ข้อมูลการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน
ปีการศึกษา 2568 |
เปิดรับสมัครแพทย์ประจำบ้านปีการศึกษา 2568 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
|
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรชั้นนำ
มีมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการศึกษาวิจัย บริการสุขภาพและวิชาการ
เป็นศูนย์เครือข่ายของการเรียนรู้ และช่วยชี้นำสังคม
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทำการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ตั้งแต่
พ.ศ. 2488 โดยมีแพทย์ที่จบไปเป็นกุมารแพทย์ แล้ว 76 รุ่น จำนวน 1032 คน
เป้าหมายหลัก
คือ
การผลิตกุมารแพทย์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักสูตรของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
และแพทยสภา
หอผู้ป่วยหลักของภาควิชากุมารฯ
ได้แก่ ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี ตึกอานันทมหิดล ตึกโกศลกันตะบุตร ตึกกุมาร
และอาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีฯ มีจำนวนเตียงทั้งหมด 303
เตียงแบ่งการดูแลเป็นทารกแรกเกิด เด็กเล็ก (อายุ 0 – 4) ปี
และเด็กโต (อายุ 4 – 18 ปี)
สำหรับผู้ป่วยนอกนั้นมารับบริการที่ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี ชั้น 1
ซึ่งแบ่งออกเป็นคลินิกตรวจโรคทั่วไป และคลินิกเฉพาะโรค
มีผู้ป่วยมารับการบริการ 200-300 รายต่อวัน
|
วิชาการ
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมวิชาการให้แก่แพทย์ประจำบ้านทุกด้าน
โดยจัดกิจกรรมวิชาการให้แพทย์ประจำบ้าน ดังต่อไปนี้
- morning conference ภายในภาควิชา ได้แก่ interesting case,
admission report, grand round, problem case และ morbidity &
mortality conference
- การบรรยาย ทั้ง clinical pediatrics และ basic science
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ counseling skills, statistics, ethics,
CPR, simulation
- มีการประเมินผลโดยการสอบ MCQ, OSCE และ CRQ
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบวุฒิบัตร
- ประชุมวิชาการโดยภาควิชาฯ จะสนับสนุนค่าลงทะเบียน
|
งานวิจัย
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
สนับสนุนให้แพทย์ประจำบ้านมีโอกาสฝึกฝนทักษะทำงานวิจัยอย่างน้อย 1
เรื่องโดยมีคณาจารย์ในภาควิชาฯ
ที่มีความรู้ความชำนาญให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
โดยแพทย์ประจำบ้านจะนำเสนอโครงงาน ความก้าวหน้าของงานวิจัย เป็นระยะ
ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา
เมื่องานวิจัยสิ้นสุดแพทย์ประจำบ้านจะมีโอกาสนำเสนอผลงานในรูปของ oral
หรือ poster presentation ในงานประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
แและมีโอกาสตีพิมพ์ผลงานในวารสารทางการแพทย์ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา
|
การเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนการสอนในปัจจุบัน
นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เพิ่มจำนวนการรับแพทย์ประจำบ้านเป็นระยะ
จาก 16 คน มาเป็น 23 คน และเป็น 28 คนในปัจจุบัน
ทำให้การอยู่เวรรับปรึกษาผู้ป่วยนอกเวลาราชการของแพทย์ประจำบ้านลดน้อยลงตามลำดับ
โดย แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 ในปี 2546 อยู่เวร 9 10 เวรต่อเดือน
ขณะที่ปัจจุบันอยู่เวร 5 7 เวรต่อเดือน
นอกจากจำนวนของแพทย์ประจำบ้านที่เพิ่มขึ้นแล้วภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำงานและการเรียนการสอนที่ต่างไปจากเดิม
จนหลายๆคนที่ได้มีโอกาสเห็นหรือได้ทำงานด้วยรู้สึกดีขึ้น เช่น
- ในหอผู้ป่วยที่เป็น teaching ward เด็กเล็ก เด็กโต
มีการแบ่งทีมแพทย์ทั้งอาจารย์ attending แพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์
เป็น 2 ทีม ดูแลผู้ป่วยประมาณทีมละไม่เกิน 12 ราย จากเดิมประมาณ 20-24
ราย ทำให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ลดภาระเรื่องงานเอกสาร การสรุปเวชระเบียน
มีเวลาในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
- กิจกรรมทางวิชาการตอนเช้า (morning activity)
มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม
มีอาจารย์เข้าร่วมให้ความคิดเห็นเพิ่มมากขึ้น มีตั้งแต่อาจารย์อาวุโส
ไปจนถึงอาจารย์รุ่นใหม่ที่ได้รับการบรรจุมากกว่า 10 ท่านในช่วง 2-3
ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังจัดให้มีการนำเสนอ admission report
เป็นภาษาอังกฤษ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
