Eng
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช Siriraj Applied Thai Traditional Medicine
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University
English
สมุนไพรไม่ไกลตัว: ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr. วงศ์: ZINGIBERACEAE ชื่อท้องถิ่น: ปูลอย ปูเลย มิ้งสะล่าง ว่านไฟ เป็นต้น สรรพคุณตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย เหง้า รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ ขับลม ขับประจำเดือน ยาถ่ายแก้บิด ใช้เป็นยาภาย นอกแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม เมื่อยขบ
ที่มาภาพ: https://www.poompuksa.com/content/4133/ไพล-phlai วิธีใช้: สำหรับไพลนั้นจะไม่นิยมใช้เป็นยาเดี่ยว ส่วนใหญ่มักจะใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาสมุนไพร ซึ่งตำรับยาสมุนไพร ที่มีไพลเป็นส่วนประกอบและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ “ยาประสะไพล” รวมทั้งมีการนำไพลมาใช้ในรูปแบบยาใช้ ภายนอก แก้อาการปวดเมื่อยและฟกช้ำบวม วิธีการใช้ไพล มีดังนี้วม แดง ร้อนตามมาได้ 1. ปวดท้องประจำเดือน: รับประทานตำรับยาประสะไพลครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น 
 รับประทานก่อนมีประจำเดือน 2 – 3 วัน ไปจนถึงวันแรกและวันที่สองของการมีประจำเดือน ข้อห้ามและข้อควรระวัง: - ห้ามรับประทานในกรณีแพ้ไพล - ห้ามรับประทานในหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้ - ห้ามรับประทานในหญิงที่มีระดูมากกว่าปกติ เพราะจะทำให้มีการขับระดูออกมามากขึ้น
Siriraj Applied Thai Traditional Medicine  ตำรา-หนังสือ  ติดต่อหน่วยงานอื่นๆ  การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช  คำถามที่พบบ่อย | FAQ
2. บรรเทาอาการปวดเมื่อยและฟกช้ำบวม: มักจะนำไพลมาใช้ในรูปแบบยาใช้ภายนอก ดังนี้ • ลูกประคบสมุนไพร โดยนำไพลที่โขลกแล้วประมาณ 1 กำมือ มาห่อด้วยผ้าดิบ มัดด้วยเชือกให้แน่น จากนั้นนำลูกประคบสมุนไพรมานึ่งในหม้อนึ่งไอน้ำ แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวด 10 – 15 นาทีต่อหนึ่งบริเวณ
ที่มาของภาพ: https://sites.google.com/site/svc60g5/ ข้อห้ามและข้อควรระวัง: - ห้ามใช้ในบริเวณที่มีบาดแผลสด หรือบริเวณที่มีการอักเสบ (บวม แดง ร้อน) ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก - ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ไพล - ควรระมัดระวังในการใช้ลูกประคบที่มีความร้อนในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ - หากเกิดการที่มีผิวหนังแดง ถลอก หรือพองขณะทำการประคบ ให้หยุดประคบ และประคบด้วยความเย็นทันที • น้ำมันไพล การทำน้ำมันไพล สามารถทำได้โดยนำไพลมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกออกให้หมด และหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ จำนวน 200 กรัม จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวปริมาตร 100 มิลลิลิตร หรือในอัตราส่วนไพลต่อน้ำมันมะพร้าว 2 : 1 ทอดด้วยความร้อนปานกลาง เมื่อทอดจนไพลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ให้ตักไพลออก และเพื่อป้องกัน กลิ่นเหม็นหืนของน้ำมัน มะพร้าว ให้ใส่ดอกกานพลูประมาณ 8 – 10 ดอกทอดประมาณ 1 – 2 นาที แล้วจึงตักออก จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็น นำน้ำมันที่ได้ มากรองด้วยผ้าขาวบางและบรรจุลงภาชนะ เก็บในที่พ้นแสงเพื่อป้องกันไม่ให้สีเปลี่ยนไป
ที่มาของภาพ: https://shopee.co.th/blog/cassumunar-ginger-health-benefits/ นอกจากนำมาใช้ในการทำน้ำมันไพลแล้ว ยังสามารถนำไพลมาร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เช่น ว่านเอ็น เหลือง ว่านน้ำ เป็นต้น มาผลิตเป็นยาสมุนไพรชนิดน้ำมัน ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยการ ทา ถู นวด บริเวณที่มีอาการ วันละ 2 – 3 ครั้ง ข้อห้ามใช้ - ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน - ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด เอกสารอ้างอิง 1. คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลจาก สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พุทธศักราช 2555. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556 2. Poorada Booncharoen,Waranya Boonchai,Pravit Akarasereenont,Pinpat Tripatara.Acomparative study of chemical constituents and safety of Thai herbal medicated oil formula and traditional medicated oil. J Complement Integr Med 2021 May 13. [Published online 3. The Plant List. Zingiber montanum Internet]. 2013 [cited 2020 Jan 201. Available from http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-273343 4. กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน สําหรับบุคลากรสาธารณสุข. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2530 5. สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. พรรณไม้สมุนไพรในสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ : ศุภวนิชการพิมพ์; 2557. <<<กลับหน้าบทความหลัก>>>
ความเป็นเลิศ คุณภาพ ความยั่งยืน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 Webmaster : sirirajthaimed@mahidol.edu สำนักงานสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โทรศัพท์ : 02-4198824-5 โทรสาร : 02-419-8818 Copyright © 2017