Eng
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช Siriraj Applied Thai Traditional Medicine
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University
English
ท่ากายบริหารฤาษีดัดตนแก้อาการปวดบ่าและต้นคอ สังคมในยุคปัจจุบันนั้นมีลักษณะการทำงานและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งคนในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ อยู่ในอิริยาบถหรือท่าเดิม ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมาได้ โดยเฉพาะบริเวณบ่า คอ และข้อมือ ดังนั้นการออกกำลังกายหรือบริหารร่างกาย จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และช่วยป้องกันความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ ฤาษีดัดตน เป็นวิธีบริหารที่เป็นภูมิปัญญาไทย มีลักษณะเฉพาะ คือผู้ปฏิบัติจะเคลื่อนไหว ส่วนของร่างกาย ตามท่าทางที่กำหนด แล้วนิ่งอยู่ในท่านั้นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 5 – 10 วินาที เป็นการบริหารร่างกายส่วนต่าง ๆ ทีละส่วนหรือหลายส่วนพร้อมกัน การทำท่ากายบริหาร หากปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะสามารถช่วย บรรเทาอาการ ปวดเมื่อยร่างกาย เช่น ปวดคอ ปวดเอว ปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา เป็นต้น และช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง สำหรับในบทความนี้ จะแนะนำท่ากายบริหารแบบฤาษีดัดตนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณบ่า และต้นคอ ที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ทั้งหมด 3 ท่าด้วยกัน ได้แก่
ท่าแก้ปวดท้อง แก้สะบักจม วิธีปฏิบัติ ท่าเตรียม: นั่งขัดสมาธิ วางมือทั้งสองข้างที่หน้าขาบริเวณหัวเข่า 1. ค่อย ๆ ยกแขนทั้งสองข้างจนข้อศอกอยู่ระดับเดียวกับหัวไหล่ แล้วเหวี่ยงแขนออกไปทางด้านข้าง กางแขนให้ข้อศอกเป็นมุมป้าน 2. ค่อย ๆ แบะไหล่ โดยเหวี่ยงแขนไปด้านข้างให้มากที่ สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับแอ่นอก เงยหน้าขึ้น และกระดกข้อมือให้ได้ มากที่สุด นิ่งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อย ๆ คลายย้อนกลับไปอยู่ในท่าเตรียม 3. ทำข้อ 1 – 2 ซ้ำ 3 – 5 รอบ
Siriraj Applied Thai Traditional Medicine  ตำรา-หนังสือ  ติดต่อหน่วยงานอื่นๆ  การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช  คำถามที่พบบ่อย | FAQ
ท่าแก้แน่นหน้าอก วิธีปฏิบัติ ท่าเตรียม: โดยการยืนตัวตรง แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว 1. ย่อตัวลงเล็กน้อย 2. เหยียดแขนทั้งสองข้างไปทางด้านหลัง 3. ค่อย ๆ แอ่นอก แบะไหล่ เชิดหน้า พร้อมกับเหยียด แขนไปทางด้านหลังจนสุดเท่าที่ทำได้และกระดกข้อมือขึ้น แล้วนิ่งค้างไว้ 10 วินาที แล้วค่อย ๆ คลายย้อนกลับอยู่ในท่าเตรียม 4. ทำข้อ 1 -4 ซ้ำ 3 - 5 รอบ ข้อควรระวัง: ผู้ปฏิบัติที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า เช่น ข้อเข่าเสื่อม หรือผ่าตัด ควรระมัดระวัง โดยเฉพาะการย่อเข่า ต้องค่อย ๆ ย่อเท่าที่จะทำได้ สังเกตเวลาย่อหัวเข่าจะไม่เลยปลายเท้า
ท่าแก้ลมข้อมือ วิธีปฏิบัติ ท่าเตรียม: นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบไปทางด้านหลัง วางมือทั้งสองข้างบริเวณหัวเข่า 1. พนมมือให้ปลายนิ้วอยู่ในระดับคางโดยแขนทั้งสองข้าง กางออกจากลำตัวเล็กน้อย 2.บิดลำตัวพร้อมกับหันหน้าไปทางด้านซ้ายมากที่สุด เท่าจะทำได้พร้อมกับออกแรงดันที่ข้อมือทั้งสองข้างต้านกันและดัดปลายนิ้วมือไปทางซ้าย นิ่งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อย ๆ คลายย้อนกลับไปอยู่ในท่าเตรียม 3. ทำข้อ 1 – 2 แต่สลับข้าง 4. ทำ 1 – 3 ซ้ำ 3 – 5 รอบ
การทำท่ากายบริหารฤาษีดัดตนทั้ง 3 ท่า สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่าและต้นคอได้ โดยหลักการทำท่ากายบริหารฤาษีดัดตนนั้น จะต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่ทำท่ากายบริหารจะต้องค่อย ๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อช้า ๆ ไม่ออกแรงยืดเหยียดในลักษณะกระตุกหรือกระชากกล้ามเนื้อ และควรหายใจเข้า –ออกปกติ และไม่กลั้นหายใจในขณะที่ทำท่ากายบริหาร นอกจากจะทำท่ากายบริหารแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การอยู่ในอิริยาบถ หรืออยู่ในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือการปรับท่าทางลักษณะการนั่งให้ถูกต้องตามหลัก กายรศาสตร์ เป็นต้น ควบคู่กันไปด้วย จึงจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อช่วงบ่าและต้นคอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เอกสารอ้างอิง 1. โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.กรุงเทพฯ:ศุภนิชการพิมพ์; 2552 2. โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.กายบริหรแบบฤาษีดัดตน เล่มที่ 1.กรุงเทพฯ:ศุภนิชการพิมพ์; 2552 <<<กลับหน้าบทความหลัก>>>
ความเป็นเลิศ คุณภาพ ความยั่งยืน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 Webmaster : sirirajthaimed@mahidol.edu สำนักงานสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โทรศัพท์ : 02-4198824-5 โทรสาร : 02-419-8818 Copyright © 2017