สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

Division of Child and Adolescent Psychiatry

 

บุคลากรวิชาชีพ 11 ท่าน

  • นักสังคมสงเคราะห์ 3 ท่าน
  • พยาบาล 2 ท่าน
  • นักจิตวิทยาคลินิก 3 ท่าน
  • ครูการศึกษาพิเศษ 1 ท่าน
  • นักกิจกรรมบำบัด 1 ท่าน
  • นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย 1 ท่าน

เจ้าหน้าที่ 6 ท่าน

  • ผู้ช่วยพยาบาล 1 ท่าน
  • พนักงานธุรการ 2 ท่าน
  • พนักงานพิมพ์ดีด 1 ท่าน
  • พนักงานทั่วไป 2 ท่าน

งานบริการผู้ป่วย

     สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ได้มีการประสานกับสาขาวิชาจิตเวชเด็ก ของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ แบ่งภาระงานบริการ โดยสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มีขอบเขตการให้บริการดังนี้

ผู้ป่วยใน:

  • รักษาผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาทางจิตเวชในหอผู้ป่วยกุมารเวชศาสตร์
  • รับปรึกษาปัญหาทางจิตเวชในผู้ป่วย (อายุ 0-15 ปี) ที่รับการรักษาโรคทางกายในหอผู้ป่วยกุมารเวชศาสตร์และหอผู้ป่วยอื่นๆ ของโรงพยาบาลศิริราช

ผู้ป่วยนอก

  • ตรวจรักษาปัญหาทางจิตเวชในผู้ป่วยอายุ 0-15 ปี ที่รับการรักษาในภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และ
  • ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะออทิสติก และผู้ป่วยที่ถูกทารุณกรรม อายุ 0-15 ปี และผู้ป่วยอายุ 0-5 ปี ทุกรายที่มีปัญหาทางจิตเวช

ในส่วนของผู้ป่วยนอก สาขาวิชาฯ ได้จัดการให้บริการการตรวจเป็นคลินิกต่างๆ ดังนี้

  • คลินิกซักประวัติและให้คำแนะนำเบื้องต้น (intake)
  • คลินิกประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวชฉุกเฉิน (psychiatric emergency assessment)
  • คลินิกประเมินวินิจฉัยทางจิตเวช psychiatric (diagnostic evaluation clinic)
  • คลินิกติดตามการรักษาทางจิตเวช (psychiatric follow up clinic)
  • คลินิกจิตบำบัด (psychotherapy clinic)
  • คลินิกทดสอบทางจิตวิทยา (psychological test clinic)
  • คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ (developmental stimulation clinic)
  • คลินิกกิจกรรมบำบัด (occupational therapy clinic)
  • คลินิกฝึกพูด (speech therapy clinic)
  • คลินิกสังคมสงเคราะห์ (social worker clinic)

นอกจากนี้สาขาวิชาฯ ได้ร่วมกับสาขาวิชาและหน่วยงานอื่นของโรงพยาบาลศิริราช พัฒนาการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจของผู้ป่วย ในคณะกรรมการโครงการฯ และทีมดูแลผู้ป่วยต่างๆ ตัวอย่างเช่น

  • คณะกรรมการและทีมดูแลผู้ป่วยที่ถูกทารุณกรรม
  • โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี
  • ศูนย์กุมารบริรักษ์
  • โครงการเพื่อนใจ (child life program)
  • ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลศิริราช
  • ทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
  • ทีมดูแลผู้ป่วยหอบหืด

ในด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป สาขาวิชาฯ ได้ให้บริการการฝึกอบรมและประชุมวิชาการดังนี้

  • การอบรมผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยออทิสติก
  • การอบรมครูแลบุคลากรทางการแพทย์ประจำปี การสร้างเสริมศักยภาพเด็กที่มีภาวะออทิสติก
  • การประชุมวิชาการประจำปี Siriraj Child Psychiatry Annual Conference สำหรับกุมารแพทย์ จิตแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์

การฝึกอบรม

สาขาวิชาฯ ให้การฝึกอบรมด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น แก่แพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์ ตามหลักสูตรวุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ และแก่แพทย์ประจำบ้านจิตเวชทั่วไปตามหลักสูตรวุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์ และเป็นที่ฝึกอบรม/ดูงานของนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาจิตวิทยาคลินิก นักศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น สาขาวิชาฯ มีหลักสูตรการฝึกอบรมดังนี้

  1. หลักสูตรวุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

    เป็นหลักสูตรที่จัดร่วมกับภาควิชาจิตเวชศาสตร์ สำหรับผู้ที่จบแพทยศาสตร์บัณฑิต ฝึกอบรมจิตเวชศาสตร์ทั่วไป 2 ปี และจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 2 ปี หรือผู้ที่จบการฝึกอบรมจิตเวชศาสตร์ทั่วไปแล้ว ฝึกอบรมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นต่ออีก 2 ปี โดยในช่วงการฝึกอบรมจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น 2 ปี นั้น จะฝึกปฏิบัติงานที่สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 1 ปี

  2. หลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์เฟลโลว์จิตเวชเด็กและวัยรุ่น

    เป็นหลักสูตรที่รับผู้ที่จบการฝึกอบรมกุมารเวชศาสตร์แล้ว ฝึกอบรมด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่นต่ออีก 2 ปี (โดยในช่วงเวลา 2 ปี นั้น จะฝึกปฏิบัติงานด้านจิตเวชทั่วไปที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ 9 เดือน) ผู้ที่จบการฝึกอบรมตามหลักสูตรนี้ สามารถสอบเพื่อรับหนังสืออนุมัติผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นของแพทยสภาได้ เมื่อทำงานด้านจิตเวชเด็กหลังการฝึกอบรมต่ออีก 3 ปี

รางวัล

  1. โครงการติดดาว ประเภทหน่วยงานดีเด่น ปี พ.ศ.2546, 2547, 2548, 2553, 2554
  2. โครงการติดดาว ประเภทหน่วยงานดีเด่นดาวทอง ปี พ.ศ.2555, 2556
  3. โครงการติดดาว ประเภทหน่วยงานดีเด่นแพลตินั่ม ปี พ.ศ.2557, 2558, 2559
  4. โครงการติดดาว (นวัตกรรมดีเด่น) การสร้างรูปแบบการเปิดเผยสภาวะการติดเชื้อเอชไอวีแก่เด็ก ปี พ.ศ.2552
  5. รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นทางคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปี พ.ศ.2556 “Development of a diagnosis disclosure model for perinatally HIV-infected children in Thailand”

Top