ข้อดี และ ข้อเสีย






ข้อดี

• นำกลับมาใช้ซ้ำได้ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ผลิตคือซิลิโคน มีความยืดหยุ่นสูง มีความแข็งแรงและทนทาน จึงสามารถใช้งานได้หลายปี
• ลดขยะ ลดค่าใช้จ่าย ในการใช้ถ้วยอนามัย
• ซึมซับได้ดี ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย เพราะสามารถรับเลือดประจำเดือนได้นานสูงสุด 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ควรเปลี่ยนถ้วยอนามัยอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
• ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะถ้วยอนามัยจะทำให้เลือดประจำเดือนสัมผัสกับอากาศน้อยลง จึงอาจช่วยลดปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
• มีความปลอดภัย หากใช้อย่างถูกต้องและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ลดความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ การติดเชือแบคทีเรีย และไม่ทำให้เกิดผื่น

ข้อเสีย

มีความยากในการใช้งานช่วงแรกๆ ที่เริ่มใช้
อาจมีการซึมเปื้อนได้หากใส่ไม่ถูกวิธี


วิธีเลือกซื้อถ้วยอนามัย

ขนาดของถ้วยอนามัย

ถ้วยประจำเดือนมีหลายขนาด ในขณะที่แหล่งข้อมูลบางแห่งแนะนำให้เลือกตามความหนักเบาของการไหลของประจำเดือน และนอกจากนี้อาจะใช้อายุเป็นเกณฑ์ในการเลือกขนาดที่ถูกต้องต่อกายวิภาคของช่องคลอดดังนี้

• เด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 18 ปี : แนะนำให้ใช้ไซส์เล็ก (S)
• ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 30 ปีที่ยังไม่เคยคลอดลูก: แนะนำให้ใช้ไซส์กลาง (M)
• ผู้หญิงทุกวัยที่มีการคลอดทางช่องคลอดอย่างน้อย 1 ครั้ง แนะนำให้ใช้ขนาดใหญ่ (L)

โครงสร้างร่างกายและความสูงของของแต่ละคน อาจส่งผลต่อคำแนะนำเหล่านี้เล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงตัวสูงที่มีสะโพกกว้างอาจต้องใช้คัพ L แม้ว่าจะไม่ได้ผ่านการคลอดลูก ในขณะที่ผู้หญิงตัวเล็กอาจยังคงใช้คัพ S แม้ว่าจะผ่านการคลอดลูกมาแล้ว เป็นต้น






วัสดุของถ้วยอนามัย

วัสดุของแต่ละผลิตภัณฑ์อาจแตกต่างกันไป วัสดุที่ใช้บ่อยที่สุดนั่นก็คือ เทอร์โมพลาสติก, อีลาสโตเมอร์ ,ซิลิโคนทางการแพทย์ และน้ำยาง


สีของถ้วยอนามัย

สีของถ้วยจะไม่สร้างความแตกต่างมากนัก นอกจากรสนิยมส่วนตัว ควรเลือกถ้วยตามความสะดวกสบายและการออกแบบเป็นหลัก แม้ว่าบางชนิดจะมีสารเติมแต่งสี แต่ก็ปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อการใช้งาน



ก้านของถ้วยอนามัย

• ก้านปกติ : ก้านซิลิโคนหนาที่มักจะเป็นยาง ทำให้จับได้ง่าย จึงทำให้สามารถดึงถ้วยประจำเดือนออกมาได้อย่างง่ายดาย

• ก้านแบน : คล้ายกับก้านปกติ ยกเว้นว่าจะถูกทำให้แบนลง เพื่อให้ง่ายต่อการจับ หยิก และดึง

• ก้านปลายมน : มีทรงกลมเล็กๆ ที่ปลายซิลิโคน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวอุด เพื่อไม่ให้นิ้วของคุณหลุดออก








วิธีการใส่ถ้วยอนามัย


อ่านคำแนะนำที่มาพร้อมกับถ้วยอนามัยเสมอ ก่อนจะสัมผัสถ้วยอนามัย ควรล้างมือให้สะอาด ใช้น้ำอุ่นและสบู่ ขัดถูมืออย่างน้อย 20 วินาที



ล้างถ้วยอนามัยด้วยสบู่อ่อนๆ ก่อนที่จะใช้ครั้งแรก เลือกสบู่ที่ไม่มีน้ำหอมสำหรับผิวบอบบาง ถูถ้วยทั้งด้านในและด้านนอก จากนั้นล้างสบูาออกให้หมด



อยู่ในท่าที่รู้สึกสบาย



พับถ้วยอนามัยเพื่อให้ง่ายต่อการใส่ สามารถทำให้ถ้วยอนามัยเปียกเล็กน้อยเพื่อให้เลื่อนเข้าได้ง่าย และก้านต้องหันลง ถ้วยอนามัยตั้งขึ้น



ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หากเกร็งจะทำให้สอดได้ยากขึ้น ดันถ้วยอนามัยไปทางกระดูกก้นกบ มืออีกข้างแยกแคมออกจากกัน ค่อยๆ ดันถ้วยอนามัยที่พับเข้าไปในช่องคลอด แล้วคลายถ้วยอนามัยที่พับไว้ ปล่อยให้เคลื่อนเข้าที่



บิดถ้วยอนามัยเพื่อให้เข้าที่ โดยจับฐานถ้วยอนามัยด้านข้าง แล้วหมุนอย่างน้อย 1 ครั้ง อาจจะได้ยินเสียง “ป๊อป” เป็นสัญญาณว่าถ้วยอนามัยแนบสนิท

วิธีการถอดถ้วยอนามัย


ตรวจดูถ้วยอนามัยทุก 12 ชั่วโมง เมื่อต้องการเปลี่ยนถ้วยอนามัย ให้นั่งบนโถส้วมเพื่อดึงถ้วยอนามัยออกมา



ดึงถ้วยอนามัยออก ให้ผนึกคลายตัว โดยยึดฐานของถ้วยอนามัยเหนือก้านไว้ และบีบด้านข้างเข้าหากัน



เทประจำเดือนลงในโถส้วม ระวังอย่าให้ถ้วยอนามัยหล่นลงโถส้วม เมื่อเทแล้ว หากไม่สามารถล้างได้ สามารถเช็ดออกด้วยกระดาษชำระ และใส่กลับเข้าไปใหม่



ล้างถ้วยอนามัยด้วยสบู่และน้ำอุ่น ควรใช้สบู่อ่อนๆ ไม่มีน้ำหอม



ฆ่าเชื้อถ้วยอนามัยระหว่างมีประจำเดือนโดยการต้ม ก่อนต้ม ควรล้างถ้วยอนามัยด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำอุ่น จากนั้นนำไปต้มในหม้อเล็กๆ ต้มประมาณ 5-7 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ



หากถ้วยอนามัยเปื้อน สามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% ถูทำความสะอาดได้

วิธีการดูแลรักษาถ้วยอนามัย



ฆ่าเชื้อถ้วยอนามัยระหว่างมีประจำเดือนโดยการต้ม

ล้างถ้วยอนามัยด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นจึงนำน้ำไปต้มในหม้อเล็กๆ ใส่ถ้วยอนามัยไว้ในหม้อ และต้มประมาณ 5-7 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อ อาจจะต้องแยกหม้อเพื่อจุดประสงค์นี้เท่านั้น

สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเช่นเดียวกับที่คุณใช้กับขวดนม คุณสามารถหาน้ำยานี้ได้จากร้านขายขวดนม

ควรอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อถ้วยอนามัยเสมอเพราะแต่ละยี่ห้ออาจจะแตกต่างกัน




ข้อควรระวังในการใช้ถ้วยอนามัย


• การเลือกขนาดที่เหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ถ้วยอนามัย การเลือกขนาดที่พอดีกับสรีระของร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยในช่วงแรกหลายคนอาจซื้อมาผิดขนาด หรือบางรายอาจไม่ทราบถึงวิธีการเลือกขนาดของถ้วยอนามัยที่เหมาะสมกับร่างกาย ดังนั้น ผู้ใช้อาจขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเภสัชกรก่อนการเลือกซื้อ

• การทำความสะอาดในที่สาธารณะ ถ้วยอนามัยจำเป็นต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค แต่การล้างทำความสะอาดในที่สาธารณะ อย่างห้องน้ำที่ทำงานหรือห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดความสกปรก โดยเฉพาะหากต้องล้างอุปกรณ์นี้บริเวณอ่างล้างมือ

• การระคายเคือง แม้ว่าการใช้ถ้วยอนามัยที่สะอาดจะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ แต่สำหรับผู้ที่แพ้ยางหรือแพ้ซิลิโคนนั้นนั้นอาจเสี่ยงต่อการเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังภายในช่องคลอด รวมทั้งหากทำความสะอาดได้ไม่ดีพอก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มได้

• การใช้ร่วมกับห่วงอนามัย ถ้วยอนามัยส่วนใหญ่มักไม่สามารถใส่ร่วมกับห่วงอนามัยที่ใช้คุมกำเนิดได้ แต่ก็อาจมีถ้วยอนามัยบางประเภทที่สามารถใช้ร่วมกันได้ ก่อนการเลือกใช้จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์