หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (รหัสหลักสูตร ๐๓) |
|
|
๑. |
ประวัติความเป็นมา |
|
การแพทย์แผนไทยจัดเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาติ มีทั้งทฤษฎี หลักการ กระบวนการ และวิธีการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และมียากับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอันหลากหลายที่บรรพบุรุษไทยได้ช่วยกันสั่งสมเป็นมรดกของชาติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สมควรอย่างยิ่งที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ร่วมกันสืบสาน และปรับปรุงพัฒนาให้การแพทย์แผนไทยมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน มีมาตรฐานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับนับถือในระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งจะเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการพึ่งพาตนเอง
ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ปรมาจารย์ท่านหนึ่งของคณะแพทย ศาสตร์ศิริราชพยาบาล(ภาพที่ ๑) ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและเห็นความสำคัญของการแพทย์แผนไทย ได้อุทิศตนด้วยความมุ่งมั่นและเสียสละเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทย ที่สำคัญคือได้วางปรัชญาซึ่งนับเป็นรากฐานในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยยุคใหม่ เรียกว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ คือการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาประยุกต์เพื่ออธิบายและ/หรือพัฒนาการแพทย์แผนไทย ท่านได้ตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อพ.ศ.๒๕๒๓ มูลนิธิฯได้เปิด โรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๕๒๕ จัดการเรียนการสอนหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามปรัชญาและแนวคิดดังกล่าว และเปิดคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ เพื่อเป็นสถานที่ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยและเป็นแหล่งศึกษาฝึกปฏิบัติของนักศึกษา นอกจากนี้ยังจัดให้มีผลิตยาสมุนไพรตามตำรับของโรงเรียนเพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วย ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๔๒ ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนอายุรเวท
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับโอนย้ายโรงเรียนอายุรเวท รวมทั้งคลินิกให้บริการและหน่วยผลิตยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เข้ามาเป็นหน่วยงานสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ และได้จัดตั้งหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชาขึ้น คือ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบและกำกับดูแลการดำเนินกิจการของโรงเรียนอายุรเวทที่รับโอนมา
เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อโรงเรียนให้ใหม่ว่า โรงเรียนอายุรเวทธำรง ซึ่งหมายความว่า โรงเรียนที่ทรงไว้ซึ่งความรู้ทางอายุรเวท นับเป็นพระมหากรุราธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
โรงเรียนอายุรเวทธำรงจัดการเรียนการสอนและให้บริการด้านสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยครบถ้วนทั้ง ๔ แขนงได้แก่
--> เวชกรรมแผนไทย เป็นการตรวจและรักษาโรคด้วยทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
--> เภสัชกรรมแผนไทย เป็นการปรุงยาและผลิตยาสมุนไพรสำหรับรักษาโรค
--> หัตถเวชกรรมแผนไทยเป็นการบำบัดรักษาด้วยการนวดซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบสำหรับที่สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นการนวดแบบราชสำนัก
--> ผดุงครรภ์แผนไทย เป็นศาสตร์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ การทำคลอด การดูแลหญิงหลังคลอด รวมทั้งการดูแลทารกแรกเกิด
โรงเรียนอายุรเวทธำรงในสังกัด คณะแพทยศาตร์ศิริราชพยาบาลได้วางหลักการและแนวทางในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยไว้ว่า เพื่อให้การแพทย์แผนไทยมีความยั่งยืน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสุขภาพของประเทศอย่างกว้างขวาง จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาภารกิจหลักที่สำคัญ ๓ ด้านไปพร้อมๆกัน กล่าวคือ พัฒนาการจัดการศึกษา ให้มีมาตรฐานเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถในการทำเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย พัฒนาการให้บริการทางด้านการแพทย์แผนไทยให้มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และเป็นที่นิยมของประชาชน และการวิจัยพัฒนาศาสตร์ทางด้านการแพทย์แผนไทยให้มีความชัดเจนเป็นที่ประจักษ์ |
๒. |
ชื่อปริญญา |
|
|
|
ชื่อเต็ม การแพทย์แผนไทยประยุต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine)
ชื่อย่อ พทป.บ. (B.ATM.) |
|
|
๓. |
ปรัชญาของหลักสูตร |
|
|
|
สร้างบัณฑิตแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีคุณภาพ คุณธรรม มีเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพ และมีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ และพัฒนาการแพทย์แผนไทย |
|
|
๔. |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร |
|
|
|
เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติตามเกณฑ์มาตรฐานของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเน้นคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพเพียงพอต่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง การติดตามวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาต่อเนื่อง และการวิจัย
(๒) มีวิจารณญาณ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ แบบองค์รวม
(๓) สามารถผสมผสานและประยุกต์ความรู้ความสามารถทางวิชาการแพทย์แผนไทยกับวิชาการแขนงต่างๆในการปฏิบัติงานและการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน มีมนุษยสัมพันธ์ดีและสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) มีโลกทัศน์กว้าง ทันสมัยและทันเหตุการณ์
(๕) มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีงาม ต่อการประกอบวิชาชีพ และต่อสังคม |
|
|
๕. |
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา |
|
|
|
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติตามระเบียบการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือหรือตามระเบียบการสอบคัดเลือกของโครงการพิเศษของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ/หรือตามระเบียบการสอบคัดเลือกของโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
๖. |
ระยะเวลาการศึกษา |
|
|
|
ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปีการศึกษา และให้ศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างมากไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา |
|
|
๗. |
โครงสร้างหลักสูตร |
|
|
|
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
๓๐ หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
๗ หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษา |
๑๓ หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ |
๙ หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาการแพทย์แผนไทย |
๑ หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาชีพ / วิชาเฉพาะ |
๑๑๘ หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ |
๑๐ หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน |
๔๓ หน่วยกิต |
- วิชาพื้นฐานปรีคลินิก |
๒๕ หน่วยกิต |
- วิชาพื้นฐานคลินิก |
๑๘ หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาการแพทย์แผนไทย |
๖๕ หน่วยกิต |
- วิชาเวชกรรมแผนไทย |
๑๕ หน่วยกิต |
- วิชาเภสัชกรรมแผนไทย |
๑๕ หน่วยกิต |
- วิชาหัตถเวชกรรมแผนไทย |
๑๙ หน่วยกิต |
- วิชาผดุงครรภ์ |
๕ หน่วยกิต |
- วิชาบูรณาการการแพทย์แผนไทย |
๑๑ หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี |
๖ หน่วยกิต |
|
|
๘. |
แนวทางการจัดการศึกษา |
|
|
|
ชั้นปีที่ ๑ ศึกษารายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาที่เป็นพื้นฐานทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ชั้นปีที่ ๒ และ ๓ ศึกษารายวิชาทางการแพทย์แผนไทยควบคู่กับรายวิชาพื้นฐานทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ชั้นปีที่ ๔ ศึกษาและฝึกงานด้านการแพทย์แผนไทยในคลินิกอายุรเวท หอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลในภูมิภาคที่เป็นสถานฝึกปฏิบัติทางด้านการแพทย์แผนไทย |
|
|
๙. |
สำเร็จการศึกษาแล้วได้อะไร และทำอะไรได้บ้าง |
|
- ได้รับปริญญาการแพทย์แผนไทยประยุต์บัณฑิต แพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต เป็นบุคลากรประเภทหนึ่งที่ปฏิบัติงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สามารถให้การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
- มีสิทธิ์ขอสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอณุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
- ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ในหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย หรือประกอบอาชีพอิสระ(ส่วนตัว)
- ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา เช่น ทางด้านสมุนไพร การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น |
๑๐. |
วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา |
|
เป็นไปตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามระเบียบการสอบคัดเลือกของโครงการพิเศษของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หรือตามระเบียบการสอบคัดเลือกของโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยมหิดล |
๑๑. |
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม |
|
|
|
ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษา หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ :
๐๒-๔๑๙๘๘๒๔-๕ |
โทรสาร :
๐๒-๔๑๙๘๘๑๘ | |
|
|