เพื่อช่วยเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของแพทย์ประจำบ้าน
- จัดให้มี thesis month 1 เดือน ในช่วง rotation
ครึ่งแรกของแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3
เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านได้มีเวลาสรุปข้อมูลวิจัยและจัดทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จสิ้นโดยไม่มีภาระงานอื่น
- แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 มีเดือน elective อย่างน้อย 3 เดือน
และเปิดโอกาสให้ไป elective ต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้ทางภาควิชาฯ
ได้มีข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนแพทย์ประจำบ้านกับ University of
California, Los Angeles (UCLA) และ Oregon Health & Science
University (UHSU) ทำให้การไป elective ต่างประเทศมีความสะดวกมากขึ้น
นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ขอทุนจากคณะฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการไป
elective อีกด้วย
|
รายชื่ออาจารย์พิเศษ
- ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา
- ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา
- ศ.คลินิก นพ.อุรพล บุญประกอบ
- ศ.เกียรติคุณ พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ
- ศ.เกียรติคุณ นพ.วีระพงษ์ ฉัตรานนท์
- ศ.เกียรติคุณ นพ.มนตรี ตู้จินดา
- ศ.นพ.บูรณะ ชวลิตธำรง
- รศ.พญ.ประอร ชวลิตธำรง
|
-
-
- ศ.คลินิก พญ.สุจิตรา วีรวรรณ
- ศ.เกียรติคุณ พญ.วรวรรณ ตันไพจิตร
- ศ.เกียรติคุณ พญ.จิราศรี วัชรดุลย์
- ผศ.พญ.อรุณ วงษ์จิราษฏร์
- ศ.คลินิก นพ.เสน่ห์ เจียสกุล
- ศ.เกียรติคุณ นพ.กิตติ อังศุสิงห์
- ศ.คลินิก นพ.เหลือพร ปุณณกันต์
- รศ.นพ.วิบูล สุนทรพจน์
|
- รายชื่ออาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ |
หลักสูตรที่เปิดฝึกอบรม |
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เปิดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน 3 หลักสูตร ได้แก่
|
- หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- เข้ารับการฝึกอบรมที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทั้งหลักสูตร
เป็นเวลา 3 ปี
- หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์
โครงการร่วมศิริราช-ราชบุรี
- เป็นโครงการร่วมระหว่าง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ โรงพยาบาลราชบุรี
โดยแพทย์ประจำบ้านจะเข้ารับการฝึกอบรมที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นเวลา 1.5 ปี
และที่โรงพยาบาลราชบุรี 1.5 ปี
- หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก (หลักสูตร 5
ปี)
- เป็นหลักสูตร 5 ปี โดยใน 3
ปีแรกจะเข้ารับการฝึกอบรมเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์
ส่วนในปีที่ 4 และ 5
จะเข้ารับการฝึกอบรมต่อยอดในด้านโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
เมื่อจบหลักสูตรผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับวุฒิบัตร 2 ใบ
คือวุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ และวุฒิบัตรโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
(เทียบเท่ากับแพทย์ประจำบ้านต่อยอด)
|
คุณสมบัติของผู้สมัครในหลักสูตรต่างๆ |
- หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- มีต้นสังกัด
- ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ 1 ปี
(นับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)
- อิสระ
- ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ 1 ปี
- ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาแล้วเป็นเวลา 3
ปี (นับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)
และไม่มีภาระการชดใช้ทุน
- หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์
โครงการร่วมศิริราช-ราชบุรี (ปฎิบัติงาน รพ.ศิริราช 1.5 ปี และ
รพ.ราชบุรี 1.5 ปี)
- มีต้นสังกัด
และผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ 1 ปี
(นับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)
- หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก (หลักสูตร 5
ปี)
- มีต้นสังกัด
- ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ 1
ปี (นับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)
- อิสระ
- ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะครบ
1 ปี
- ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาแล้วเป็นเวลา
