ข้อดี และ ข้อเสีย



ข้อดี

• ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าหากต้องเล่นกีฬาหรือกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะผ้าอนามัยแบบสอดนั้นจะให้ความรู้สึกที่คล่องตัวและไม่อึดอัดเหมือนการใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่น
• สามารถใช้ขณะอยู่ในน้ำได้ หากต้องลงน้ำหรือว่ายน้ำขณะมีประจำเดือน ผ้าอนามัยแบบสอดจะช่วยดูดซับเลือดประจำเดือนได้ แต่ควรรีบเปลี่ยนเมื่อขึ้นจากน้ำ เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดนั้นไม่กันน้ำ
• สะดวกต่อการพกพา เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าผ้าอนามัยชนิดแผ่น

ข้อเสีย

• เสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง และก่อให้เกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก (Toxic Shock syndrome: TSS) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้


กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก
(Toxic Shock Syndrome: TSS)



กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก หรือ การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นผลข้างเคียงที่อันตรายที่สุดในการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด แม้จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่อาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุของภาวะดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากพิษของ เชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) กลุ่มเอที่มีความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดชนิดซึมซับได้ดีเป็นพิเศษ เนื่องจากจะทำให้ระยะห่างของการเปลี่ยนผ้าอนามัยยาวขึ้น จนก่อให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อและกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ในที่สุด โดยพิษจากการติดเชื้อดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ ได้แก่

- ไข้สูงเฉียบพลัน
- ความดันโลหิตต่ำ
- ท้องเสีย หรืออาเจียนอย่างรุนแรง
- มีผื่นคล้ายถูกแดดเผาขึ้นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
- ปวดศีรษะ เกิดอาการมึนงง
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ตา ปาก และคอแดงผิดปกติ
- เกิดอาการชัก

หากพบว่าตัวเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่าจะเกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก ควรหยุดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด และรีบไปพบแพทย์โดยทันที






วิธีการใส่ผ้าอนามัยแบบสอด


ล้างมือให้สะอาด ก่อนหยิบผ้าอนามัยแบบสอด



ใช้นิ้วช่วยเปิดช่องคลอดเล็กน้อย แล้วใส่ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปในช่องคลอด



ใช้นิ้วชี้ช่วยดันผ้าอนามัยแบบสอด เข้าไปประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ



ล้างมือให้สะอาด ก่อนหยิบผ้าอนามัยแบบสอด



จับที่ปลายด้ามผ้าอนามัย



ใช้นิ้วช่วยเปิดช่องคลอดเล็กน้อย แล้วเตรียมใส่ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไป ในช่องคลอด



ใช้นิ้วดันปลายก้านพลาสติก เพื่อดันให้ผ้าอนามัยแบบสอด นั้นเข้าไปข้างในช่องคลอด



ดันผ้าอนามัยเข้าให้สุด แล้วดึงก้านพลาสติกออกมา




วิธีการถอดผ้าอนามัยแบบสอด


ใช้นิ้วช่วยเปิดช่องคลอดเล็กน้อย



ค่อยๆ ดึงปลายเชือกออก



ห่อกระดาษทิชชูให้มิดชิดและทิ้งลงถังขยะ

ข้อห้ามใช้ของผ้าอนามัยแบบสอด


ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หากไม่มีประจำเดือน

ระวังการติดเชื้อ "ท็อกซิกช็อก" (การติดเชื้อจนทำให้มีไข้สูงเฉียบพลัน)

ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรใส่ตอนนอน

ห้ามใส่ตอนมีเพศสัมพันธ์ เพราะหากผ้าอนามัยถูกดันเข้าไป จะเอาออกได้ยาก

ถ้าทำตก ห้ามนำกลับมาใช้เด็ดขาด




ข้อแนะนำการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด


ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดบ่อยแค่ไหน ?

เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดนั้นถูกสอดไว้ในช่องคลอด ดังนั้นเพื่อความสะอาดและปลอดภัยควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกว่าเลือดประจำเดือนเต็มผ้าอนามัยแล้ว และไม่ควรลืมเปลี่ยนผ้าอนามัยเพราะการทิ้งให้ผ้าอนามัยที่มีเลือดประจำเดือนเต็ม อยู่ภายในช่องคลอดอาจทำให้ติดเชื้อ และรู้สึกไม่สบายตัว รวมทั้งอาจทำให้เลือดประจำเดือนที่ไม่ถูกดูดซับหยดลงเปื้อนกางเกงชั้นในได้









ใส่ผ้าอนามัยแบบสอดแล้วจะปัสสาวะยังไง

ผู้หญิงหลายคนเข้าใจว่า ช่องปัสสาวะกับช่องคลอดเป็นช่องเดียวกัน ความจริงแล้วช่องทั้งสองแยกจากกัน การใส่ผ้าอนามัยแบบสอด จึงไม่เกี่ยวกับการปัสสาวะแต่อย่างใด โดยหลายคนแนะนำว่า เวลาปัสสวะ ก็ให้จับเชือกที่ยื่นออกมาไว้ด้วย กันเลอะเท่านั้นเอง แต่มันจะไม่หลุดออกมาเองแน่นอน



ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด แล้วจะทำให้ช่องคลอดขยายและทำให้เยื่อพรหมจารีย์ขาดหรือไม่

ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ทำให้ช่องคลอดขยาย และเยื่อพรหมจารีย์ของผู้หญิงนั้น มีรูสำหรับให้ประจำเดือนไหลออกมาอยู่แล้ว การสอดใส่ผ้าอนามัย จึงไม่ใช่สาเหตุทำให้เยื่อพรหมจารีย์ขาด และการขยายตัวของผ้าอนามัยเมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายแล้ว จะขยายตามสรีระของคนนั้นๆ จึงไม่ทำให้ช่องคลอดขยาย