บทความ

ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic intracranial hypertension)

โดย อ. นพ. อัครวิชญ์ เอี่ยมสำอางค์

ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

            ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic intracranial hypertension )คือ ภาวะที่มีความผิดปกติของความดันในกะโหลกศีรษะที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ และไม่สามารถหาสาเหตุอื่นมาอธิบายได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกการเกิดที่แน่ชัด ซึ่งสาเหตุอื่นๆ ของความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นที่พบบ่อย เช่น ก้อนเนื้อในกะโหลกศีรษะ, การติดเชื้อในสมอง, เส้นเลือดดำในสมองอุดตัน เป็นต้น 

            ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะปานกลางถึงมากแบบเรื้อรัง อาจมีอาการตามัวลงชั่วขณะ หรือมัวลงตลอดเวลา มองเห็นภาพซ้อน ได้ยินเสียงดังในหู ร่วมด้วยมักพบในผู้หญิง อายุประมาณ 30 ปี มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว มีประวัติการรับประทานยาคุมกำเนิด สเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะชนิด เตตราซัยคลีน (Tetracycline) วิตามินเอ หรือ ยารักษาสิว Isotretinoin 

            อันตรายของโรคนี้คือ หากความดันในกะโหลกศีรษะสูงมาก หรือ สูงเป็นเวลานาน อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้

            แพทย์วินิจฉัยจากอาการ อาการแสดง เช่น ขั้วประสาทตาบวม ตาเข เป็นต้น ร่วมกับเจาะน้ำไขสันหลังพบความดันสูงและต้องไม่พบสาเหตุอื่นที่ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงจากภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

            การรักษาที่ได้ผลดี คือ การลดน้ำหนัก ร่วมกับให้ขับปัสสาวะและยาลดอาการปวดศีรษะ

            ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัย ควรพบจักษุแพทย์ หรืออายุรแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัย และรักษาอย่างทันเวลา

 

เอกสารประกอบ