2 ปี (นับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)
และไม่มีภาระการชดใช้ทุน
|
ศักยภาพของสถาบันฝึกอบรม และความต้องการแพทย์ประจำบ้านปี 2568 |
จำนวน Resident ที่ต้องการรับปี 2568 |
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- โครงการร่วมศิริราช-ราชบุรี
- โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก (หลักสูตร 5 ปี)
|
- 24
- 4
- 2
|
เอกสารประกอบการสมัครแพทย์ประจำบ้าน (แผน ก.) |
I. เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นในการสมัคร (เอกสารที่ 1-6 ให้ส่งพร้อมใบสมัคร
เอกสารที่ 7-12 สามารถส่งภายหลังได้)
- ใบสมัคร: กรอกใบสมัครด้วยตนเองที่นี่ กรุณากด Submit
เพียงครังเดียว
- รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
- สำเนาใบแสดงผลการศึกษาตลอดหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (Transcript)
- ผลการสอบ National test step 1 และ step 2
- Curriculum vitae (CV) ของผู้สมัคร แสดงรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้
- ประวัติส่วนตัว
- ประวัติสุขภาพรวมถึงโรคประจำตัว
- ประวัติการศึกษา
- กิจกรรมนอกหลักสูตรต่างๆ ที่เคยทำ
- ประวัติการทำงาน
- ผลงานหรือโครงงานดีเด่นที่เคยปฏิบัติ 1 เรื่องพร้อมรายละเอียด
(ถ้ามี)
- รางวัลจากการศึกษาหรือการทำงานที่เคยได้รับ (ถ้ามี)
- บทความบรรยาย ความยาวไม่เกิน 1-2 หน้ากระดาษ
โดยมีรายละเอียดประกอบไปด้วย
- ความคิดเห็นต่อวิชาชีพกุมารแพทย์
และเหตุผลที่ท่านเลือกมาเรียนกุมารเวชศาสตร์
- Statement of purpose แสดงจุดมุ่งหมายและแผนการหลังเรียนจบ
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
หรือหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สุกล
(กรณีที่เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
- สำเนาประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านโครงการเพิ่มพูนทักษะ
หรือหลักฐานแสดงว่ากำลังอยู่ระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ
(ส่งภายหลังได้ หากเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ปีที่1)
- หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน (recommendation letter) 3 ฉบับ
ซึ่งควรออกโดยอาจารย์จากสถาบันที่สำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 1 ท่าน
และผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่เคยปฏิบัติงานใกล้ชิดอย่างน้อย 1 ท่าน
- รูปแบบของหนังสือรับรอง
อาจเลือกใช้เป็นรูปแบบของจดหมายรับรองทั่วไป
หรือใช้แบบฟอร์มหนังสือรับรองของภาควิชาฯ ดังนี้ Download ใบ
Recommendation
- สามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมภายหลังได้
โดยผู้สมัครอาจรวบรวมส่งที่ภาควิชาฯ
หรือให้ผู้เขียนหนังสือรับรองส่งเอกสารโดยตรงที่ภาควิชาฯ
- ผู้สมัครควรขอ recommendation letter อย่างน้อย 2 ชุด
หรือทำสำเนาไว้ เนื่องจากในขั้นตอนการสมัครกับแพทยสภา
ผู้สมัครจะต้องแนบ recommendation letter เช่นกัน
- หนังสือจากต้นสังกัดอนุมัติให้เข้าฝึกอบรมและรับรองว่าจะทำสัญญาเมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว
(เฉพาะผู้สมัครที่มีต้นสังกัดส่งฝึกอบรม
ในกรณีที่ต้นสังกัดประกาศผลพิจารณาทุนแล้ว)
- ผลสอบภาษาอังกฤษ โดยอาจเลือกใช้ผลสอบ MU Grad Plus, TOEFL-iBT หรือ
IELTs
เพื่อใช้ประกอบการสมัครเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง
มหาวิทยาลัยมหิดล
- หากยังไม่มีผลสอบ
สามารถส่งผลสอบภายหลังได้หลังได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้าน
โดยต้องส่งผลสอบภายในวันที่ 30 เมษายน 2568
- ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคะแนนภาษาอังกฤษและการสมัครสอบ
MU Grad Plus test ได้ที่ website บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล https://graduate.mahidol.ac.th/thai/?g=6
-
II. ขั้นตอนการสมัครเพื่อรับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้าน:
กรุณาพิมพ์ใบสมัครเพื่อลงนามและ Scan ส่งพร้อมเอกสารอื่นๆ ที่ e-mail: e-mail:edupostgrad@gmail.com
หรือส่งทางไปรษณีย์ที่
งานการศึกษาหลังปริญญา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี ชั้น 10 เลขที่ 2 ถนนวังหลัง บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
10700
หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ 02-4195961, 02-4195969, 02-4195970
คุณกนิษฐา จันทธัมโม e-mail:edupostgrad@gmail.com
|
|
update วันที่ 28 ม.ค. 2567