Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University
ประกาศการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
1. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
คณะกรรมการฝึกอบรมฯได้พิจารณา ความสมดุลระหว่างจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ที่รับได้และศักยภาพด้านการฝึกอบรม ขณะนี้ภาควิชาฯ สามารถรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นได้ปีละ 5 คน (โดยหากสนใจสมัครเข้าอบรมแพทย์ประจำ บ้าน กรุณาเข้าไปตามลิ้งค์ของแพทยสภา
http://www.tmc.or.th/tcgme)
2. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไป นี้
2.1 ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตหรือเทียบเท่าจากสถาบันที่แพทยสภาฯรับรอง
2.2 ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตาม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ของแพทยสภาฯ
2.3 ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ
2.4 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางของ แพทยสภาหรือผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์หรือเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขา จิตเวชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังจะสำเร็จการฝึกอบรม 3 ปี
(โดยจะสามารถเข้ารับการฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ 3 ของหลักสูตรจิตเวชศาสตร์เด็ก และวัยรุ่น)
3. การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกับ พันธกิจของหลักสูตรฯ ในกรณีที่ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมมีความพิการซึ่งต้องการสิ่ง อำนวยความสะดวกเป็นพิเศษความพิการนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยหรือไม่เป็น อุปสรรคขัดขวางความสามารถในการฝึกอบรมหรือปฏิบัติงานในฐานะจิตแพทย์เด็กและ วัยรุ่น
3.1 เกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1. เป็นผู้มีศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม
2. เป็นผู้ปฏิบัติตนอยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์
3. สามารถให้ความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจลึกซื้งถึงปัญหาทางจิตใจของผู้ป่วย อย่างจริงใจ จนถึงขั้นสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy)
4. ตระหนักถึงความสำคัญทางด้านจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์
5. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูง
6. มีบุคลิกภาพและวุฒิภาวะ (maturity) ที่เหมาะสม
7. มีความอดทนต่อผู้ป่วย ครอบครัว และผรู้ ่วมงาน
8. มีความรักและพร้อมที่จะเข้าใจเด็กและวัยรุ่น
9. ยอมรับความผิดพลาดและพร้อมที่จะปรับปรุงตนเองเสมอ
10.มีความมุ่งมั่น เข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคในการสร้างความเจริญให้แก่วงการจิตเวช เด็กและวัยรุ่น
11.ใฝ่หาความรู้ความชำนาญเพิ่มเติมในวิชาชีพอยู่เสมอ และมีความสนใจในงานวิจัยทาง จิตเวชเด็กและวัยรุ่น
12.มีความสนใจการส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
3.2 เกณฑ์การรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
เป็นไปตามที่หลักสูตรฯได้กำหนดคุณสมบัติไว้ตามระเบียบของราชวิทยาลัยฯและ
แพทยสภาโดยปราศจากอคติเรื่อง เพศ เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง หรืออำนาจอันมิชอบ และ นโยบายการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะคำนึงถึงความต้องการของระบบสุขภาพด้วย เช่น การพิจารณาถึงต้นสังกัดจังหวัดที่ขาดแคลน
3.3 คณะกรรมการคัดเลือก
มีการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสม และ มีกระบวนการคัดเลือกและจัดการสอบสัมภาษณ์โดยยึดหลักความเสมอภาค โปร่งใส เท่าเทียม ยุติธรรมและตรวจสอบได้
3.4 หลักเกณฑ์การให้คะแนนการสอบสัมภาษณ์
คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์จะพิจารณาให้คะแนนจาก
3.4.1 ต้นสังกัดที่ได้รับทุนมา
3.4.2 ความรู้และความสามารถ พิจารณาจากเกรดเฉลี่ยแพทยศาสตร์ศึกษา ผลสอบ ศรว. ผลสอบภาษาอังกฤษ ความสามารถพิเศษ การเข้าร่วมกิจกรรม งานวิจัย” (ร้อยละ 40)
3.4.3 บุคลิกภาพ ทัศนคติ ความมุ่งมั่นในการเป็นจิตแพทย์เด็ก ความชอบ/สนใจ แรงจูงใจในการฝึกอบรม ทัศนคติต่อวิชาชีพ ความสามารถในการวิเคราะห์ตัดสินใจ การควบคุมอารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ การสื่อสาร การปรับตัว แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า recommendation letter and state of purpose” (ร้อยละ 60)
(หากผู้สมัครมีความพิการจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นจิตแพทย์ เช่น ความพิการที่รุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร และการดูแลผู้ป่วย)
3.5 เอกสารประกอบการสมัคร
ส่งภายในวันที่ 31 ตุลาคมของปีที่เปิดรับสมัคร
*หากเอกสารไม่ครบถ้วน จะไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์*
3.5.1 เอกสารที่สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย: http://www.tmc.or.th/tcgme กำหนดไว้
โดยให้ยื่นสำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 1 ชุด และ
ยื่นที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อีก 1 ชุด
3.5.2 เอกสารยื่นเพิ่มเติมที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 1 ชุด ได้แก
- ผลการศึกษาตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
- ผลการสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.)
- ผลสอบความรู้ภาษาอังกฤษ สามารถใช้ผลสอบย้อนหลังภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันสอบสัมภาษณ์
โดยใช้ผลสอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ - MU GRAD TEST (Computer Based)
- IELTS
- TOELF iBT
- บทความ 1 เรอื่ ง “statement of purpose”
4. การตัดสิน พิจารณาจาก
4.1. คะแนนรวมของกรรมการสัมภาษณ์ทุกท่าน
4.2. คะแนนในส่วนของการสัมภาษณ์ โดยเฉลี่ยจากกรรมการทุกท่านต้องไม่น้อยกว่า 30 คะแนน หรือคะแนนรวมทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่า 60 คะแนน
4.3. มติของกรรมการสัมภาษณ์ ถือเป็นสิทธิ์ขาด
(หากท่านมีข้อสงสัยในผลการตัดสินสามารถสอบถามได้ที่ประธานหลักสูตรดูแลแพทย์ประจำบ้านของภาควิชาฯ)
5. กลไกในการอุทธรณ์
ผู้สมัครสามารถร้องเรียนโดยตรงที่ประธานฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา หัวหน้าภาควิชา หรือประธานหลักสูตรฝึกอบรม
แพทย์ประจำบ้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โดยเปิดให้แจ้งความจำนงในการอุทธรณ์และขอดูคะแนนการคัดเลือกได้ภายใน 15 วัน
หลังการประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการเพื่อที่คณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญาจะได้มีการพิจารณาดำเนินการ
ต่อไปตามความเหมาะสม
6. ช่องทางติอต่อ
คุณนันทพร วงศ์อุระ (ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา) เบอร์ติดต่อ 02-4194298
เอกสารประกอบ :
วัน/เดือน/ปี ที่จัดกิจกรรม : 18/12/2562 - 31/12/2565
update : 8/10/2563 13:12:16
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 8 คณะแพทยศาสตรเลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์ : 02-4197373 , 02 - 4197422 , 02 - 4194293-8 โทรสาร : 02 - 4113430