English | ภาษาไทย

ความเป็นมาของหลักสูตร

จุดเริ่มต้นของโรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา

ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ร่วมกับนายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน และนายแพทย์สภา ลิมพาณิชย์การ จัดตั้ง “หน่วยภาพการแพทย์” ขึ้น เพื่อผลิตสื่อการสอนทางการแพทย์ให้แก่อาจารย์ ในภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และงานต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งในขณะนั้นนายแพทย์สภา ลิมพาณิชย์การ ได้ไปศึกษาวิชาด้านเวชนิทัศน์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำความรู้มาช่วยพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ศ. นพ. สุด แสงวิเชียร
รศ. นพ. นันทวัน พรหมผลิน
รศ. นพ. สภา ลิมพาณิชย์การ
โรงเรียนช่างภาพการแพทย์

ก่อตั้ง "โรงเรียนช่างภาพการแพทย์ (School of Medical Illustration)" เพื่อผลิตบุคลากรด้านผลิตสื่อทางการแพทย์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาพทางการแพทย์ โดยเปิดรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากมหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาลัยเพาะช่าง, วิทยาลัยช่างศิลป์ หรือสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานการศึกษาเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อโดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรี ซึ่งนับเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ที่เปิดสอนวิชาการด้านนี้

เปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนเวชนิทัศน์"

ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรช่างภาพทางการแพทย์ ให้มีเนื้อหาครอบคลุมสื่อใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มวิชาด้านการผลิตสื่อวีดิทัศน์ ซึ่งนับเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย ที่นำวีดิทัศน์ระบบสีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน และได้เปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนช่างภาพการแพทย์ เป็นโรงเรียนเวชนิทัศน์

เปิดหลักสูตรเวชนิทัศน์

ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้โรงเรียนเปิดทำการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เวชนิทัศน์) ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรีโดยสมบูรณ์ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน คณะฯได้แยกโรงเรียนออกจาก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการ และให้ไปสังกัดโดยตรงต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เปิดหลักสูตรปริญญาโท

โรงเรียนเวชนิทัศน์ได้เปิดหลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเวชนิทัศน์ เพิ่มอีกหลักสูตร เพื่อการศึกษาที่ต่อเนื่อง และองค์ความรู้ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

โรงเรียนช่างภาพการแพทย์

ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี คือ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นับเป็น หลักสูตรแรกของประเทศไทย ที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ ผู้เข้าศึกษาต้องจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) และสอบผ่านระบบ Admission กลางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ได้รับพระราชทานนามใหม่

โรงเรียนเวชนิทัศน์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามให้ใหม่ว่า "โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา" เนื่องในโอกาสย้ายที่ทำการใหม่ และเพิ่มพื้นที่ให้บริการและการศึกษา มายังอาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 14 และ 15

ปรับปรุงหลักสูตร

โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา ได้ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีให้มีความทันสมัย ปรับปรุงเนื้อหาการสอน เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์

เปิดหลักสูตรปริญญาโท "เทคโนโลยีหุ่นจำลอง"

เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาโท ในชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหุ่นจำลองทางการศึกษาแพทยศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความรู้ความสามารถในการออกแบบ ผลิต และบำรุงรักษา เทคโนโลยีหุ่นจำลองทางการแพทย์ ที่จะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหุ่นจำลองทางการแพทย์เพื่อการศึกษาในอนาคต

ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี

โดยใช้หลักการ Outcome-based Education ได้มีการปรับปรุงรายวิชาต่างๆ และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมถึงยังได้พัฒนารายวิชาให้มีความหลากหลาย และเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะในการผลิตสื่อทางการแพทย์ โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีคุณลักษณะพื้นฐานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร