ถามตอบ

ตั้งคำถามใหม่

หมวดหมู่

การกลืนแร่

# 77875

เมื่อสองปีที่แล้วพี่สาวเป็นไทรอยเป็นพิษสุดท้ายทำการกลืนแร่ และหลังจากกลืนแร่ก็ยังไม่มีอาการ มีเพียงเป็นคนที่เหงื่อออกมาไม่ทราบจะเกี่ยวกันไหมแต่ทีนี้พี่เขาก็กลัวว่าจะเป็นมะเร็ง และไม่แน่ใจว่าจะมีผลกระทบอย่างไรกับตัวเองภายหลังจากกลืนแร่ต้องทำการปฏิบัติตัวอย่างไรเป็นพิเศษไหม เพราะเขาทานอาหารที่เวฟทุกวัน ทานอาหารซ้ำๆ

แพทย์คนที่ 1

ตอบโดย

พญ.รุจิเรข ธรรมเจริญ

การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษด้วยการกลืนแร่ไอโอดีน หลักการคือ ดื่มน้ำไอโอดีนที่มีรังสีรักษา สารนี้จับที่ไทรอยด์แล้วขับจากร่างกายทางไตหมดประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นร่างกายจะไม่มีรังสีอีก แต่ผลจะทำให้ต่อมไทรอยด์ค่อย ๆ ฝ่อลง ขนาดเล็กลง สร้างฮอร์โมนลดลง ในช่วงแรก ต้องกินยาต้านไทรอยด์ต่อประมาณ 3-6 เดือน จนผลเลือดปกติจึงหยุดยาได้ ผลข้างเคียงสำคัญคือ ต่อมไทรอยด์ฝ่อลงเรื่อย ๆ จนอาจสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้ไม่เพียงพอต้องกินยาเม็ดฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน ก่อนกลืนแร่ แพทย์มักให้กินยาจนระดับฮอร์โมนปกติก่อนเพื่อป้องกันอาการไทรอยด์เป็นพิษกำเริบหลังกลืนแร่ช่วงแรก ซึ่งมีผลต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งอาจอธิบายอาการเหงื่อออกหรือมือสั่น ใจสั่นของคุณได้ ส่วนการปฏิบัติตัวหลังการกลืนแร่ เนื่องจากสัปดาห์แรกยังมีรังสีออกจากร่างกายได้ แต่ในระดับต่ำ ไม่อันตรายมากสำหรับผู้ใหญ่ แต่อาจจะอันตรายต่อเด็กและสตรีมีครรภ์ ขึ้นอยู่กับเวลาสัมผัส ดังนั้นจึงควรใกล้ชิดผู้อื่นให้น้อยและสั้นที่สุด แม้ว่ารังสีที่ได้รับจะมีปรมาณไม่มาก แต่ควรป้องกันคนใกล้ชิดมิให้ได้รับรังสีโดยวิธีการดังนี้ 1) ให้อยู่ไกลผู้อื่น ช่วง 2-3 วันแรก ให้แยกตัวจากผู้อื่น โดยห่างอย่างน้อย 2 เมตร เช่น การแยกห้องนอน งดการกอดหรือมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงคนท้อง และเด็ก 2) ลดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับผู้อื่น เนื่องจากการปริมาณรังสีทีได้รับขึ้นกับระยะเวลาที่สัมผัสดังนั้นควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นให้น้อยที่สุด 3) รักษาสุขลักษณะให้ดีที่สุด ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ให้ชักโครก 3-4 ครั้ง แยกถ้วยชามอาการในระยะแรก ล้างห้องน้ำหรืออ่างล้างหน้าทุกครั้งที่เปื้อนน้ำลายหรือเหงื่อของผู้ป่วย ราดน้ำหลังปัสสาวะมาก ๆ และต้องคุมกำเนิดหลังกลืนแร่ 6 เดือน เพื่อป้องกันผลต่อไทรอยด์ของทารกในครรภ์การกลืนแร่ไอโอดีนเพื่อการวินิจฉัยและการรักษานั้นพบว่ายังไม่มีรายงานการเพิ่มการเกิดมะเร็งธัยรอยด์หรือมะเร็งที่อื่น ๆ ส่วนอันตรายของการใช้ไมโครเวฟนั้นได้มีงามวิจัยของรัสเซียที่ค้นพบ คาร์ซิโนเจน (Carcinogen) หรือสารก่อมะเร็งในเนื้อสัตว์ นม และเมล็ดธัญพืช ที่ผ่านการหุงต้มด้วยไมโครเวฟ ส่วนวิตามินบี ซี อี ตลอดจนแร่ธาตุสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ก็ลดลงด้วย รัสเซียประกาศห้ามใช้เตาไมโครเวฟนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา และมีงานวิจัยการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในเลือดของผู้กินอาหารที่ผ่านการหุงต้มด้วยไมโครเวฟ เช่น เฮโมโกลบินลดลง โคเลสเทอเลลเทอรอลชนิดดีลดลง เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ซึ่งการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ในเชิงโลหิตวิทยาถือเป็นสัญญาณอันตราย กล่าวคือมีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย การลดความเสี่ยงจากสารพิษในพลาสติกที่จับปนเปื้อนลงในอาหาร ทำได้โดยการถ่ายอาการออกจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรือโฟมก่อนเอาเข้าอุ่นหรือหากจะใส่พลาสติกหุ้มบรรจุภัณฑ์ ก็ต้องไม่ให้พลาสติกสัมผัสกับอาการ บรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาการขายในร้านสะดวกซื้อทำขึ้นมาเพื่อให้ใช้เพียงครั้งเดียว ไม่ควรนำไปใช้ซ้ำ และหากต้องการใช้พลาสติกในการหุงต้ม ต้องมั่นใจว่าเป็นพลาสติกที่ใช้กับเตาไมโครเวฟ การหุงต้มด้วยวิธีดังเดิมจะคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากกว่าการหุงต้มก้วยไมโครเวฟ