mmbu

"การวิจัยและพัฒนา"

หน่วยฯ มีความสนใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโฟลไซโตเมทรีในโรคธาลัสซี-เมีย โรคติดเชื้อมาลาเรีย และโรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งทั้ง 3 โรค เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงและมีผลกระทบต่อการสาธารณสุข รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศไทย หน่วยฯ ได้ทำการวิจัยทั้งในระดับพื้นฐานและการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานในผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจกลไกการเกิดพยาธิสภาพในโรคทั้ง 3 โรค โดยมีโครงการวิจัยด้านวิทยาภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ซึ่งได้ดำเนินงานหลายเรื่อง เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการใช้โมเลกุลชนิด CD38 ที่ปรากฏอยู่บนผิวของเม็ดเลือดขาวชนิดทีลิมโฟซัยต์เป็น surrogate marker ในการติดตามผลของการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี การศึกษาผล cytotoxic ทีลิมโฟซัยต์ที่มีผลต่อการทำงานของยาต้านไวรัสต่างๆ เช่น protease inhibitors ที่ใช้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี
หน่วยฯ ได้พัฒนาวิธีการตรวจวัดจำนวน CD4 ทีลิมโฟซัยต์ที่มีราคาถูกมีคุณ- ภาพและได้มาตรฐาน เช่น การใช้ BioLeucoTag และ Biobeads ซึ่งในขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร ซึ่งการใช้วิธีที่ประดิษฐ์คิดค้นดังกล่าวในการตรวจวัด CD4 ทีลิมโฟซัยต์นั้น นอกจากจะทำให้การตรวจวัดมีความแม่นยำแล้วยังช่วยให้มีการใช้น้ำยาทดสอบอย่างมีประสิทธิภาพและมีราคาต้นทุนต่ำกว่าน้ำยาที่นำเข้าจากต่างประ เทศ โดยจะสามารถประหยัดเงินได้ถึงปีละ 20-30 ล้านบาท ซึ่งการทำงานวิจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ มีความสำคัญยิ่งในการบริหารจัดการทางด้านสาธารณสุขของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ยังมีประโยชน์ต่อประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาอื่นๆ อีกด้วย หน่วยฯ ยังให้ความสำคัญในการศึกษาโรคภูมิแพ้ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และการประยุกต์ใช้ โดยมีงานวิจัยเด่นในเรื่องของการพัฒนาวัคซีนป้องกันไรฝุ่นศิริราช ซึ่งเป็นความร่วมมือกับกลุ่มโรคภูมิแพ้ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และบริษัทเกรทเตอร์ฟาร์มา อีกทั้งยังมีการศึกษาโมเลกุลสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่ของแมลงสาบและไรฝุ่น และได้พัฒนาชุดตรวจวัดปริมาณสารก่อภูมิแพ้แมลงสาบในบ้าน ซึ่งอยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตร มีผู้ประกอบการภาคเอกชนสนใจในการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว ในปี 2551 หน่วยฯ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานา- ชาติ จำนวน 7 เรื่อง และกำลังดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตร จำนวน 3 เรื่อง

หน่วยเครื่องมือพิเศษเพื่อการวิจัย สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ 02-419 7000 ต่อ 6644,6675 โทรสาร 02 4196644