ตรวจร่างกายผู้สูงอายุ
ตรวจร่างกายผู้สูงอายุ
รศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
Faculty of
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ปัจจุบันประชากรโดยส่วนใหญ่มีอายุที่ยาวขึ้น ขณะเดียวกันผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมาก ขึ้น ย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติ ระบบอวัยวะต่างๆ ก็ทำงานมี ประสิทธิ ภาพลดลง ทำให้อุบัติการณ์ของโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย และมีผลต่อเนื่องไปถึงด้าน จิตใจ รวมทั้งสังคมและเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ความจำเป็นในการตรวจสุขภาพเป็น ระยะๆ เพื่อตรวจพบความเจ็บป่วยใดๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในผู้สูงอายุจึงมีมาก
โรคที่อาจตรวจพบในผู้สูงอายุ
- ความดันโลหิตสูงจากการวัดความดันโลหิตที่ต้นแขน
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันจากการซักประวัติ
- มะเร็งเต้านมจาการซักประวัติและตรวจเต้านม
- ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จากการซักประวัติ
- การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมจนเกิดภาวะข้างเคียงจากการซักประวัติ
- การไม่สามารถที่จะออกไปพบปะสังคมกับผู้อื่นจากการซักประวัติ
- การหกล้มบ่อย ๆจากการซักประวัติ
- ภาวะทุพลโภชนาการจากการซักประวัติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ โดยทั่วไปด้วยวิธีการเหล่านี้พบว่าสามารถตรวจพบโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ในผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนได้เพียง 2-3% การตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องปฏิบัติคู่ไปกับการซักประวัติและการตรวจร่างกายจากแพทย์เสมอ โรคที่พบได้บ่อยจาการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่
- ภาวะโลหิตจาง
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- เบาหวาน
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการตรวจเลือดในอุจจาระ
- ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง
- ความผิดปกติของเกลือแร่ในกระแสเลือด โดยเฉพาะผู้ได้ยาขับปัสสาวะหรือยาแก้ปวดข้ออยู่
การตรวจทางหู
ภาวะหูหนวก หูตึง พบได้บ่อยมากถึงราว 25-35% ในผู้สูงอายุ และพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุได้แก่
- ภาวะประสาทหูเสื่อมจากอายุ หรือ ที่เรียกว่า Presbycusis
- หูชั้นนอกอุดกั้นจากขี้หูอุดกั้น
- ภาวะประสาทหูเสื่อมจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในอดีต
ความผิดปกติอย่างแรกและอย่างที่ 3 จำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือ พิเศษของแพทย์เฉพาะทางหู จึงจะยืนยันได้แน่นอน และการรักษาจึงจำเป็นต้องใช้ เครื่อง ช่วยการได้ยินติดตัวไปกับผู้สูงอายุตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงมาก การ ตรวจและรักษาปัญหาทั้ง 2 ดังกล่าวจึงทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในระดับการ สาธารณสุขของประเทศ ส่วนภาวะหูตึงจากสาเหตุที่สองคือ หูชั้นนอกอุดตันจากขี้หู สามารถวินิจฉัยได้ง่ายจากการตรวจในหูชั้นนอกด้วยเครื่องมือที่ส่องเข้าไปดูคล้าย ไฟฉาย และสามารถให้การรักษาได้เลย จึงเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจเสมอ
การตรวจทางตา
ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนราว 10% จะมีโรคทางตาหรือความสามารถในการมองเห็นลดลงซ่อนเร้นอยู่ สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดได้แก่
- โรคต้อกระจก (Cataract)
- โรคต้อหิน (Glaucoma)
- ภาวะประสาทจอรับภาพเสื่อม (Macular Degeneration) โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มาก ๆ
- ภาวะสายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ
ผู้สูงอายุที่มีต้อหิน ส่วนหนึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป มักจะมาพบแพทย์ต่อเมื่อสายตามัว ลงมากแล้ว จนไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้ ถ้าสามารถได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจป้องกันภาวะตาบอดได้ ส่วนอีก 3 โรคที่เหลือ อาจทำได้คร่าว ๆ โดยการวัดสายตา โดยให้ผู้สูงอายุอ่านภาพตัวอักษรที่ห่างออกไป 6 เมตร ถ้าพบว่ามีความผิดปกติ แพทย์ก็จะส่งตัวผู้ป่วยไปยังจักษุแพทย์ต่อไป
การตรวจสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
โรคที่ทางจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุในชุมชนที่อาจซ่อนเร้นอยู่มี 2 ภาวะคือ ภาวะซึมเศร้า (Depression) และภาวะสมองเสื่อม (Dementia) การตรวจเพื่อค้นหา ภาวะดังกล่าว แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติอย่างละเอียดทั้งจากตัวผู้สูงอายุเองและญาติ ผู้ดูแลใกล้ชิด ซึ่งการตรวจเช่นนี้จะกินเวลาและควรจะเป็นแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง การตรวจชนิดนี้จึงจำเป็นต่อเมื่อญาติหรือตัวผู้สูงอายุเล่าถึงอาการทางจิตนำมาบ้าง ทั้งนี้ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
โรคผิวหนัง
โรคผิวหนังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุในชุมชนได้แก่
- การติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยเฉพาะถ้าเป็นเบาหวานอยู่ด้วย
- มะเร็งของผิวหนัง
- ผื่นแพ้ยา
- ภาวะผิวแห้ง (Xerosis)
โรคเกี่ยวกับเหงือกและฟัน
ผู้สูงอายุมากกว่า 50% ที่อยู่ในชุมชน มีโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟันที่ซ่อนเร้นอยู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินไปมาเองได้ หรือมีเศรษฐานะยากจน โรคที่พบบ่อย ได้แก่ ฟันผุ, เหงือกอักเสบ หรือมะเร็งในช่องปาก วิธีตรวจเพื่อค้นหาภาวะดังกล่าวที่ดีคือ การให้ทันตแพทย์ตรวจดูในช่องปากเป็นระยะ ๆ
การตรวจภายในเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ในสตรี
เพื่อเป็นการตรวจค้นหาก้อนเนื้องอกผิดปกติที่อาจพบได้ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งพบสูงขึ้นตามอายุ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุสตรีที่ไม่เคยได้รับ การ ตรวจเซลของปากมดลูก (Paps Smear) ก็ควรได้รับการตรวจอย่างน้อยหนึ่งครั้ง