อินโฟกราฟิก

หมวดหมู่

สับสนเฉียบพลันป้องกันได้

“สับสนเฉียบพลันป้องกันได้"
โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ผู้ป่วยที่มีอาการสับสนเฉียบพลัน จะมีอาการพูดคุยคนละเรื่อง ไม่เป็นเรื่องราว สับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก หลงวัน เวลา และสถานที่  มีอาการเห็นภาพหลอนที่คนอื่นไม่เห็น เช่น เห็นญาติผู้ใหญ่ที่เสียไปแล้ว  ผู้ป่วยจะมีสมาธิไม่ดี อาการเกิดขึ้นค่อนข้างเร็วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือภายในวันสองวัน   

แต่กับบางคนอาการเป็นมากถึงกับปีนเตียง ไม่หลับไม่นอน บางคนลุกมาจุดไฟจะเผาบ้านก็มี  แต่ในผู้สูงอายุบางคนกลับแสดงอาการเป็นการนอนหลับมากขึ้น ซึม  พูดน้อยลง เป็นต้น  อาการนี้มักพบในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ  ยิ่งอายุยิ่งมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงสูง เพราะเซลล์สมองเริ่มตายมากขึ้น ทำให้ความสามารถของสมองลดลง รองรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของร่างกายได้ไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลร้อยละ 10-20 เกิดอาการนี้ขณะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล  และถ้าต้องได้รับการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดข้อสะโพก หรือป่วยอาการหนัก โอกาสเกิดอาการนี้ยิ่งสูงขึ้น ในฐานะผู้แดแลผู้ป่วยจะมีการป้องกันอย่างไรเรามาดูกันเลยครับ