สถานวิทยามะเร็งศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ระวังกันนิด จะได้ฟิตนาน ๆ
1. ไม่แนะนำให้ออกกำลังกายในผู้ป่วยต่อไปนี้
- ผู้ป่วยมีไข้
- ความดันต่ำ
- มีภาวะซีดรุนแรง
- หอบเหนื่อยมาก
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- เกล็ดเลือดต่ำมาก
2. ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายในบางผู้ป่วย
- ผู้ป่วยสูงอายุ
- โรคกระดูกพรุน
- มะเร็งลุกลามไปกระดูก
- มีปัญหาเรื่องปวดข้อ
- มีโรคประจำตัวหลายโรค
- มีความผิดปกติทางระบบประสาท
3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่สาธารณะและสระว่ายน้ำ
- สำหรับผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
เป็นมะเร็งก็ฟิตได้ แค่รูกจักการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับระยะการรักษา สภาพร่างกาย โดยปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เลือกการออกกำลังกายที่ใช่ แล้วฟิตไปด้วยกัน
ผู้ป่วยมะเร็ง ใครว่า ออกกำลังกายไม่ได้ แค่รู้หลักก็ออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย แถมทำให้ร่างกายฟิตขึ้นอีกด้วย
ฟิตได้ ฟิตดี ช่วย – ลดความอ่อนเพลีย
- ลดผลข้างเคียงจากการรักษา
- ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น
- คุณภาพชีวิตดี๊ดี
ฟิต 1 ด้วยแอโรบิค
ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เช่น เดิน ปั่นจักรยาน
Tips : เริ่มจากความหนักน้อย ๆ ช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็นระดับปานกลาง 30-60 นาที/วัน อย่างน้อย 5วัน/สัปดาห์
** อย่าลืมยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 5- 10 นาที ก่อนและหลังการออกกำลังกายด้วยนะ
ฟิต 2 เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ
เช่น ยกขวดน้ำ หรือตุ้มน้ำหนัก
Tips : ยก 8-12 ครั้ง/ชุด อย่างน้อย 1 ชุด/วัน ทำ 2-3 วัน/สัปดาห์
ฟิต 3 เพิ่มความยืดหยุนของร่างกาย
ยืดเหยียด ๆ เน้นกล้ามเนื้อมัดหลักที่ได้รับ ผลกระทบจากการรักษาหรือ กล้ามเนื้อที่ฝืดดึง
Tips : ยืดให้รู้สึกตึงสุด ค้างไว้ ท่าละ 10-30 วินาที ทำท่าละ 3-5 ครั้ง ทุกวัน
ฟิต 4 ฝึกการหายใจ
เพิ่มการขยายตัวของปอด ช่วยควบคุมการหายใจเวลาหายใจลำบาก หรือเหนื่อยหอบ
Tips : สูดหายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ เป็นจังหวะ โดยเริ่มจากเป่าลมออกทางปาก กลั้นหายใจนับ 1-5 แล้วสูดลมหายใจเข้าทางจมูกจนเต็มที่ กลั้นหายใจนับ 1-5 ก่อนเป่าลมออกทางปาก ถือเป้น 1 รอบ หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ ทำต่อเนื่องไม่เกิน 6 รอบ ต่อ 1 ชุด พยายามทำทุกชั่วโมง