สาขาวิชาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก

Division of Developmental and Behavioral Pediatrics

 
 
 
 
 
 

บุคลากร

อาจารย์

เจ้าหน้าที่

งานบริการของสาขาฯ

คลินิกพัฒนาการทารกความเสี่ยงสูง High risk clinic (0545)
สถานที่ ตึก กุมาร ชั้น 5
วัน เวลา อังคาร เวลา 09.00 – 12.00 น.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ รศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์
รศ.พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล
พญ.อมรรัตน์ เพ็ญภัทรกุล
นักจิตวิทยาคลินิก คุณวันเพ็ญ ฤทธิตา
เจ้าหน้าที่ประจำคลินิก คุณศิริพรรณ ชูช่วง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 02-414-1018 ภายในกด 41018
คลินิกประเมินและติดตามพัฒนาการ DBP Clinic (0553) , (553)
สถานที่ ตึก กุมาร ชั้น 2
วัน เวลา อังคาร เวลา 13.00-16.00 น. (Follow-up clinic)
และ ศุกร์ 9.00-12.00 น. (First-visit clinic)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ รศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์
รศ.พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล
พญ.อมรรัตน์ เพ็ญภัทรกุล
พยาบาลประจำคลินิก คุณอวัสดา วงษ์ขวัญเมือง
นักจิตวิทยาคลินิก คุณวันเพ็ญ ฤทธิตา
นักกิจกรรมบำบัด คุณณัฐฐา เกตุทัต
นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย คุณณัฐชยา ขำเจริญ
เจ้าหน้าที่ประจำคลินิก คุณศิริพรรณ ชูช่วง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 02-419-5705 ภายในกด 95705
คลินิกเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
สถานที่ คลินิก 7 ตึก เจ้าฟ้าฯ ชั้น 1
วัน เวลา จันทร์ที่ 1 ของเดือน เวลา 9.00 - 12.00น.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ รศ.นพ.สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล
รศ.นพ.สรวิศ วีรวรรณ
รศ.นพ.นิธิวัชร์ วัฒนวิจารณ์
รศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์
รศ.พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล
พญ.อมรรัตน์ เพ็ญภัทรกุล
สหสาขาสำหรับเด็กที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง DCP clinic (0586)
สถานที่ ตึก กุมาร ชั้น 5
วัน เวลา วันพุธที่ 4 ของเดือน เวลา 10.30 น.-16.00 น.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ รศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์
รศ.พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล
พญ.อมรรัตน์ เพ็ญภัทรกุล
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 02-414-1018 ภายในกด 41018
ผู้รับผิดชอบ คุณศิริพรรณ ชูช่วง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 02-414-1018 ภายในกด 41018
คลินิกสายตาเลือนราง
สถานที่ ตึก ผู้ป่วยนอก ชั้น 5
วัน เวลา ทุกวันพฤหัสบดีที่ 3 ของเดือน เวลา 13.00-16.00 น.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ รศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์
รศ.พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล
พญ.อมรรัตน์ เพ็ญภัทรกุล
ผู้รับผิดชอบ คุณอวัสดา วงษ์ขวัญเมือง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 095-4615541
คลินิกส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็ก (0542)
สถานที่ ตึก ผู้ป่วยนอก ชั้น 5
วัน เวลา ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ รศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์
ออกตรวจคนไข้วันพุธ 13.00 – 16.00 น.
รศ.พญ.พัฏ โรจน์มหามงคล
ออกตรวจคนไข้วันพฤหัสบดี 09.00 – 12.00 น.
พญ.อมรรัตน์ เพ็ญภัทรกุล
ออกตรวจคนไข้วันจันทร์ 09.00 – 12.00 น.

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก

วัตถุประสงค์

     เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพเวชกรรมอนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรมแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะสามารถปฏิบัติงานทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กได้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพในสถาบันการศึกษาหรือสถานพยาบาลทั่วไป โดยมีความรู้ความสามารถดังนี้
  1. อธิบายลักษณะการเจริญเติบโตและพัฒนาการปกติในเด็กได้ตั้งแต่ระยะปฏิสนธิจนถึงอายุ 18 ปีโดยคำนึงถึงปัจจัยทั้งทางด้านชีวภาพจิตสังคม และสภาพแวดล้อม
  2. ตรวจประเมินและวินิจฉัยปัญหาการเจริญเติบโตพัฒนาการและพฤติกรรมในเด็กและวัยรุ่นอย่างถูกต้องเป็นขั้นตอน
  3. ให้การรักษาและช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นแต่แรกเริ่มได้อย่างเหมาะสมซึ่งรวมถึงการให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็กและครอบครัวการฝึกพัฒนาการ การปรับพฤติกรรม การฟื้นฟูสภาพ การใช้ยาที่จำเป็น และการบำบัดรักษาร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาส่งต่อเพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นในกรณีที่จำเป็น
  4. มีทักษะในการประเมินพัฒนาการชนิดคัดกรอง เข้าใจหลักการของการใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการมาตรฐานและแบบประเมินระดับเชาวน์ปัญญาหรือเครื่องมือทางจิตวิทยาอื่นๆ โดยสามารถเลือกใช้และแปลผลได้อย่างถูกต้อง
  5. มีทักษะในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ (Early Stimulation Program) ให้เต็มตามศักยภาพอย่างเป็นองค์รวมตลอด จนป้องกันปัญหาการเจริญเติบโตพัฒนาการและพฤติกรรมที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ
  6. สอนและให้คำปรึกษาแก่แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ในการวินิจฉัยดูแลรักษา และป้องกันปัญหาการเจริญเติบโต พัฒนาการและพฤติกรรมได้
  7. มีทักษะในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแล การอบรมเลี้ยงดู การจัดบริการทางสังคม และสามารถชี้นำสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก
  8. สามารถทำวิจัยและเข้าใจขบวนการทำวิจัย ตลอดจนร่วมงานวิจัยในเชิงสหสาขาวิชาได้
  9. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ได้แก่ แสวงหาความรู้ความชำนาญเพิ่มเติมในวิชาชีพอยู่เสมอ ปฏิบัติตามกฎระเบียบวิชาชีพเวชกรรม แสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและผู้ร่วมงานทุกระดับ

