รับมือน้ำท่วมที่บ้านอย่างปลอดภัย
จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ในประเทศไทย สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างหนัก ไม่เพียงเท่านั้น มวลน้ำที่ไหลลงมาสู่พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กรุงเทพฯ เขตปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ถือว่ายังคงวิกฤติและต้องจับตามองสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และควรหาทางป้องกันอุทกภัยอย่างเร่งด่วน
งานบริหารจัดการความเสี่ยง จึงขอแนะนำวิธีเตรียมรับมือน้ำท่วมที่บ้านอย่างปลอดภัยด้วยตัวเอง พร้อมเบอร์โทรฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือจากเหตุการณ์น้ำท่วม สรุปดังนี้
เตรียมพร้อม ติดตาม เฝ้าระวัง
- ติดตามข่าวสารสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด
- ขนย้ายสิ่งของต่างๆ ขึ้นที่สูง รวมถึงย้ายทรัพย์สินมีค่าไปยังที่ปลอดภัย เพื่อให้พ้นจากระดับน้ำท่วม
- หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรเตรียมกระสอบทราย เพื่อใช้ปิดช่องทางน้ำไหลเข้าบ้าน
- ระบุที่ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ ว่าตัวใด ควบคุมการใช้ไฟฟ้าจุดใดในบ้าน
- รู้หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่นเมื่อเกิดน้ำท่วม
เมื่อเกิดน้ำท่วม
- รีบ อบต./กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านหรือแจ้ง 1784
- ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ยกเบรกเกอร์ชั้นที่น้ำท่วม ปิดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงปิดอุปกรณ์แก๊สและเตาหุงต้มต่างๆ ให้เรียบร้อย และนำเทปกาวมาแปะปิดช่องปลั๊กไฟในบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาแจ้ง กระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด และป้องกันไม่ให้โคลน เศษดิน แมลงตัวเล็กๆ เข้าไปยังช่องเสียบปลั๊กไฟเมื่อเกิดน้ำท่วม
- นำรถยนต์และพาหนะไปจอดไว้ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
- ศึกษาแผนฉุกเฉินของพื้นที่และปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
รวมเบอร์โทรฉุกเฉิน สายด่วนกู้ภัย ขอความช่วยเหลือภัยน้ำท่วม
- ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พื้นที่กรุงเทพฯ โทร. 1111 กด 5
- ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สอบถามเส้นทางน้ำท่วม โทร. 1146
- สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร. 1784
- สายด่วนข้อมูลภัยพิบัติ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ICT) โทร. 192
- เครือข่ายอาสาสมัครวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677
- กรมชลประทาน สอบถามข้อมูลน้ำในเขื่อน โทร. 1460
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
ขอบคุณที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัย และ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย