โรคติดเชื้อที่มาจากหนู


โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส
: มีสาเหตุจากเชื้อเลปโตสไปรา (Leptospira)) หลายสปีชีส์ เป็นแบคทีเรียรูปเกลียว
อยู่ในวงศ์ Leptospiraceae จะพบมากในเขตภูมิอากาศอุ่นและชื้น พื้นที่แหล่งน้ำขัง หรือชื้นแฉะ พบบ่อยที่สุดในฤดูฝนของเขตร้อน
เชื้อสามารถมีชีวิตคงอยู่ได้ในดินนานนับเดือน และเชื้อสามารถตายได้ในอุณหภูมิมากกว่า 50 องศาเซลเซียส



มารู้จักกับ 'โรคฉี่หนู'


อาการในคน วิธีการติดต่อ วิธีการป้องกัน




อาการในคน เป็นอย่างไร ?


เชื้อจะฟักตัว 7-12 วัน มีอาการป่วย 2 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก เรียกว่า ระยะเฉียบพลัน หรือระยะที่มีการเชื้อในกระแสเลือด เช่น มีไข้ หนาวสั่น
ปวดศีรษะ และเยื่อบุตาขาวแดง การอ่อนแรง กลัวแสง ปวดท้อง คลื่นไส้ เจ็บคอ ไอ คอแข็ง
มีอาการดีซ่าน สับสนทางจิตใจ อาการเหล่านี้จะคงอยู่ 4-9 วัน
ระยะที่ 2 เรียกว่า ระยะภูมิคุ้มกัน มีการขับเชื้ออกทางปัสสาวะ ใช้เวลาประมาณ 30 วัน
อาการรุนแรงน้อยกว่าระยะแรก ได้แก่ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ หายใจลำบาก อาจมีอาการดีซ่าน



วิธีการติดต่อของโรค


ได้แก่ การไชผ่านผิวหนังที่แช่น้ำขังเป็นเวลานาน, การกินอาหารและแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน,
การแพร่กระจายในอากาศโดยปัสสาวะ หรือน้ำ หรือการสัมผัสทางผิวหนังที่มีบาดแผล
ซึ่งจะซึมผ่านทางเยื่อเมือก นอกจากนี้ยังมีการมีเพศสัมพันธ์ การให้นมบุตร ถูกสัตว์แทะกัด
ซึ่งสัตว์พาหะรังโรค ได้แก่ หนูแรท หนูไมซ์ โค แกะ สุกร และสุนัข เป็นต้น


'เราสามารถป้องกันได้อย่างไร ?'



เลื่อนขวาเพื่อดู

เอกสารอ้างอิง


1. หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงและโรคอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(CU-EIDAs). หนังสือโรคสัตว์สู่คนที่ควรรู้. เล่ม2. “โรคฉี่หนู”. กรุงเทพฯ: บริษัท เมดอินโฟ จี.ดี. จำกัด; 2555.

2. Centers for Disease Control and Prevention, American Society for Microbiology, and Association of Public Health Laboratories.

Basic Protocols for level a laboratories for the presumptive identificationof Leptospirosis. Centers for Disease Control and Prevention,

2001, Atlanta, GA. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://phil.cdc.gov/QuickSearch.aspx?key=true