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

     ผู้สมัครเข้ารับการอบรมจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้วและต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. เป็นผู้ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯในสาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
  2. ขณะยื่นใบสมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านปีสุดท้ายในสาขากุมารเวชศาสตร์ ทั่วไป
  3. ขณะยื่นใบสมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้มีสิทธิสอบเพื่อหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ ในสาขา กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป ในปีการศึกษานั้น

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

     แพทย์ประจำบ้านที่จะรับการฝึกอบรม เพื่อสอบเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ต้องได้รับรองฝึกอบรมเป็นเวลา 2 ปี โดยที่ได้
ปฏิบัติงานที่สาขาวิชาพัฒนาการเด็ก
9 เดือน

วิชาเลือกปีละ
3 เดือน

ผลงานวิชาการของสาขาวิชา

  1. สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ และ จริยา จุฑาภิสิทธิ์. พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและภาษา.ใน : ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย , รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ , วีระศักดิ์ ชลไชยะ กองบรรณาธิการ.ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การกำกับดูแลสุขภาพเด็ก.กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ; 2556. 39 - 52
  2. Sutchritpongsa S, Sangwisit S, Sonjaipanich S. Parental awareness of Household injury prevention: Adequacy of Anticipatory Guidance for well childcare. JMAT. 2013;96:1531-6.
  3. Pajareya k, sutchritpongsa s. Sensitivity and specificity of the Thai version o the Functional Emotional Developmental Questionnaire (FEDQ) for Childhood SMJ. 2014;66:168-78.
  4. Sutchritpongsa s, Chiowchanwisawakit P, Pratumvinit B. แฟ้มสะสมงาน (portfolio) กับแพทยศาสตร์ศึกษา. เวชบันทึกศิริราช. 2558;8:77-8.
  5. Sutchritpongsa S, Sonjaipanich S, Chomchai C, Lomjansuk K. Unintentional poisoning in children : analysis of significant risk factors. Siriraj Med J. 2016;68:17-22
  6. สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์. การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก. ใน: สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, วิฐารณ บุญสิทธิ, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, รัตนาวลัย นิติยารมย์, อัจฉรา สัมบุณณานนท์ , บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่ง; 2559. p. 33-65.
  7. พนิดา กาญจนอุปถัมภ์ , สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) ใน: สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, วิฐารณ บุญสิทธิ, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, รัตนาวลัย นิติยารมย์, อัจฉรา สัมบุณณานนท์ , บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่ง; 2559. p. 277 – 288
  8. นิธิวัชร์ วัฒนวิจารณ์, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์. ภาวะพัฒนาการช้า (Developmental delay). ใน: สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, วิฐารณ บุญสิทธิ, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, รัตนาวลัย นิติยารมย์, อัจฉรา สัมบุณณานนท์ , บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่ง; 2559. p.405 – 418
  9. Do pediatrician recognize fetal alcohol spectrum disorder in children with development and behavioral problems? Rojmahamongkol P, Cheema–Hasan A, Weitzman C J Dev Behav Pediatr 2015 Apr ; 36 (3) : 197 – 202
  10. แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์( tablet ) และสมาร์ทโฟน ( smartphone ) กับเด็กปฐมวัย. ใน : ประสงค์ ตันมหาสมุทร, ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน, พรพรหม เมืองแมน, เพทาย เย็นจิตโสมนัส, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล, ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ, ปิยะภัทร เดชพระธรรม, ศันสนีย์ เสนะวงษ์, นภดล เผ่าสวัสดิ์, อุไรวรรณ พานิช, กุลภา ศรีสวัสดิ์, พจมาน พิศาลประภา กองบรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทันยุค 2557 Updated Medicine 2014. กรุงเทพฯ : บ. พี. เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด; 2557
  11. พัฏ โรจน์มหามงคล . Speech Delay พัฒนาการทางภาษาล่าช้า . ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ เล่ม 2 . กรุงเทพฯ : ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล,2559. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2559 . บ.พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด ; 2559: 777 - 796

Top