เคล็ดไม่ลับในการป้องกันโรคที่มากับอาหารหรือโรคอาหารเป็นพิษหลังปลูกถ่ายอวัยวะ

 

 

เคล็ดไม่ลับในการป้องกันโรคที่มากับอาหารหรือโรคอาหารเป็นพิษหลังปลูกถ่ายอวัยวะ

วิธีหนึ่งที่สำคัญในการดูแลตัวเองหลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะคือการเลือกอาหารที่ปลอดภัย และเรียนรู้การจัดการอาหารอย่างปลอดภัย ยาที่ได้รับหลังการปลูกถ่ายอวัยวะจะกดระดับภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่ อีกทั้งการกดภูมิคุ้มกันยังเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายอวัยวะจะมีระบบภูมิคุ้มกันลดลง จำเป็นต้องป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ

โรคที่เกิดจากอาหารซึ่งบางครั้งเรียกว่า ภาวะอาหารเป็นพิษอาจเกิดจากอาหารดิบหรืออาหารที่ไม่สุก เป็นภัยคุกคามต่อผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) รายงานว่าทุก ๆ ปี มีผู้คนจำนวน 76 ล้านคนป่วยจากความเจ็บป่วยจากอาหาร ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดจากการเจ็บป่วยเหล่านี้คือเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

คำแนะนำต่อไปนี้สามารถช่วยปกป้องคุณจากโรคที่เกิดจากอาหาร แนวคิดบางอย่างอาจดูง่าย แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามขั้นตอนสำคัญเหล่านี้

ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ

  • ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนเริ่มเตรียม และประกอบอาหาร
  • หมั่นรักษาความสะอาดพื้นที่เตรียม และประกอบอาหาร รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆภายในครัว
  • ล้างผัก ผลไม้ อย่างระมัดระวัง
  • เปลี่ยนฟองน้ำล้างจานเป็นประจำ

แยกส่วนการจัดเก็บ การประกอบอาหารสุก ดิบ ออกจากกัน

  • ป้องกันตนเองจากการปนเปื้อนข้ามอาหารสุก ดิบ โดยแยกสัดส่วนการจัดเก็บอาหารในตู้เย็นให้ชัดเจน
  • แยกเขียงการประกอบอาหารสุก ดิบ ไม่ปะปนกัน และทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน

รับประทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ

ข้อพื้นฐานง่ายๆ ที่ไม่ควรลืม

  • ตรวจสอบฉลากอาหาร วันหมดอายุ ก่อนซื้อ และรับประทานทุกครั้ง
  • ไม่ควรบริโภคอาหารที่หมดอายุ
  • สังเกต รูปลักษณ์ของอาหาร เช่น สี กลิ่น รส หากเปลี่ยนไปแต่ยังไม่ถึงวันหมดอายุที่กำหนด ก็ไม่ควรรับประทาน