สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม

Division of Endocrinology & Metabolism

 
 
 
 
 
 

บุคลากร

อาจารย์ที่ปรึกษาและอดีตหัวหน้าสาขาวิชา 4 ท่าน

เจ้าหน้าที่

งานบริการและการเรียนการสอน

งานบริการ

  1. ให้บริการคลินิกต่อมไร้ท่อทุกวันพุธบ่าย คลินิกเบาหวานเด็กและวัยรุ่นทุกวันพฤหัสบดีเช้า และคลินิกผู้ป่วย Disorders of sex development (DSD) ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 2 เดือนเว้นเดือน
  2. จํานวนผู้ป่วยนอกโรคต่อมไร้ท่อเฉลี่ย2000 รายต่อปี และโรคเบาหวานเฉลี่ย 1700 รายต่อปี ผู้ป่วยในเฉลี่ย 600 รายต่อปี
  3. ให้บริการ Hotline สำหรับผู้เป็นเบาหวานเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะฉุกเฉินทั้งในและนอกเวลา มีผู้ใช้บริการทั้งหมดประมาณ 70 ครั้งต่อปี และบริการ DM Call center เพื่อให้ผู้ป่วยรายงานผลน้ำตาลให้กับแพทย์ผู้ดูแล มีผู้ใช้บริการทั้งหมด ประมาณ 50 ครั้งต่อปี
  4. สอนผู้ปกครองและผู้ป่วยที่ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ให้สามารถฉีดฮอร์โมนการเจริญเติบโตเข้าใต้ผิวหนังทุกวัน จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการสอนฉีดยา 8–10 รายต่อปี
  5. ให้บริการวัดความหนาแน่นกระดูก (bone mineral density, BMD) ด้วยเครื่อง Dual-energy X-rayabsorptiometry (DXA)เพื่อประเมินภาวะ low bone mass ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะกระดูกบาง เช่น osteogenesisimperfecta, thalassemia, ผู้ป่วยที่ได้glucocorticoids เป็นเวลานาน ปี พ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยได้รับบริการการวัดความหนาแน่นกระดูกเป็นจำนวน 215 ราย
  6. ให้บริการทดสอบฮอร์โมนเพื่อการวินิจฉัยโรคทางต่อมไร้ท่อเช่นgrowth hormone stimulation test, LHRH stimulation test, ACTH stimulation test, oral glucose tolerance test และ water deprivation test มีผู้ป่วยได้รับการทดสอบจำนวนเฉลี่ย 150 รายต่อปี
  7. ทำการตรวจวัดระดับฮอร์โมนในเลือด ได้แก่ serum growth hormone, IGF-1, IGFBP-3, 17-OHP และการตรวจระดับภูมิต้านทานต่อตับอ่อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1ได้แก่ การตรวจ Anti-GAD และ IA2ในเลือด
  8. ทำการตรวจทางอณูพันธุศาสตร์เพื่อหา mutations ของ CYP21A1, SRD5A2และ androgen receptor genes

ด้านการสอน

  1. สาขาฯมีศักยภาพในการอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดปีละ 3 รายและมีเป้าหมายที่จะผลิตแพทย์ประจำบ้านต่อยอดให้มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยต่อมไร้ท่อและผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นองค์รวม
  2. รับแพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์แพทย์ประจำบ้านต่อยอดจากภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, รังสีรักษา และอายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดกุมารเวชศาสตร์ต่อมไร้ท่อจากต่างสถาบันมาศึกษาดูงานที่สาขาฯ ทุกปี
  3. มีการจัดกิจกรรมแก่แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยได้แก่ grand round, interesting case, book club, journal club, topic review และ chart review
  4. รับแพทย์จากต่างประเทศที่ขอเข้ามาศึกษาดูงาน เช่น กุมารแพทย์จากประเทศพม่ามาดูงานด้านต่อมไร้ท่อแพทย์จากประเทศเกาหลีเหนือมาดูงานด้านเบาหวานโดยได้รับทุนจาก World Health Organization (WHO)
  5. ได้เชิญกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ คือ Professor Khalid Hussain ซึ่งเป็นHonorary Consultant จาก Great Ormond Street Hospitalประเทศสหราชอาณาจักร ผู้มีความเชี่ยวชาญด้าน congenitalhyperinsulinismและ disorders of glucose metabolism มาเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่อาจารย์แพทย์และกุมารแพทย์ รวมทั้งร่วมอภิปรายผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการดูแลรักษา
  6. สาขาฯ ได้อบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดตามหลักสูตรแพทยสภา ปัจจุบันแพทย์ที่จบการอบรมได้ประจำตามโรงพยาบาลต่างๆ ดังนี้ โรงเรียนแพทย์และมหาวิทยาลัยจำนวน 3 คน (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา), โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมจำนวน 3 คน (โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ), โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 1 คน (โรงพยาบาลเลิดสิน), โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 5 คน (โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ โรงพยาบาลนครปฐม), โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครจำนวน 1 คน (โรงพยาบาลตากสิน), แพทย์ผู้ช่วยวิจัยศูนย์เบาหวานศิริราช 1 คน และแพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกชน 5 คน

