เคล็ดลับสุขภาพดีในขณะรับประทานอาหารนอกบ้านหลังปลูกถ่ายอวัยวะ

 

กำลังวางแผนออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านอยู่หรือเปล่าคะ


เมื่อต้องเลือกร้านอาหารให้มองหาร้านที่มีการรักษาความปลอดภัยด้านอาหาร วันนี้เรามีเคล็ดลับเพื่อสุขภาพที่ดีในขณะที่รับประทานอาหารนอกบ้านสำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้ง่าย ในกลุ่มเสี่ยง ดังนี้

  • ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
  • ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาทางการแพทย์
  • สตรีมีครรภ์

เคล็ดลับสุขภาพดีในขณะรับประทานอาหารนอกบ้านหลังปลูกถ่ายอวัยวะ

  • มีวิธีการเตรียมอาหารอย่างปลอดภัย ถ้าคุณเห็นบริเวณที่มีการเตรียมอาหาร ให้ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานกำลังใช้ถุงมือหรือเครื่องมือในการหยิบจับจัดการอาหาร
  • เลือกสั่งอาหารที่ปรุงอย่างเหมาะสม อาหารบางประเภทรวมถึง เนื้อ สัตว์ปีก และปลา จะต้องปรุงให้มีอุณหภูมิสูงพอที่จะฆ่าเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตรายได้
  • หากได้รับการเสิร์ฟเนื้อ สัตว์ปีก อาหารทะเลหรือไข่ที่ปรุงไม่สุก ให้ส่งกลับไปปรุงให้สุกเพื่อให้อาหารนั้นปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ร้อน หลีกเลี่ยงอาหารที่ถูกเสิร์ฟมาแบบไม่ร้อน อาหารเย็นควรเสิร์ฟเย็นและอาหารร้อนควรเสิร์ฟร้อน หากคุณกำลังเลือกอาหารจากบุฟเฟ่ต์หรือสลัดบาร์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารร้อนกำลังทำให้ร้อนอยู่ตลอด และอาหารเย็นถูกทำให้เย็น เชื้อโรคที่ทำให้อาหารเป็นพิษเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่ออาหารอยู่อุณหภูมิหว่าง 40˚F ถึง 140˚F
  • เก็บอาหารที่เหลือถูกวิธี ถ้าคุณวางแผนจะห่ออาหารที่เหลือของคุณกลับบ้าน ควรทำอย่างรวดเร็ว โดยให้แช่ตู้เย็นภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน แต่ถ้าหากอยู่ในอุณหภูมิภายนอกที่สูงกว่า 90ºF ให้แช่ตู้เย็นที่เหลือภายใน 1 ชั่วโมง และควรรับประทานของที่เหลือภายในสามถึงสี่วัน หลังจากเวลานั้นควรทิ้ง
  • **หากไม่แน่ใจควรทิ้งโดยทันที

เลือกตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่าเพื่อลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยจากอาหารกันนะคะ

ข้อมูลจาก https://www.cdc.gov/foodsafety/communication/eatingout.html