การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช Siriraj Applied Thai Traditional Medicine
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University
English
การดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยหลักธรรมานามัย เมื่อกล่าวถึงความเจ็บป่วยแล้ว เราทุกคนล้วนอยากมีสุขภาพดีและมีอายุยืนยาว คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วย ดังนั้น การกลับมาดูแลสุขภาพคนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบันที่มีปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม รวมถึงสิ่งแวดล้อม การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เป็นลักษณะแนวสุขภาพแบบองค์รวม โดยใช้องค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแต่ในอดีตบวกกับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจุบันหรือที่เราได้ยินว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อมา ดูแลสุขภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วศาสตร์การแพทย์แผนไทย เราจะมาใช้ในแง่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือการฟื้นฟู ในที่นี่จะกล่าวถึง การนำเอาหลักธรรมานามัยมาดูแลสุขภาพเบื้องต้น  “หลักธรรมานามัย” ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ เป็นผู้คิดค้นและวางปรัชญาการดูแลสุขภาพโดยองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยธรรมานามัยมาจาก 2 คำ ได้แก่ ธรรมะ (ธรรมชาติ) และอนามัย (การมีสุขภาพที่ดี) “ธรรมานามัย” จึงหมายถึง แนวทางปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบในการสร้างเสริมสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติ หรือ Healthy by natural method ซึ่งให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและความมีอายุยืนทุกปัจจัยอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ กาย จิต และกรรม (พฤติกรรม) โดยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. กายานามัย คือการดูแลร่างกายให้แข็งแรงโดยแนะนำให้เลือกวิธีการ ออก กำลังกายที่เหมาะสมกับวัย และ สภาพร่างกายของตนเอง เพื่อให้เกิดผลดี และ เสี่ยง อันตราย น้อยที่สุด ซึ่งการบริหารร่างกายนั้นมีหลายรูปแบบ และ ปฏิบัติได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ หรือใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในบ้านเรือน ยกตัวอย่าง เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การทำท่ากายบริหารฤาษีดัดตน ก้าวตา – ก้าวเต้น ก้าวม้า - ก้าวสูง เป็นต้น
Siriraj Applied Thai Traditional Medicine  ตำรา-หนังสือ  ติดต่อหน่วยงานอื่นๆ  การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช  คำถามที่พบบ่อย | FAQ
ที่มาของภาพ:https://th.jobsdb.com/th-th/articles/สถานที่ปฏิบัติธรรมคนออ
2. จิตตานามัย คือ การดูแลสุขภาพจิตให้สมบูรณ์ มีความสุข สงบ โดยการดูแลจิตให้สมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 ภาวะ ได้แก่ 1. คุณภาพ มีคุณธรรม เอื้อเฟื้อ เมตตากรุณา และซื่อสัตย์ 2. สมรรถภาพ เข้มแข็ง มั่นคง มุ่งมั่น เพียรพยายาม มีสติและสมาธิ 3. สุขภาพ มีความสุข ปิติอิ่มใจ ร่าเริงเบิกบานใจ ผ่องใส หลักในการดูแลจิตใจ คือ การตระหนักรู้และการมีสติในทุก ๆ กิจกรรมที่เราทำ ยกตัวอย่างการดูแลจิตใจ การปฏิบัติตามหลัก คำสอนของศาสนา ที่นับถืออยู่ เช่น พระพุทธศาสนา ได้แก่ การฝึกสมาธิ การเดินจงกรม การสวดมนต์ เป็นต้น
ที่มาของภาพ : http://fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index. php/2016-04-26-06-50-20/food-news-main-menu-3/fic-food-news- menu/467-food2-14-03-2018
<<<กลับหน้าบทความหลัก>>> 3. ชีวิตานามัย ดูแลสภาพแวดล้อม และการดำเนินชีวิตแบบไม่ประมาท การมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวันที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ ต่อ ร่างกาย การอยู่ในสถานที่ที่สะอาด ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ และ สารเสพติด รวมถึงห่างไกลจากอบายมุขต่าง ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าหลักธรรมานามัยนั้นไม่ได้เป็นการรักษาโรคโดยตรง แต่เป็นหลักที่ใช้ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมครอบคลุมทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรค และเป็นการส่งเสริม ดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิธีง่าย ๆ ที่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้กับคนทุกเพศและทุกวัย
ความเป็นเลิศ คุณภาพ ความยั่งยืน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 Webmaster : sirirajthaimed@mahidol.edu สำนักงานสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โทรศัพท์ : 02-4198824-5 โทรสาร : 02-419-8818 Copyright © 2017