สารพิษในศิริราช
กับมาตรการบริหารจัดการ
ขยะมูลฝอย
สารพิษในศิริราช กับมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
สารพิษในศิริราช เกิดจากการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ บริเวณให้บริการ บริเวณ ให้การสนับสนุน และ บริเวณซ่อมบำรุง ซึ่งการทำงานของทั้งสามส่วนก่อให้เกิดของเสียและสารพิษขึ้นภายใน
นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลศิริราชที่มีจำนวนกว่า 100 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีในปริมาณสูง ทำให้มีโอกาสเกิดสารพิษจากสารเคมีได้ในจำนวนมาก การจัดทำหลักเกณฑ์ในการรวบรวม จัดเก็บ และกำจัดอย่างเหมาะสม จะทำให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการรั่วไหล และลดปัญหาการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบัน ร.พ.ศิริราช จัดตั้งคณะกรรมการสารเคมีขึ้นมากำกับดูแล และสารเคมีเหล่านั้นจะได้รับการกำจัดโดยหน่วยงานเอกชนที่ได้มาตรฐาน
ตัวอย่างขยะมีพิษ และกระบวนการกำจัด
- ขยะมูลฝอย ถือว่าเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง
เราดำเนินการกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงจากสารพิษไปยังผู้ป่วย และบุคลากรที่ เกี่ยวข้อง เช่น ขยะติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนเลือด น้ำเหลืองผู้ป่วย จะถูกการรวบรวม และบรรจุใส่ถุงแดงอย่างรัดกุม จากนั้นจะถูกส่งไปกำจัดอย่างเหมาะสมโดยใช้เตาเผาของ หน่วยงานกรุงเทพมหานครที่ดำเนินการตามหลักมาตรฐานสากล
- หลอดไฟฟ้าซึ่งถือว่าเป็นขยะอันตรายและเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง
จะได้รับการรวบรวมอย่างเหมาะสมและกำจัดโดยหน่วยงานกรุงเทพมหานครเช่นกัน
- สารพิษจำพวกเคมีบำบัด จะมีผลต่อการเกิดมะเร็งในผู้สัมผัส
วิธีกำจัด คือ นำขวดใส่ถุงสีม่วงที่โรงพยาบาลจัดให้ และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส
- ยาปฏิชีวนะเป็นสารพิษที่จะมีผลต่อการดื้อยาในอนาคต จะกำจัดโดยนำขวดใส่ถุงสีม่วง ที่โรงพยาบาลจัดให้ และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส
- วัคซีนป้องกันโรคชนิดตัวเป็นจะมีผลต่อการดื้อต่อวัคซีน กำจัดโดยนำขวดใส่ถุงสีม่วง ที่โรงพยาบาลจัดให้ และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส
- สารกัมมันตภาพรังสี จะได้รับการดูแล จัดเก็บและกำจัดโดยคณะกรรมการความ ปลอดภัยทางรังสี ภ.รังสีวิทยา ด้วยวิธีแจ้งให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ นำไปทำการกำจัด อย่างเหมาะสม
ในส่วนของบุคลากรที่ต้องทำงานเกี่ยวข้อง / สัมผัสกับสารพิษ เรามีมาตรการเพื่อความปลอดภัยแตกต่างกันไป อาทิ
1. ห้องปฏิบัติการที่ใช้สารเคมี ทำการเก็บสารเคมีเหลือใช้ในภาชนะ ที่กำหนด และจัดการทำลายตามระบบที่โรงพยาบาลกำหนด ให้บริษัท ภายนอกนำไปกำจัดอีกครั้ง
2. เศษชิ้นเนื้อ พยาธิวิทยา ทำการแยกส่วนประกอบที่เป็นเนื้ออวัยวะ ทำการใส่ถุงแดงเพื่อเผาทำลาย โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม ส่วนน้ำยา ฟอร์มารีนทำการกำจัดคล้ายสารเคมีทั่วไปในข้อที่ 1
3. เศษกระดาษชำระจากตึกผู้ป่วยนอก ให้ถือเสมือนว่าเป็นขยะที่ปน เปื้อนสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย ซึ่งอาจมีเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย ทำให้การ กำจัดเป็นขยะติดเชื้อ ใส่ถุงแดง ต้องได้รับการเผาทำลายโดยบริษัท กรุงเทพธนาคม
4. กระดาษเช็ดมือให้หอผู้ป่วย ถือว่าเป็นขยะเปียก ถ้าไม่ได้ใช้ในกรณี เช็ดสารอื่น ๆ ให้ทิ้งในถุงขยะเปียกสีดำ และนำไปทำลายโดยกรุงเทพ มหานคร
5. กระดาษ กระป๋องน้ำอัดลมและขวดน้ำ ที่พบตามโถงอาคาร ถือว่า เป็นขยะแห้งหรือขยะรีไซเคิลซึ่งสามารถให้หน่วยงานขยะนำไปเข้า กระบวนการรีไซเคิลได้
6. เข็มฉีดยา ที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะปนเปื้อนเลือด น้ำเหลืองหรือไม่ก็ตาม ให้ใส่ในกระปุกใส่เข็มสีแดงชนิดใหม่ที่ทางโรงพยาบาลจัดหาให้ เพื่อนำไป เผาทำลายคล้ายขยะติดเชื้อต่อไป