หลักสูตรฝึกอบรม

สาขาวิชาต่อมไร้ท่อได้เปิดหลักสูตรอบรมแพทย์ต่อยอดของสาขาวิชา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยมีหลักสูตร 2 ปี เปิดรับอบรมปีละ 2 คน ได้มีการเปลี่ยนเป็นหลักสูตรราชวิทยาลัยกุมารแพทย์เมื่อปีพ.ศ. 2546 และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรแพทยสภา ในปี 2548 โดยมีหลักสูตร 2 ปี เปิดรับอบรมปีละ 2-3 คน

รายละเอียดหลักสูตร

การรับแพทย์เข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของสาขาวิชาโรคระบบต่อมไร้ท่อฯ

รายละเอียดคู่มือแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

พันธกิจของหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

"เพื่อให้ได้กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อฯ ที่มีความรู้ความสามารถที่ทันยุคกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและมีประสทิธิภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวมคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยของผู้ป่วยเพื่อการแก้ไขปัญหาและการสร้างเสริมสุขภาพ มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสามารถในการทำงานแบบมืออาชีพ ปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองอย่างเต็มตัวโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำสามารถปฏิบัติ งานร่วมกันกับผู้อื่นรวมทั้งสหวิชาชีพได้ รวมทั้งการจัดสมดุลระหว่างสภาวะการทำงานและการดูแลสุขภาพของตนเอง"

งานวิจัย และความสนใจพิเศษ

งานวิจัยหลักได้แก่
  • การศึกษาวิจัยเรื่องเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น
  • การศึกษาวิจัยเรื่องภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนและผลการรักษาผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วน รวมถึง molecular genetics ของผู้ป่วยเบาหวาน
  • การศึกษาภาวะแทรกซ้อนของต่อมไร้ท่อในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะกลุ่ม non-transfusion dependent thalassemia (NTDT)ร่วมกับศูนย์ธาลัสซีเมียคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและสาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
  • การศึกษาถึงค่าปกติของความหนาแน่นกระดูกในเด็กปกติที่มีอายุ 5-18 ปี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นค่าอ้างอิงในการประเมินความหนาแน่นกระดูกของเด็กและวัยรุ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • การศึกษาความหนาแน่นกระดูกในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเบาหวานชนิดที่ 1 Juvenile idiopathic arthritisและโรคเรื้อรังอื่นๆ
  • การศึกษาถึงลักษณะทางคลินิกและความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ป่วย DSD
ทั้งนี้งานวิจัยด้านเบาหวานและธาลัสซีเมีย จัดอยู่ในกลุ่ม Integrated center of excellenceของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

รางวัล

  1. “โครงการ 84 พรรษามหาราชัน รวมพลังบริบาลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554” ได้รับรางวัลประเภทดีเด่น ทีมสหสาขาบริบาลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และชมรมเพื่อเด็กและวันรุ่นแห่งประเทศไทย (โดยรศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล และคณะ)
  2. ผลงานเรื่อง “A normal reference of bone mineral density (BMD) measured by dual energy x-ray absorptiometry in healthy Thai children and adolescents aged 5-18 years: a new reference for Southeast Asian populations” ได้รับรางวัล Routine to Research (R2R) Award ประจำปี 2557 ในการประกวดผลงานวิจัยของงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) และงานประชุมวิชาการ R2R ประจำปี 2557 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (โดยรศ.พญ.ไพรัลยา นาควัชระ และคณะ)
  3. โครงการเรื่อง “Vitamin D status among obese children and adolescent and effect of weight loss” ได้รับรางวัลโปสเตอร์ดีเด่น (The Award of excellent for poster presentation) ในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์และการสาธารณสุช พ.ศ. 2557 (International Conference in Medicine and Public Health: SICMPH 2014) (โดยรศ.พญ.จีรันดา สันติประภพ และคณะ)
  4. ผลงานเรื่อง “Outcome of group-based treatment program with parental involvement for the management of children and adolescent obesity” ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นด้านคลินิก ประจำปีพ.ศ. 2557 (โดยรศ.พญ.จีรันดา สันติประภพ และคณะ)
  5. ชุดสื่อการสอน (การเรียนรู้) “Diabetes education tool: DM wonder trip”
    • ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่น ประเภทหน่วยงาน ชุดสื่อการสอน (การเรียนรู้) โครงการติดดาว งานพัฒนาคุณภาพ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2556
    • ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ในงานประชุมวิชาการของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลประจำปี พ.ศ. 2556 (โดยรศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล และคณะ)
  6. “โครงการดูแลรักษาเบาหวานในเด็กและวันรุ่นอย่างครบวงจร (Siriraj pediatric diabetes self management education and care program)”
    • ได้รับรางวัลดีเลิศ (Best implement of the year) ประเภทผลกระทบและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการประชุมวิชาการของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลประจำปี พ.ศ. 2551
    • ได้รับรางวัล Routine to Research (R2R) ยอดเยี่ยม ประเภทการบริหารระดับตติยภูมิ ในการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และภาคเครือข่าย พ.ศ. 2552 (โดยรศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล และคณะ)
  7. ได้รับรางวัลเกียรติบัตรยกย่องผู้ให้บริการเป็นเลิศ ของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาวิทยาลับมหิดล พ.ศ. 2548 (โดยรศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล และคณะ)

กิจกรรมของสาขาวิชา

ผู้ป่วยสัมพันธ์แสดงถึงการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างแพทย์และผู้ป่วย รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ป่วยในภาควิชากุมารฯ เพื่อเป็นการให้บริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร