สถานวิทยามะเร็งศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
รับมืออย่างนี้ ! เมื่อรู้ว่าตัวเองหรือคนที่เรารักเป็นมะเร็ง
1. ตั้งสติยอมรับความจริง “ตั้งสติ” เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า และทำให้ดีที่สุดเท่านั้น ถึงจะช่วยเยียวยาทุกสิ่งได้ ญาติต้องมีสติยิ่งกว่าและเชื่อมั่นว่าผู้ป่วยจะต้องหาย
2. วางแผนการรักษากับคุณหมอ ปรึกษากับหมอเจ้าของไข้หรืออาจขอความเห็นจากหมอท่านอื่น เพิ่มเติมเพื่อเป็นความคิดเห็นที่สอง (Second Opinion) เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วย
3. ประเมินค่าใช้จ่ายและตรวจสอบสิทธิ์การรักษา สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ชัดเจนและตรวจสอบว่ามีสิทธิ์การรักษาอะไรบ้าง อาจรักษาที่โรงพยาบาลต้นสังกัดที่เราใช้สิทธิ์ หรือจะส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลที่เราสะดวกก็ได้
4. เตรียมพร้อมก่อนการรักษา
เคลียร์งาน : จะได้ไม่ป็นกังวลใจในระหว่างการรักษา
เตรียมความสวยงาม : เตรียมตัดผมให้สั้น ไปช็อปปิ้งวิกผม ผ้าโพกหัวเก๋ ๆ เตรียมไว้เลย
เคลียร์สุขภาพช่องปาก : เคลียร์สุขภาพช่องฟันให้พร้อมก่อนผ่าตัด ให้คีโม หรือฉายแสง
วางแผนการมีบุตร : อาจจะเก็บไข่หรือน้ำเชื้อเอาไว้ เพราะหลังการรักษา อาจจะทำให้เรามีบุตรยาก
เคลียร์บ้าน/ห้องพัก : ทำความสะอาดเพื่อลดการติดเชื้อให้กับผู้ป่วย รวมถึงเตรียมของใช้จำเป็นต่าง ๆ
เคลียร์คิวผู้ดูแล : เพื่อที่จะพาผู้ป่วยไปหาหมอและดูแลผู้ป่วย
5. จดบันทึกอาการและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง จดบันทึกข้อมุลตั้งแต่เริ่มรักษา รวมถึงการมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาให้ตรงกันระหว่างผู้ป่วยผู้ดูแลและหมอ และหมั่นจดอสาการข้างเคียงในระหว่างการรักษาในทุก ๆ วัน
6. หมั่นสร้างกำลังใจอยู่เสมอ “กำลังใจ” เป็นยาต้านมะเร็งที่ดีที่สุด ผู้ป่วยควรรักษากำลังใจตัวเองให้ดี ส่วนญาติ ต้องเป็นผู้ให้กำลังใจที่ดีเช่นกัน