงิน 3% ของหน่วยงาน และผลการประเมินปฏิบัติงาน
ไม่ได้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินที่ได้รับจัดสรรที่ผ่านมาไม่เกินวงเงิน 5% ของเงินเดือนรวมของบุคลากร ณ วันที่ 1 กันยายน ของแต่ละปี 2 ขั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการประเมินการปฏิบัติงาน
ถาม บุคลากรต้องปฏิบัติงานกี่เดือนถึงจะมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ตอบ
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พม. พศ. พร.
ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 4 เดือน ในแต่ละรอบของการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน บรรจุใหม่ไม่น้อยกว่า 8 เดือน กรณีลาศึกษาฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ถาม บุคลากรสามารถลาป่วยลากิจรวมกันไม่เกินกี่วัน
ตอบ
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พม. พศ. พร.
ลาป่วยและลากิจรวมกันรอบละไม่เกิน 23 วันทำการ ลาป่วยและลากิจรวมกันไม่เกิน 45 วันทำการ
ถาม บุคลากรมาทำงานสายกี่ครั้งจะไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ตอบ
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พม. พศ. พร.
มาทำงานสายได้ไม่เกินรอบละ 15 ครั้ง ไม่เกิน 30 ครั้ง
ถาม กรณีใดบ้างที่ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ตอบ
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พม. พศ. พร.
1. มาสายเกินกำหนด
2. ขาดงาน
3. ลากิจเลี้ยงดูบุตร
4. คะแนนประเมินต่ำกว่า 60
ถาม อยากทราบวิธีการเลื่อนเงินเดือนแต่ละประเภท
ตอบ
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พม. พศ. พร.
1. การเลื่อนเงินเดือนในแต่ละรอบให้เลื่อนภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้เงินเดือนรวมข้าราชการที่มีคนครอง ณ วันที่ 1 มีนาคม และวันที่ 1 กันยายน ของทุกปี โดยไม่แยกกลุ่มตามประเภทตำแหน่ง
2. เลื่อนเงินเดือนแต่ละรายต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ ในแต่ละรอบ
3. มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
4. ห้ามเลื่อนเงินเดือนโดยใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณและลูกจ้างประจำเงินรายได้ กรณีชื่อตำแหน่งและลักษณะงานเหมือนลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ เลื่อนเงินเดือนเป็นขั้น โดยนับ โควตาคน 15% (2 ขั้นทั้งปี) ณ วันที่ 1 มีนาคม ของทุกปี และอยู่ภายในวงเงิน 6 % ของอัตราเงินเดือนรวมของหน่วยงาน ณ วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี
2. ลูกจ้างประจำเงินนอกงบฯ กรณีชื่อตำแหน่งและลักษณะงานเหมือนข้าราชการ เลื่อนเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์  ภายในวงเงิน  3%  ของอัตราเงินเดือนรวม ณ วันที่  1 กันยายน ของทุกปี ของหน่วยงาน  ได้แก่
- ตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี
1. ผู้ปฏิบัติงานรังสีเทคนิค
2. ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. ช่างเทคนิค
4. ผู้ปฏิบัติงานโภชนาการ
- ตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป
1. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
2. นักวิชาการเงินและบัญชี
3. นักวิชาการพัสดุ
4. นักวิชาการโภชนาการ
5. นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
6. นักวิชาการเวชสถิติ
7. นักวิชาการศึกษา
8. นักวิชาการสถิติ
9. นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
10. นักวิทยาศาสตร์
11. นักวิเทศสัมพันธ์
12. นักสุขศึกษา
13. บรรณารักษ์
14. บุคลากร
15. วิศวกร
16. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
17. นักประชาสัมพันธ์
18. นักรังสีการแพทย์
19. สัตวแพทย์
วิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือน
1. กำหนดวงเงินที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือนประจำปี สามารถตรวจสอบจากบัญชีรายชื่อเลื่อนเงินเดือนที่ได้รับจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล โดยคิดจากเงินเดือนรวมทุกคนเฉพาะที่มีคนครอง ณ วันที่ 1 กันยายน
2. การเลื่อนเงินเดือนแต่ละราย ให้เลื่อนเป็นร้อยละของเงินเดือน ซึ่งต้องสอดคล้องกับผลการประเมินแต่ต้องไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงของบัญชีเงินเดือน หากมีเศษของการคำนวณไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
3. กรณีไม่ได้เลื่อนเงินเดือนให้ชี้แจงเหตุผลในบัญชีรายชื่อเลื่อนเงินเดือน
4. ให้เลื่อนเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะเกษียณอายุงาน ต้องได้รับการเลื่อนเงินเดือนไม่เกินร้อยละที่ได้เลื่อนสูงสุดของพนักงานมหาวิทยาลัยในส่วนงาน และสอดคล้องกับผลการประเมินการปฏิบัติงาน

พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน พนักงานที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการ และที่เปลี่ยนประเภทการจ้างจากพนักงานมหาวิทยาลัยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พศ.) หรือพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ (พร.) ให้นับระยะเวลาการปฏิบัติงานต่อเนื่อง
2. ไม่อยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติงาน
3. มีผลการประเมินการปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
4. ต้องไม่ขาดงาน หรือลาไม่เกินสิทธิการลาในประเภทต่างๆ
5. ไม่มาทำงานสายเกิน 30 ครั้ง
6. พนักงานที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
7. มีวันลาป่วย และลากิจรวมกันไม่เกิน 45 วันทำงานต่อปี ยกเว้น
- ลาป่วยที่ต้องพักรักษาตัวนานไม่เกิน 120 วันทำการตามความเห็นแพทย์ ทั้งคราวเดียวกันหรือหลายคราวรวมกัน
- ลาป่วยเพราะประสบอันตรายขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่ หรือขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติงาน
กำหนดจำนวนคนที่ได้ 2 ขั้น ทั้งหน่วยงานไม่เกิน 15% ของอัตรารวม ณ วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี

(ระเบียบที่ใช้ ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นและปรับอัตราเงินเดือน หรือค่าตอบแทนของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540)
  เรื่องนี้เป็นประโยชน์ต่อตัวท่านหรือไม่ ?    ใช่   •   ไม่